เสียงสะท้อน 180 วันอันตราย ฝืนธรรมชาติการเมือง?

หลังเข้าสู่ โหมดเลือกตั้ง อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ราชกิจจานุเบกษาออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการออกประกาศดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลา 180 วัน ก่อนครบวาระของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่ 24 ก.ย. เพื่อใช้บังคับกับผู้สมัคร ส.ส.และพรรคการเมือง

สำหรับผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และพรรคการเมืองที่ประสงค์จะส่งผู้สมัคร ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กกต.ดังกล่าวดังนี้ 1.การติดประกาศและป้ายหาเสียง ให้ติดตามขนาด จำนวน และสถานที่ที่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนดในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

2.หากจะใช้ผู้ช่วยหาเสียงต้องแจ้งรายชื่อและรายละเอียดต่อผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดก่อนดำเนินการ โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตจะมีผู้ช่วยหาเสียงได้ไม่เกิน 20 คน ส่วนพรรคการเมืองจะมีผู้ช่วยหาเสียงได้ไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนเขตเลือกตั้งที่ส่งสมัคร

3.การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องแจ้งช่องทางก่อนดำเนินการ โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตให้แจ้งต่อผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ส่วนพรรคการเมืองให้แจ้งต่อเลขาธิการ

4.การแจกเอกสารหรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ต้องมีข้อมูลตามที่ระเบียบกำหนด

5.การจัดเวทีหาเสียงหรือการใช้พาหนะหาเสียง ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองแจ้งรายละเอียดต่อผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 10 วัน นับแต่วันปิดรับสมัคร

และ 6.การดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการอื่นๆ เป็นไปตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องนำค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดด้วย

ส่วนข้อห้ามหลักที่ กกต.แนะนำ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ระบุว่า "ถ้าอะไรที่ผิดกฎหมายเลย เช่น การช่วยเหลือน้ำท่วมก่อนช่วงระยะเวลา 180 วัน ให้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท ถ้าเกินต้องนำมารวมเป็นค่าใช้จ่าย แต่พอมาในช่วงระยะเวลา 180 วัน จะให้ไม่ได้เลย ถ้าให้ถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนผู้สมัครที่มีการขึ้นป้ายหาเสียงไว้ก่อนเข้าช่วงระยะเวลา 180 วัน ก็ต้องมีการปลดป้ายดังกล่าวลงมาและแก้ไขให้ป้ายเป็นไปตามขนาด และติดตั้งตามสถานที่ที่ประกาศ กกต.เรื่องป้ายกำหนด"

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 ก.ย. กกต.ได้ดำเนินการชี้แจงข้อปฏิบัติต่อพรรคการเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งข้อห้ามในช่วง 180 วัน กลายเป็นปัญหาหลักที่พรรคการเมืองต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อห้ามที่ชี้ชัดว่า เป็นการออกกติกาที่ ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วม ที่ปกติแล้วสถานการณ์ภัยธรรมชาติ พรรคการเมืองมองว่าหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนนอกเหนือจากรัฐบาลคือพรรคการเมืองที่เข้าใจปัญหาในพื้นที่มากที่สุด ทั้งการให้ถุงยังชีพ หรือแม้กระทั่งตัวเงิน เหมือนเป็นการปิดประตูความช่วยเหลือโดยปริยาย โดยถ้าจะรอการช่วยเหลือต้องรอจากฝั่งรัฐบาล หรือไม่ก็ภาคเอกชนเท่านั้น

โดยเฉพาะ เรื่องการช่วยงานบุญ หรืองานศพ หลังจากนี้ ส.ส.จะไม่สามารถใส่ซองได้ จึงเป็นเรื่องยากในการปฏิบัติ และเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันยกใหญ่ในวงการเมือง

รวมถึงปัญหาเรื่อง ป้ายหาเสียง ซึ่งป้ายมีหลายประเภท อาทิ ป้ายโฆษณา ป้ายหาเสียง ป้ายสนับสนุนโครงการของรัฐ และป้ายต้อนรับรัฐมนตรีที่ลงพื้นที่ ซึ่งธรรมดาป้ายเหล่านี้ประชาชนเห็นจนชินตามาก่อนหน้านี้ เพียงแต่เมื่อ กกต.ประกาศกฎเหล็กในช่วง 180 วันอันตราย พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเจ้าของป้ายต้องดูว่าถ้าป้ายตัวเองมีขนาดที่ตรงตามมาตรฐาน หรือตั้งอยู่ในจุดที่ กกต.กำหนดไว้หรือไม่ โดยก่อนหน้านี้พรรคการเมืองเริ่มทยอยนำป้ายก่อน 180 วันที่ผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งออกแล้ว

ซึ่งเรื่องป้ายที่เป็นประเด็นคือ กรณีของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยมีป้ายต้อนรับเจ้าตัว กลายเป็นเรื่องที่ตั้งข้อสังเกตไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำรูปผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐไปใส่ในรูป หรือแม้กระทั่งขนาดของป้ายต้อนรับที่มีขนาดใหญ่กว่าป้ายหาเสียง ซึ่งอาจจะมีเจตนาแอบแฝงช่วยหาเสียง และสร้างความได้เปรียบทางการเมือง ในขณะที่พรรคการเมืองยังรอแนวทางปฏิบัติชัดเจนจากทาง กกต.อยู่

อย่างไรก็ตาม เรื่องป้ายหาเสียงเคยมีประกาศของ กกต. ปี 2564 ซึ่งกำหนดกรอบกติกาเรื่องป้ายไว้ 3 ประเภท 1.ป้ายขนาดเล็ก มีขนาด A3 2.ป้ายที่วางไว้บนฟุตบาทตามเสาไฟฟ้าจะมีขนาด 130 X 245 ซม. และ 3.เป็นป้ายที่มีเฉพาะที่หน้าพรรค หรือที่หน้าสาขาพรรค มีขนาด 4 เมตร X 7.50 เมตร

โดยป้ายต้อนรับนั้น เลขาฯ กกต.ได้ระบุเช่นกันว่า "ป้ายของหน่วยงานราชการที่ขึ้นให้การต้อนรับรัฐมนตรี และระบุผลงานของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลรวมอยู่ด้วย ก็ต้องพิจารณาว่าถ้ามันเป็นงานในหน้าที่ของรัฐมนตรีหรือส่วนราชการมันก็จะไม่ผิด แต่ถ้าเกินกว่านี้ก็ต้องดูข้อเท็จจริง ซึ่งส่วนราชการก็ต้องพึงระวังว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร แล้วอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือไม่ แต่ถ้าเป็นป้ายขอบคุณ เช่นในอดีตเคยมีการขึ้นป้ายข้อความพี่น้องชาวโคราชขอขอบคุณ โดยระบุชื่อนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่ง กกต.เห็นว่าข้อความในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการหาเสียง และไม่พบว่าใครเป็นเจ้าของ ก็มีการให้ ผอ.กกต.จังหวัดปลดป้ายลง" ระบุให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้าเป็นป้ายต้อนรับโดยปกติไม่ผิด แต่ถ้าขอบคุณนักการเมืองถือว่าผิด

ทั้งนี้ ทุกพรรคไม่ว่าจะเป็นฝั่งรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ต่างกำชับเตือนลูกพรรคตัวเองอยู่สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการเมืองมองว่ายังมีความไม่ชัดเจนจากทาง กกต.ในเรื่องดังกล่าว โดย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า "วิธีการหาเสียง และลักษณะต้องห้าม กกต.ยังไม่ชัดเจนในบางเรื่อง โดยความเห็นของ กกต.ในต่างจังหวัดกับส่วนกลางอาจจะยังไม่ตรงกัน ดังนั้น กกต.ควรจะต้องทบทวน เพราะ ส.ส.ต่างมีคำถามในเรื่องนี้"

โดยในสัปดาห์นี้ ทางเลขาฯ กกต.จะประชุมผ่านซูมกับ กกต.จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงพรรคการเมือง ให้ได้รับทราบในแนวทางปฏิบัติ หลังจากบรรดานักการเมืองต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่า กกต.จังหวัดในแต่ละจังหวัด ได้ให้คำชี้แจงต่อ ส.ส.ไม่ตรงกับ กกต.ส่วนกลาง

ทั้งนี้ เชื่อว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในข้อปฏิบัติ แต่หากนักการเมืองรู้สึกว่าฝืนธรรมชาติ ปฏิบัติไม่ได้ คงมีการร้องเรียนกันวุ่นวายแน่!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

'พงษ์ศักดิ์' แชมป์เก่า 6 สมัย ร้องประธาน กกต. สั่งระงับรับรองผลเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 2 ได้ทำหนังสือเข้าร้องเรียน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลังตรวจพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 1 ได้หาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเฟสบุ๊ค จ