จับตาสถานการณ์การเมืองกลับมาระอุอีกครั้ง โดยมี “วาระ 8 ปี” การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเดิมพัน ม็อบขีดเส้นให้เวลาถึงเที่ยงคืนวันที่ 23 ส.ค. ต่อจากนั้นเป็นได้คือ “นายกฯ เถื่อน”
มาตรา 18 วรรค 4 ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติถึงวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” ถูกหยิบมาพิพากษานายกฯ ต้องยุติหน้าที่วันที่ 24 ส.ค.นี้ หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.57 รวมเป็นระยะเวลา 8 ปี
วันที่ 23 ส.ค.นี้ จึงเป็นการรวมพลใหญ่ขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์อีกครั้ง โดย คณะหลอมรวมประชาชน นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา เป็นแกนนำโหมโรงนัดชุมนุมใหญ่ “หยุด 8 ปี ประยุทธ์” กันที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วันที่ 21-24 ส.ค.
โดยนายจตุพรระบุว่า ไม่มีเวลาไหนที่จะโค่นนายกฯ ประยุทธ์ได้เท่านี้อีกแล้ว ตะโกนดังๆ ไปถึงพี่น้องประชาชนที่รักประชาธิปไตยทั่วประเทศให้ก้าวออกพร้อมกันที่ลานคนเมือง วันที่ 23 ส.ค. ตั้งแต่ช่วงบ่ายไปจนถึงเที่ยงคืน เพื่อเคาต์ดาวน์นับถอยหลังเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์
โยน พล.อ.ประยุทธ์ ลากประเทศเข้าสู่วิกฤต แต่หลังเที่ยงคืน 23 ส.ค. สถานการณ์ประเทศจะไม่เหมือนเดิมนำไปสู่การเปลี่ยนชนิดที่คาดไม่ถึง เชื่อประยุทธ์ไม่มีทางรับมือได้ การลงท้องถนนจึงเป็นหนทางนำไปสู่การเลือกตั้งกำหนดอนาคตของชาติ ถ้าประชาชนลุกกันออกมาเร็วประยุทธ์ก็จะไปเร็ว หากประยุทธ์ยังดื้อดึง จุดหมายปลายทางประชาชนคือทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่คู่หูดูโอ “ทนายนกเขา” ที่มาในแนวฮาร์ดคอร์ ประกาศลั่นว่า ประยุทธ์ไม่มีทางเลือกอื่น มีทางเดียวคือออกจากตำแหน่งนายกฯ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด 24 ส.ค.เท่านั้น และไม่มีสิทธิ์ไปเหยียบทำเนียบฯ อีกต่อไป หากนายกฯ ละเมิดกฎหมาย ม็อบก็จะไม่ยึดกฎหมาย ประยุทธ์อยู่ไหนตามไปทุกที่ พร้อมรับมือการสลายการชุมนุมจากเจ้าหน้าที่รัฐ อยากนองเลือดก็เชิญ อยากให้แก๊สน้ำตาฟุ้งทั่วประเทศก็ทำก็พร้อม
นอกจากกลุ่มหลอมรวมประประชาชน ของจตุพรและทนายนกเขา ยังมีอีกหลายกลุ่มที่นัดวัน-เวลาร่วมวงกินโต๊นายกฯ ตู่ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม 14 ขุนพล นำโดยนายจิรภาส กอรัมย์ จัดกิจกรรมคู่ขนาน “ขีดเส้นใต้ขับไล่เผด็จการ” จัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก่อนเคลื่อนไปยังทำเนียบรัฐบาล, กลุ่มราษฎรไล่ตู่ คนแดงปฏิวัติ นำโดย นายวรเดช เปรมกมล จัดชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ก่อนเคลื่อนไปยังทำเนียบฯ
แต่ที่น่าจับตาเป็นพิเศษคือ กลุ่ม “ทะลุแก๊ส” ที่นิยมความรุนแรง ไปที่ไหนฉิบหายที่นั่น อวดศักยภาพมาแล้วหลายพื้นที่ ทั้งแยกดินแดง แยกนางเลิ้ง เผาวอดทำลายทรัพย์สินของทางราชการตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเดียวกันกับกลุ่มกำลังเสริม “โรนินฝั่งธน ไม่เอาเผด็จการ” โพสต์เชิญชวนแนวร่วมต้านการสืบทอดรัฐบาลประยุทธ์ นัดรวมพลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 23 ส.ค.เป็นต้นไป
หลายครั้งที่ม็อบประชิดทำเนียบ หรือสถานราชการและสถานที่สำคัญ กำลังตำรวจควบคุมฝูงชนจัดกำลังไปตามสถานการณ์เพื่อรักษาความปลอดภัย ครั้งนี้ก็ไม่ต่างจากการรับมือม็อบเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง ได้จัดเตรียมความพร้อมรับมือม็อบเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ไว้ที่ถนนพระราม 5 บริเวณหน้าศาลกรมหลวงชุมพร แยกพาณิชยการ สะพานอรทัย และที่ข้างทำเนียบฯ
