ภท.ถอนหนวดเสือ ปชป. “สมรภูมิปักษ์ใต้” ร้อนระอุ

อุณหภูมิการเมืองฝั่งทะเลอันดามันและภาคใต้ร้อนฉ่าขึ้นทันที หลังพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ยกทัพใหญ่นำโดย "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุขในฐานะหัวหน้าพรรค ลงพื้นที่เปิดตัว ส.ส.กระบี่และพังงา เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา หวังถอนหนวดเสือจากเจ้าถิ่นพรรคประชาธิปัตย์

 พร้อมประกาศแลนด์สไลด์ฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล  

  โดย นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ประกาศว่า เราจะแลนด์สไลด์ด้วยผลงาน หลังประชาชนให้โอกาสพรรคเก่ามา 30 ปี เขาไม่มีความคาดหวังกับพรรคการเมืองเดิมเลยไม่มีผลงาน ได้ฟังแต่นิทาน

"ในส่วนของฝั่งอันดามัน เราตั้งเป้าไว้ 11 ที่นั่ง คือ กระบี่ 3 คน ระนอง 1 คน พังงา 2 คน ภูเก็ต 2 คน สตูล 2 คน ตรัง 1 คน” นายสฤษฏ์พงษ์กล่าว

แต่ถูก นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โต้กลับ ขอให้ระวังสึนามิไว้บ้าง เพราะเมื่อสึนามิมากวาดหมด และสึนามิทางการเมืองเคยเกิดขึ้นทางภาคใต้หลายครั้งแล้ว 

"ตลอด 30 ปีที่ผมเป็นนักการเมือง เห็นพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นเยอะ แต่ขณะนี้พรรคการเมืองเหล่านั้นหายไปหมดแล้ว จึงขอย้ำเตือนให้ระวังสึนามิทางการเมืองไว้ด้วย" รองหัวหน้าพรรค ปชป.ระบุ

ความดุเดือดที่ตอบโต้กันทั้ง 2 ฝ่ายจนเกิดวาทะเด็ด ราชสีห์กับสุนัข เพื่อเกทับบลัฟแหลก หวังแย่งชิงความนิยมจากชาวใต้ ก่อนที่จะไปแข่งขันจริง ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่เหลือประมาณ 6-7 เดือน  

ในยามนี้ที่สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หมดยุค ส่งเสาไฟฟ้าลงสนาม หลังพรรค ปชป.ได้รับบทเรียนจากการเลือกตั้งในปี 62 พื้นที่ดังกล่าวถูกเฉลี่ยไปให้แก่ 5 พรรค ประกอบด้วย พรรค ปชป.ได้เพียง 22 ที่นั่ง จากทั้งหมด 50 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 13 ที่นั่ง เพราะกระแส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหมในขณะนั้น พรรคภูมิใจไทย 8 ที่นั่ง พรรคประชาชาติ 6 ที่นั่ง พรรครวมพลัง หรือพรรครวมพลังประชาชาติไทย (ชื่อเดิม) ได้เพียง 1 ที่นั่ง 

ส่วนการเลือกตั้งที่กำลังจะถึงนี้ กกต.จะเพิ่มพื้นที่เป็น 58 ที่นั่ง จึงเป็นเป้าหมายที่หลายพรรคจะยึดครองให้ได้ โดยพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคเจ้าถิ่น มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น หลังจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศจะกวาดเก้าอี้ ส.ส.ภาคใต้ 35-40 ที่นั่ง เพราะเชื่อมั่นในผลงานต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราคาปาล์ม ประกอบกับ กระแส พล.อ.ประยุทธ์ และพรรคพลังประชาชนตกต่ำลง รวมทั้งผลการเลือกตั้งซ่อม 2 ครั้งที่ผ่านมาที่ จ.สงขลาและชุมพร พรรคก็ได้รับชัยชนะ จึงทำเกิดความฮึกเหิม เพื่อทวงคืนความยิ่งใหญ่กลับคืนมา    

