ต้องไม่มีอภิสิทธิ์ชน

หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย กรณีโซเชียลเผยแพร่คลิปเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรขี่รถจักรยานยนต์นำรถเบนซ์ ขบวนวีไอพี บอกให้รถคันหนึ่งที่ขับเลนสวนกันให้หลบไป แต่คนขับไม่หลบ เพราะขับมาถูกเลน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ “ตำรวจ” ตามมาอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดีย

และต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 5 พ.ย.2564 ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่คลิปรถจักรยานยนต์ตำรวจจราจรนำขบวนรถ VIP ที่กระจังหน้ามีสติกเกอร์ คำว่า “THONGLOR POLICE” ด้านข้างรถติด 061 โดยมีชายแต่งกายชุดตำรวจ ยศ "พ.ต.ท." เป็นผู้ขับขี่ ทางกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 (บก.น.5) ได้รายงานข้อเท็จจริงเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตามคลิปดังกล่าว คือ พ.ต.ท.สังเวียน คำรังษี สว.จร.สน.ทองหล่อ ซึ่งทาง บช.น. ได้สั่งการให้ สน.ทองหล่อ ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วนั้น

เพื่อให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 จึงได้มีคำสั่ง บก.น.5 ที่ 233/2564 ลงวันที่ 5 พ.ย.64 สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรายดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการ กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 (ศปก.บก.น.5) โดยให้ขาดจากต้นสังกัด โดยมอบหมายให้ พ.ต.ท.ณรงค์วิช สุดกังวาล รอง ผกก.จร.สน.ทองหล่อ ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมและอำนวยความสะดวกจัดการจราจรให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ สน.ทองหล่อ แทน บช.น.

พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและโฆษก บช.น. ชี้แจงเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งโดยระบุว่า ขณะนี้ได้มีการสั่งการให้ ผกก.สน.ทองหล่อ ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด ว่าเหตุใดจึงต้องนำตำรวจจราจร สน.ทองหล่อ ไปนำขบวนรถเบนซ์คันดังกล่าว และนำในเส้นทางที่นอกเหนือพื้นที่รับผิดชอบ ส่วนเจ้าของรถเบนซ์คันดังกล่าว เบื้องต้นทราบว่าไม่ใช่บุคคลสำคัญ

นอกจากนี้ โฆษก บช.น.ขออภัยพี่น้องประชาชน และจะนำบทเรียนของการผิดพลาดในครั้งนี้มาปรับปรุงและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก ยืนยันจะตรวจสอบตำรวจจราจรที่ขับรถนำได้ปฏิบัติตามระเบียบของการขอรถนำขบวนหรือไม่ หากพบว่าไม่มีการทำตามระเบียบ ตำรวจผู้ที่ทำหน้าที่นำขบวนต้องรับโทษ มีความผิดทางวินัย

เรื่องดังกล่าว แม้ตอนนี้กระแสจะเริ่มเงียบลงไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องที่คนในสังคมต้องการทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ

"การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย"

บนข้อกังขาว่า มีการให้อภิสิทธิ์กับบุคคลบางกลุ่มโดยเฉพาะพวก นักธุรกิจ-คนรวยกระเป๋าหนัก ที่เป็นพวกวีไอพี ของตำรวจจราจรบางกลุ่ม เพื่อให้ได้รับการดูแลเป็นพิเศษยามเมื่อเดินทางบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร ที่ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมืองที่มีรถติดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวพบว่าทางตำรวจก็จับกระแสของสังคมได้ เลยพยายามที่จะรีบทำความชัดเจนถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 พ.ย. ที่ พล.ต.ท.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร. มีวิทยุราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ถึง ผบช.น., ภ.1-9 และ ก. ใจความอ้างถึง หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0205/ว189 ลง 2 ตุลาคม 2545 แจ้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 เห็นชอบหลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย

มีการระบุว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในการอำนวยความสะดวกการจราจรและการรักษาความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามระเบียบและข้อกฎหมาย จึงกำชับการปฏิบัติให้ทุกหน่วยดำเนินการ ดังนี้

1.การใช้รถตำรวจเพื่อนำขบวนบุคคลสำคัญ นักการเมือง แขกต่างประเทศ (ทั้งกรณีการนำขบวนเป็นประจำ และนำขบวนเป็นครั้งๆ ตามความจำเป็นแห่งโอกาส) ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือที่อ้างถึงหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0205/ว189 ลง 2 ตุลาคม 2545 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาอนุญาตให้ใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นครั้งๆ สำหรับรถอื่นนอกเหนือจากรถของบุคคลสำคัญที่กำหนดไว้นั้น ในเขต กทม. ให้ ผบก.จร. หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต นอกเขต กทม. ให้ ผบก.ทล. หรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต โดยต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่ต้องใช้รถตำรวจนำขบวน เพื่อความปลอดภัยของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี เช่น รถนักเรียน ขบวนรถซึ่งเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือพิธีการต่างๆ หรือเป็นกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนของบุคคลผู้มีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในทางราชการเพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญของทางราชการ เท่านั้น

2.การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจร ในการอำนวยการและจัดการจราจรตลอดจนการใช้รถฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 อย่างเคร่งครัด

ขณะที่ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้นไว้เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง หากพบว่าใครบกพร่องจะต้องดำเนินการทางความผิด หากพบว่าตำรวจทำไม่ถูกต้องตามระเบียบในการอำนวยความสะดวกในภาพรวมแต่ไปเฉพาะเจาะจงเฉพาะตัวบุคคล หากไม่ใช่เหตุฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นถึงเรื่องที่มีเหตุผลเพียงพอรองรับก็ต้องถือว่ามีความบกพร่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจับตาอยู่ ก็ต้องตรงไปตรงมา อะไรที่เป็นความบกพร่องของตำรวจเองก็ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง จะไม่มีการปกป้องหรือช่วยเหลือกัน ถ้าใครบกพร่องไม่ทำตามระเบียบขั้นตอนของระเบียบในการนำหรือการอำนวยความสะดวกก็ต้องว่ากันไปตามเนื้อผ้า หากพบว่าไม่มีความจำเป็นไปนำหรือไปช่วยเฉพาะรายอาจจะต้องมีความบกพร่องเกิดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้น แม้สุดท้ายหลังจากนี้คงค่อยๆ ซาลงไป อย่างไรก็ตาม หากกองบัญชาการตำรวจนครบาลไม่เคลียร์ข้อสงสัยของคนในสังคม ถึงเรื่องความชัดเจนของรถวีไอพีดังกล่าว ว่าความจริงเป็นอย่างไร และที่ผ่านมารวมถึงต่อจากนี้ ตำรวจจราจรของนครบาลมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องการใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมืองอย่างถูกต้องหรือไม่

สิ่งที่เกิดขึ้น หากไม่ทำให้เกิดความกระจ่าง จนสังคมหมดข้อกังขา ผลที่ตามมาย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ-กองบัญชาการตำรวจนครบาล แน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี