ลือต่อรอง "กินกล้วย" ก่อนโหวต! "บิ๊กป๊อก-สันติ" โคม่าเสียงหนุนน้อย

วันพุธที่ 20 ก.ค. เข้าสู่วันที่สองของ ศึกซักฟอก-เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ตามคิวหากไม่เลื่อนหรือขยับปรับเปลี่ยนมาก ก็จะเป็นคิวอภิปราย รัฐมนตรีต่อจากเมื่อวันอังคารที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่จะมีรัฐมนตรีถูกอภิปราย ประกอบด้วย นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย จากประชาธิปัตย์, ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิตอลฯ, สันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง, พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย โดยหากมีรัฐมนตรีที่ตกค้างมาจากอภิปรายวันแรก ก็จะมาอภิปรายเพิ่มเติมวันพุธนี้ต่อได้

สำหรับการอภิปรายภาพรวมวันแรก นอกเหนือจากการเปิดเวที อภิปรายด้วยสำนวน-ข้อกล่าวหาแบบจัดหนักๆ เข้มๆ จาก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านฯ ที่อภิปรายแสดงเหตุผลในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกประยุทธ์ และ 10 รัฐมนตรี ด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ แล้ว เนื้อหาการอภิปรายหลังจากนั้น ผู้นำฝ่ายค้านฯ ก็ฟาดไปที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในลักษณะ เปิดแผล ไว้ก่อน แต่จะมา โรยเกลือ ซ้ำในช่วงสองวันสุดท้าย ในการอภิปรายคือวันที่ 21-22 ก.ค. ที่ฝ่ายค้านบอกว่าจะใช้สองวันนี้ รวมเวลา 30 ชั่วโมง เพื่ออภิปรายพลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่อาจมีพาดพิงรัฐมนตรีคนอื่นๆ บ้าง

โดยเนื้อหาการอภิปรายเปิดแผลนำร่องไว้ก่อนของผู้นำฝ่ายค้านฯ เป็นการอภิปรายในภาพรวมๆ ตามสไตล์ที่ต้องโจมตี-กล่าวหา พลเอกประยุทธ์ให้หนักที่สุด เช่น ระบุว่ามีพฤติการณ์เสพติดอำนาจ มีพฤติการณ์ละเมิดรัฐธรรมนูญและก้าวก่ายนิติบัญญัติ เช่น การสั่งการให้สมาชิกรัฐสภาโหวตคว่่ำสูตร 100 คำนวณปาร์ตี้ลิสต์เป็นสูตร 500 หาร รวมถึง ด้อยค่า รัฐบาลประยุทธ์ว่าเป็นรัฐบาล 608 ที่ไม่รู้ว่า คำพูดดังกล่าว หมอชลน่านหลุดสคริปต์หรือตั้งใจพูด เพราะเป็นคำอภิปรายที่ไม่เป็นผลดีต่อตัวเองและพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด

หลังจากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านก็เรียงคิวการอภิปรายรัฐมนตรีตามคิวที่วางไว้ โดยตั้งแต่ช่วงสายจนถึงเย็น เป็นการอภิปรายสองรัฐมนตรีแกนนำพรรคภูมิใจไทย คือ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข และศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

ซึ่ง 2 ประเด็นใหญ่ที่่ฝ่ายค้านอภิปรายอนุทินก็คือ กล่าวหาว่าล้มเหลวในการรับมือกับวิกฤตโควิด และอีกประเด็นคือ เรื่องปัญหา สุญญากาศทางกฎหมาย หรือ Legal Gap หลังกระทรวงสาธารณสุขปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดมีผล 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่กฎหมายกัญชาฯ ยังอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ ที่ยังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 เดือนกว่าจะเสร็จ กรณีเร่งรัดแล้ว โดยฝ่ายค้านอภิปรายโทนว่า สิ่งที่ตามมาทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม-เศรษฐกิจ-ภาพลักษณ์ประเทศไทย เป็นต้น

ซึ่ง ส.ส.ฝ่ายค้านที่อภิปรายอนุทิน หลักๆ ก็อาทิ สุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน-นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.ก้าวไกล เป็นต้น

ที่เนื้อหาก็พบว่าไม่ได้ดุเดือด-เข้มข้นหรือมีข้อมูลใหม่ ประเด็นอะไรแหลมคม ที่จะทำให้อนุทินซวนเซกลางสภาฯ ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเดิมๆ เพียงแต่อาจมีความแหลมคมในการนำเสนอบ้าง เช่น นำคลิปหาเสียงของอนุทินมาเปิดกลางห้องประชุมสภาฯ ที่พูดถึงเรื่องกัญชาฯ รวมถึงพยายามสื่อไปในทางว่า สุญญากาศการประกาศใช้กฎหมายกัญชาฯ เป็นเรื่องจงใจหรือไม่ ต่อมาอนุทินก็ลุกขึ้นชี้แจงหักล้างแต่ละประเด็นของฝ่ายค้าน รวมถึงบางช่วงก็ใช้โอกาสนี้แถลงผลงานของตัวเองในการเป็น รมว.สาธารณสุขไปด้วยเลย เช่น นโยบายการให้มีระบบฟอกไตฟรี ไม่ต้องเสียเงิน เป็นต้น

ขณะที่นอกห้องประชุมสภาฯ ฝ่ายพรรคภูมิใจไทยก็ใช้วิธีการให้บุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข มาเปิดแถลงข่าวตอบโต้ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านอย่างรวดเร็ว เพื่อหักล้าง ทำลายน้ำหนักคำอภิปรายของฝ่ายค้านทุกเรื่อง โดยย้ำว่านโยบายกัญชาที่ออกมาไม่เกิดปัญหา สุญญากาศทางกฎหมาย และยืนยันว่า อนุทินไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับเรื่องนโยบายกัญชาทางการแพทย์

ส่วน ศักดิ์สยาม-รมว.คมนาคม ก็ถูกพรรคฝ่ายค้าน คู่ปรับเดิม พรรคประชาชาติ อภิปรายเรื่อง ตระกูลชิดชอบ ครอบครองที่ดินเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 5,083 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ในห้องประชุมสภาฯ ที่การอภิปรายดำเนินไปอย่างเข้มข้น นอกห้องประชุมก็มีความเคลื่อนไหวคึกคัก เพราะการเมืองตอนนี้มองข้ามช็อตไปถึงเรื่อง การลงมติ ในวันเสาร์ที่ 23 ก.ค.นี้แล้วว่า พลเอกประยุทธ์และ 10 รัฐมนตรีที่ถูกซักฟอก จะได้คะแนนเสียงกันคนละเท่าใด จากเกณฑ์คือ หากรัฐมนตรีคนไหนได้เสียงไม่ไว้วางใจแตะที่ 239 เสียง ต้องหลุดจากตำแหน่ง

ในเชิงการเมืองพบว่า รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทุกคน รวมถึงแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่า นายกฯ และ 10 รัฐมนตรี จะไม่มีใครได้เสียงไม่ไว้วางใจถึง 239 เสียง เพราะหากไปถึงขนาดนั้น หมายถึงต้องหลุดจากตำแหน่งกลางสภาฯ ทันที

แต่ก็มีข่าวเช่นกันว่า สิ่งที่รัฐมนตรีหลายคนหนักใจคือ ไม่อยากได้คะแนนไว้วางใจบ๊วยสุด หรือได้คะแนนไม่ไว้วางใจเยอะสุด เพราะจะไม่เป็นผลดีทางการเมือง อาจเสียเครดิตได้ เผลอๆ อาจนำไปสู่การปรับ ครม.เดือนสิงหาคมนี้ก็ได้

โดยพบว่า ที่นอกห้องประชุมสภาฯ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก มีความเคลื่อนไหวของพรรคเล็ก โดยมีข่าวว่า กลุ่ม 16 ที่ประกอบด้วย ส.ส.พรรคเล็กพยายามต่อรองกับบรรดารัฐมนตรีที่มีรายชื่อถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 5-6 คน ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีคะแนนเสียงหมิ่นเหม่ต่อการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยมีกระแสข่าวแพร่สะพัดไปในทำนองว่า มีการขอเรียกรับผลประโยชน์รายละ 1-2 ล้านบาท แลกกับเสียงโหวตในการยกมืออภิปรายไว้วางใจให้

กระนั้นก็ตามพบว่า รัฐมนตรีหลายคนไม่ได้สนใจเรื่องนี้ และไม่ไปเจรจาต่อรองด้วย เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเองชี้แจงข้อกล่าวหาได้ และจะได้เสียงหนุนจาก ส.ส.ในสภาฯ โดยไม่ต้องแจกกล้วยแต่อย่างใด

ทั้งนี้ข่าวว่า หลังการอภิปรายวันแรกผ่านไปจนถึงช่วงค่ำ วงกาแฟหลายวงในห้องรับรอง ส.ส.ที่รัฐสภา ที่นั่งคุยกัน มีการประเมินกันเบื้องต้นหลังการอภิปรายกำลังจบวันแรกว่า สำหรับรัฐมนตรีที่จะได้คะแนนเสียงแบบผ่านฉลุย จนถึงตอนนี้มีการวิเคราะห์กันว่า จะประกอบด้วย  พล.อ.ประยุทธ์, สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน, นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย

ขณะที่รัฐมนตรีที่มีแนวโน้มจะถูกพรรคเล็กลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเผลอๆ อาจมี ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนที่ไม่ใช่พวกพรรคเล็ก ลงมติแบบแหกโผคือ อาจ งดออกเสียงคือไม่ลงมติไว้วางใจให้ คนที่อยู่ในข่ายนี้ ก็มีอาทิเช่น อาจมีชื่อจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์, สันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ถูกคาดหมายอาจจะได้คะแนนไว้วางใจน้อยที่สุด. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1