พร้อมกันนี้ยังเตรียมแผงเหล็กไว้ตามจุดต่างๆ รอบทำเนียบฯ ที่พร้อมปกป้องสถานที่สำคัญได้ในทันท่วงที ส่วนด้านในมีตำรวจสันติบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้เข้าประจำการ พร้อมด้วยรถฉีดน้ำแรงดันสูง หรือจีโน่ 2 คัน ไว้คอยสแตนด์บาย
โดยรอบพื้นที่ที่มวลชนจะเคลื่อนกำลังปิดทำเนียบฯ พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผกก.สน.นางเลิ้ง ในฐานะหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ลงนามในคำสั่งที่ 130/2565 ประกาศปิดถนน ห้ามรถทุกชนิดผ่าน ห้ามหยุดหรือห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกนางเลิ้งจนถึงแยกสวนมิสกวัน ถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกพาณิชยการจนถึงสะพานอรทัย ถนนลูกหลวงตั้งแต่แยกเทวกรรม จนถึงสะพานอรทัย ถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่แยกมัฆวาน จนถึงแยกสวนมิสกวัน ตั้งแต่เวลา 17.00-20.00 น. วันที่ 21 ส.ค.-24 ส.ค. หรือจนกว่าเสร็จสิ้นภารกิจ
สถานการณ์การชุมนุมต้องวิเคราะห์วันต่อวัน ถ้าการข่าวพบความรุนแรงในเช้าตรู่วันที่ 23 ส.ค. จุดสำคัญที่เป็นยุทธศาสตร์ เช่น สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานชมัยมรุเชฐ แยกวัดเบญจมบพิตร รวมถึงบ้านพัก นายกฯ ประยุทธ์ ที่ ร.1 รอ. ถนนวิภาวดีฯ ตู้คอนเทนเนอร์ ลวดหนามหีบเพลง แผงเหล็กคงพรึ่บก่อนฟ้าสางเหมือนเช่นเคย
ภายใต้การคุมบังเหียนของ “บิ๊กปั๊ด” พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้กำชับหน่วยงานปฏิบัติ เตรียมความพร้อมฝึกทบทวนยุทธิวิธีในการรับมือม็อบอยู่ตลอดเวลา ทั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1-9 ทุกหน่วยสามารถรับคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกเวลา อย่างเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมเมื่อปี 63 ที่รุนแรง กำลังควบคุมฝูงชนจากต่างจังหวัดหลายกองร้อยนับหมื่นนายสลับเข้าประจำการรักษาความสงบจนสถานการณ์คลี่คลาย
ถ้าถึงวันเหตุการณ์บานปลาย แผนการการชุมนุม 63 จะถูกนำมาใช้ ที่เริ่มจากเบาไปหาหนัก เริ่มตั้งแต่การเจรจา คำสั่งเตือน การจับกุมด้วยมือเปล่า ใช้คลื่นเสียง ฉีดน้ำแรงดันสูง ไปจนถึงใช้สารเคมี แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไทย กระบอง กระสุนยาง อุปกรณ์ชอร์ตไฟฟ้าที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต
หลังเที่ยงคืนวันที่ 23 ส.ค. จตุพร อ้างมวลชนจะเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหว ถ้าจตุพรตัดสินใจนำมวลชนเคลื่อนปิดทำเนียบฯ จริงๆ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย ความรุนแรงก็จะเกิดขึ้นทันที สถานการณ์ควบคุมอยาก เพราะมีหลายกลุ่ม บางกลุ่มไม่มีแกนนำ ยิ่ง ทนายนกเขา ลั่นวาจาพร้อมปะทะถ้ามีการสลายการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายต้องตรึกตรองให้ดีก่อนพาชีวิตประชาชนไปตาย เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา ไม่มีใครได้ เสียกันทั้ง 2 ฝ่าย!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง
การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด
'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ
‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’
ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1