กางแผนงานพรรคการเมือง ปักหมุดสู่ถนนเลือกตั้ง

สถานการณ์การเมืองช่วงนี้ดูเหมือน ทุกพรรคการเมือง ปักหมุดมุ่งหน้าไปถนนการเลือกตั้งกันหมดแล้ว สภาผู้แทนราษฎรปิดสมัยประชุม เปิดอีกครั้งวันที่ 1 พ.ย. พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ รวมไปถึงพรรคการเมืองน้องใหม่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยสร้างไทย ฯลฯ  

ว่างเว้นงานสภาฯ หัวหน้าพรรค แกนนำพรรค ส.ส. สมาชิกพรรค หมุนเวียนกันลงพื้นที่ แนะนำว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เช็กเรตติ้งพรรค พูดคุยปัญหาสารทุกข์สุขดิบชาวบ้าน เปิดนโยบาย ทำกิจกรรมการเมืองอย่างคึกคัก   

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกประกาศ  

“ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้ง ขณะใกล้ถึงระยะเวลา 180 วัน ก่อนวันครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะครบอายุสภาวันที่ 23 มี.ค.2566 ที่กำหนดให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหาเสียงให้เป็นไปตาม มาตรา 68 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และต้องมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ซึ่งมีช่วงระยะเวลาหาเสียงเลือกตั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.2565 จนถึงวันเลือกตั้ง 

ทั้งนี้ ในการหาเสียงเลือกตั้งดังกล่าว หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ประกอบการยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งไว้ด้วย” 

พรรคฝ่ายค้านหยิบยกข้ออ้าง หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจาก ภัยพิบัติ น้ำท่วม โควิด ส.ส.เข้าไปช่วยเหลือตามหน้าที่ จะถูกตีความอย่างไร อยากให้ กกต.ออกมาระบุให้ชัดเจนว่า สิ่งใดทำได้ ไม่ได้บ้าง เอาให้ชัด ขณะเดียวกันขอให้ กกต.บังคับกฎหมาย อย่างเท่าเทียม อย่าเลือกปฏิบัติกับพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะ  

ไม่ว่าผลคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญ วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่ 30 ก.ย. จะออกมาเป็นบวกหรือลบ ก็ไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง อยู่ที่ว่าจะมีการเลือกตั้งช้าหรือเร็ว 

ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ้นตำแหน่งไปจริงๆ เข้าสู่กระบวนการสรรหาจากสภาฯ   

หรือหากอยู่ต่อ ตามที่มีการมองกัน พล.อ.ประยุทธ์ทำภารกิจสุดท้าย จัดประชุมเอเปก 2022 ปลายปีแล้วเสร็จ อาจตัดสินใจยุบสภาฯ  

หรือขอช่วงชิงความได้เปรียบอีกนิด อยู่ไปจนสัปดาห์สุดท้าย ก่อนครบวาระ 23 มี.ค.2566 ยุบสภาฯ  

ในแง่การเมือง การยุบสภาฯ ถือเป็นการช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง การจัดการเลือกตั้งเกิดใน 45-60 วัน ต่างจากการลากยาวไปจนครบวาระ 23 มี.ค. ที่จะต้องเลือกตั้งใน 90 วัน ห้วงเวลาต่างกัน ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองทั้งสิ้น 

พรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรครัฐบาล ต่างปูพรมลงพื้นที่กันอย่างคึกคัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ ทุกวันจันทร์ พร้อมกับการปรับลุคส์ เปลี่ยนสไตล์การทำงาน ไล่บี้รัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูงให้ไปแก้ปัญหา หลังจากได้รับข้อร้องเรียนจากส่วนท้องถิ่นมา  

พรรคภูมิใจไทย จัดกิจกรรมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้งโซนภาคกลาง ภาคใต้ อีสาน กันอย่างคึกคัก ล่าสุดเพิ่งขนคณะแกนนำ ส.ส.พรรคไปทำกิจกรรมการเมืองที่ จ.ขอนแก่น ในวันที่ 23 ก.ย. 

พรรคเพื่อไทย เดินคู่ขนาน งานในสภาฯ ให้ ส.ส.ทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างเข้มข้น งานนอกสภาฯ มีทั้งกิจกรรมครอบครัวเพื่อไทย นำโดย อุ๊งอิ๊ง-‘น.ส.แพทองธาร ชินวัตร' ‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ ลงพื้นที่ทำกิจกรรมการเมือง แบ่งหน้าที่กันทำ แนะนำผู้สมัคร พูดคุยนโยบาย พบปะชาวบ้าน รวมทั้งงานมวลชน ไปเสวนาคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนเสื้อแดง 

พรรคเพื่อชาติ หลังจัดการปัญหาความยุ่งเหยิงวุ่นวายจบสิ้นได้ ฮาย-น.ส.ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช มาถือธงนำพรรค เตรียมงัดไอเดีย แนวคิด นโยบาย วิธีบริหารจัดการรูปแบบใหม่เข้ามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพรรค วันที่ 14 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เตรียมเปิดตัวพรรค แนะนำทีมบริหาร เปิดนโยบายกันอย่างเป็นทางการ 

พรรคพลังชล ที่เคยเงียบหายไปนาน จะฟื้นฟูพรรค พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อ “พรรคพลังบูรพา” ลุยสนามเลือกตั้ง เน้นโซนพื้นที่ภาคตะวันออก ทวงพื้นที่คืน แว่วๆ ว่า วันที่ 8 ต.ค.เตรียมเปิดโฉมหน้าพรรคในรูปแบบใหม่    

รัฐธรรมนูญมาตรา 105 ระบุว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 

(1) ในกรณีที่เป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้นำความในมาตรา 102 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

ว่ากันว่า หลังวันที่ 24 ก.ย.เข้าสู่โหมด หาก ส.ส.เขตลาออกใน 180 วัน ก่อนครบวาระรัฐบาล กลุ่ม ส.ส.ในพรรคร่วมฝ่ายค้านที่อึดอัดจากการบริหาร การทำงานร่วมกันกับพรรคการเมืองเดิมจะทยอยกันลาออก เพื่อไปสังกัดพรรคการเมืองใหม่กันมากขึ้น

โดยอาจแบ่งกันในช่วง 2 ห้วงเวลา ในวันที่ 24 ก.ย.ลาออกกันไปหนึ่งชุด ขณะที่อีกส่วนรอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต้นตุลาจะแพ็กทีม 7-10 คน ยื่นใบลาออก แล้วไปสมัครพรรคการเมืองใหม่ในทันที 

นักเลือกตั้ง พรรคการเมืองจมูกไวต่างเร่งตุนเสบียง ทำพื้นที่ เปิดนโยบาย เตรียมความพร้อมแข่งขันกับการเลือกตั้งที่คืบคลานใกล้เข้ามาทุกทีๆ. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐาเกาะ“มีชัย”หวังชนะคดี เปิดข้อต่อสู้32หน้าขอศาลอยู่ยาว

เมื่อวันอังคารที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องในคดีกลุ่ม 40 อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ยื่นคำร้องให้ศาล รธน.วินิจฉัยกรณี นายกฯ นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดส่ง เอกสารคำแถลงปิดคดี ในคดีดังกล่าวถึงสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ก้าวไกลชงนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข ห้ามทำผิดซ้ำ 3-5 ปี แมตช์วัดใจ พท.-ทักษิณ

เดิมที ศุกร์ที่ผ่านมา 26 ก.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน

“ลุง”กับ“อา”ใจถึงพึ่งได้ เฮือกสุดท้ายใน”บ้านป่า”?

“เปิดต้อนรับนักการเมืองเทรนด์เดียวกัน ที่รสนิยมในเรื่องของ พรรคพวก เพื่อนฝูง พี่น้อง ต้องมาก่อน เรื่องคำมั่นสัญญา การไม่หักหลังกัน เปรียบเหมือน ปฏิญญา-กฎเหล็ก ในการคบหากันของแวดวงคนใจนักเลง”

“อนุทิน-ภท.” “พยัคฆ์ติดปีก”

กรณีสถานการณ์ “กัญชา” พลิกจากเดิมที่จะถูกดึงกลับไปเป็นยาเสพติด หักนโยบายพรรคภูมิใจไทยสร้างมา เป็นการออก พ.ร.บ. เพื่อใช้เฉพาะทางการแพทย์ วิจัย เศรษฐกิจเท่านั้น

ผลโหวตวุฒิสภาชุด13 ‘มงคล’ปธ.หัวใจสีเหลือง

ผ่านพ้นจนได้ สำหรับการเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา 2 ตำแหน่ง แม้จะมีเรื่องขรุขระต้องนับคะแนนใหม่อีกรอบหนึ่ง ในการเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เนื่องจากมีคะแนนเกินมา 1 แต้ม