แต่อีกด้านหนึ่งก็ถูกท้าทายด้วยพรรคภูมิใจไทย ที่นอกจากจะได้ตัวผู้สมัครที่เป็นบ้านใหญ่ และอดีตนักการเมืองที่มีชื่อมีชั้นแล้ว รวมทั้งกระแสกระสุนดินดำไม่อั้น ยังชัดเจนด้วยนโยบายที่ทำสำเร็จ และโครงการต่างๆ ลงไปพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงเป็นรัฐบาล 3 ปีเศษ อย่างเช่น การก่อสร้างถนน 4 เลน และสะพานข้ามเกาะลันตา โรงพยาบาลต่างๆ พร้อมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เช่น จังหวัดพัทลุงโตถึง 400% ดังที่ นางนาที รัชกิจประการ เหรัญญิกพรรคภูมิใจไทย ในฐานะแม่ทัพภาคใต้ออกมาตั้งเป้าว่า 

"ดิฉันมักน้อย ขอแค่ 20 บวกพอ ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ถ้าหากพี่น้องให้โอกาสพวกเรา จะทำให้ดู และทำให้ภาคใต้มีรายได้ให้ประชาชนอย่างมหาศาล และที่ผ่านมาเราไม่ได้ทำแบบขาดๆ หายๆ" นางนาทีตอบคำถามหลัง ปชป.ประกาศกวาด 40 ที่นั่ง 

ขณะที่ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงศึกเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ หลังประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ลุยเปิดเวทีปราศรัย แนะนำตัวผู้สมัคร ส.ส.ว่า ชั่วโมงนี้พรรคเพื่อไทยไม่มองภาคใต้เป็นเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ไหนแต่ไรชื่อของพรรคเพื่อไทยเจาะภาคนี้ไม่สำเร็จ 

สำหรับพรรคที่ดูแล้วมีความพร้อม มีภาษีดีกว่าเพื่อนคือ พรรคภูมิใจไทย ให้ดูจากการไหลเข้ามาของนักการเมือง ถ้าพรรคบ๋อแบ๋ คงไม่มีใครอยากเข้ามาร่วมงานด้วย ผิดกับพรรคที่ดูแล้วมีอนาคต คนก็พร้อมเข้ามาทำงาน เอาตรงนี้ 

มาดูพรรคประชาธิปัตย์ จะเห็นว่ามีแต่ไหลออก แล้วตัวใหญ่ๆ ทั้งนั้น ส่วนที่ไหลเข้ามายังสู้เขาลำบาก พรรคประชาธิปัตย์เหมือนพรรคตะวันยอแสง คือ พระอาทิตย์จะตกดินแล้ว มีแสงริบหรี่ ส่วนพรรคพลังประชารัฐ ตอนนี้อย่าเพิ่งไปพูดถึง ศึกภายในมันเยอะ ฟื้นตัวลำบาก แล้วที่ประชาธิปัตย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคพูดว่า จะเอามา 52 เสียง เขาไม่ได้มองว่าจะไปเอากับภูมิใจไทย แต่เขาจะเก็บจากพื้นที่ของพลังประชารัฐนี่เอง

  ถือเป็นเพียงระฆังยกแรกเท่านั้น และมั่นใจว่าเมื่อใกล้เลือกตั้งเข้ามาจริงๆ ไม่เพียงแค่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ยังมีพรรคอื่นๆ สอดแทรกเสนอตัวเป็นทางเลือก ส่วนสุดท้ายพรรคไหนจะสมหวังหรือพลาดหวังเป้า ชาวปักษ์ใต้จะเป็นผู้ให้คำตอบ.  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

'อนุทิน' ควง 'เนวิน' ทำพิธียกยอดฉัตร วงเวียนรัชกาลที่ 1 เสริมมงคลรับปีใหม่

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นประธานในพิธียกยอดฉัตรตามโครงการปิดทองเบิกฟ้า สักการบูชา มหาราช รัชกาลที่ 1 ที่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่ 1)

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

ส่อง 'พรรคปฏิบัติการ' ปี 68 'ภูมิใจไทย' ถูกขวางยิ่งโต

“พรรคภูมิใจไทย” ภายใต้การนำของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ถือเป็นองค์กระกอบตัวแปรสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้เกิดรัฐบาลไฟต์บังคับนี้ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย