จับตาม็อบ "อภิวัฒน์สยาม" ท้าทายจุดยืน "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ"

24 มิ.ย.65 ครบรอบ 90 ปี "อภิวัฒน์สยาม" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งแห่งการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกลุ่ม "คณะราษฎร" ที่มี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้นำ

ครบรอบ “24 มิ.ย.2475” ทุกปี จะเป็นอีกวันที่ต้องมีการบันทึก นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจัดกิจกรรมอิงประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่ 2-3 ปีย้อนหลังมานี้ “วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง” กลายเป็นความรุนแรงจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเก้าอี้นายกฯ เป็นเดิมพัน สารพัดม็อบใช้วันเปลี่ยนแปลงการปกครองชูขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและองคาพยพให้ออกจากตำแหน่ง

 “การเมืองระอุ” ความเห็นต่างคนไทยถูกผลักให้เลือกข้างแบ่งฝักแบ่งฝ่าย นำไปสู่การจลาจล กลุ่มผู้ชุมนุมออกมาปิดถนน สถานที่ราชการ เผาทำลายทรัพย์สิน แม้กระทั่งสถานที่ศูนย์รวมหัวใจคนไทยทั้งชาติ มวลชนที่อ้างตัวเป็น “นักประชาธิปไตย” ยังไม่เว้นป่วนบ้านป่วนเมือง ลากยาวมาจนถึง “สมรภูมิดินแดง” กว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติก็ปลายปี 64 สรุปไม่มีใครชนะ ไม่มีใครแพ้ มีแต่คราบน้ำตาของผู้สูญเสีย “แกนนำ-มวลชน” ถูกดำเนินคดียาวเป็นหางว่าวเกือบ 1,000 คดี ทรัพย์สินรัฐเสียหาย-ซ่อมบำรุงหลายร้อยล้านบาท

ในห้วงนี้ยังคงต้องจับตาสถานการณ์ความวุ่นวาย นับตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย.เป็นต้นมา กลุ่มมวลชนที่อ้างตัวเองเป็นกลุ่มอิสระไม่มีแกนนำนัดรวมตัวกันที่แยกดินแดงมุ่งหน้าขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์-นายกรัฐมนตรี ที่กรมทหารราบที่ 1 ถนนวิภาวดี ภาพกลุ่มควันระเบิด ประทัดยักษ์ พลุ เปลวเพลิง จากการประทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนกลับมาอีกครั้ง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และเพิ่มรอบความถี่สารพัดม็อบนัดทำกิจกรรมทุกวันหลายพื้นที่ โดยอ้างความล้มเหลวการบริหารของรัฐบาลมาเป็นตัวเดินเกมที่มีอีแอบชักใยอยู่เบื้องหลัง สถานการณ์โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ยังสามารถควบคุมได้

นอกจากเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ปีนี้ “กรุงเทพมหานคร” เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ผลชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. “ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์” ได้คะแนนจากคนกรุงเทพฯ แบบถล่มทลายแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หนึ่งในปัญหาของคนเมือง คือปัญหาการชุมนุม ผู้ว่าฯ ชัชชาติได้ให้แนวทางตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง คือจัดหาสถานที่การแสดงออกทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ ทุกสำนักงานเขตมีพื้นที่ในการแสดงออกทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล

เหตุการณ์ความรุนแรงที่แยกดินแดง เป็นหนึ่งประเด็นที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ นำเข้าที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ครั้งที่ 8/2565 ว่า “กทม.ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงของทุกฝ่าย ปัญหาส่วนหนึ่งของคนในพื้นที่ดินแดงคือเรื่องเศรษฐกิจ โดยให้สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตลงพื้นที่ในชุมชนมากขึ้นไปดูคนที่ได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกัน กทม.จะพิจารณาจัดหาสถานที่ของ กทม.สำหรับจัดชุมนุมไว้ให้ผู้ที่ต้องการแสดงออกทางการเมือง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งจะมีความปลอดภัย และไม่กีดขวางการจราจร ให้ประชาชนชุมนุมได้ตามมาตรา 9 แต่ไม่ได้บังคับให้ชุมนุมที่นี่ ให้เป็นทางเลือกโดยมี 2 รองผู้ว่าฯ จักรพันธุ์ ผิวงาม เตรียมการหาพื้นที่ น.ส.ทวิดา กมลเวชช เตรียมพร้อมด้านการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ทั้งผู้ชุมนุมและประชาชนจากสถานการณ์การชุมนุม"

ถ้าเป็นไปตามแผนของผู้ว่าฯ กทม.ปัญหาเรื้อรังมานานก็คงมีทางออก แต่ความเป็นจริงมวลชนที่ออกมาสร้างปัญหาอยู่ขณะนี้ไม่ได้มาเรียกร้องสิทธิ์ทางการเมือง หรือเรียกร้องให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่เป็นการสร้างความปั่นป่วน สร้างสถานการณ์ความรุนแรงโดยมีอาวุธ ระเบิดครบมือ เผาทำลายทรัพย์สินของเอกชนและราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บจากผู้ก่อเหตุ อย่างนี้ยังคงเป็นการเรียกร้องสิทธิ์หรือไม่ อาศัยแหล่งที่พักอาศัย แฟลต ชุมนุมเป็นที่หลบซ่อนซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจเหมือนกองโจร นัดปิดถนนปิดการจราจรสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนยังเป็นการชุมนุมตามสิทธิ์อีกหรือ ไม่พอใจก็ขับ จยย.ป่วนเมือง เผาทำลายป้อมตำรวจ ป้อมจราจร แล้วสถานที่จะจัดให้ชุมนุมหรือแสดงออกทางการเมือง จะมีสักกี่คนที่จะทำตามกฎ

จึงต้องจับตาครบรอบ 90 ปี การอภิวัฒน์สยาม นายปิยรัฐ จงเทพ  หรือ โตโต้ แกนนำม็อบ 3 นิ้ว ผู้ต้องหาคดี ม.112 โพสต์นัดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองทางเพจ We Voluntee “คณะราษฎร” เชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้รักในประชาธิปไตยร่วมกิจกรรม “ฉลองวันชาติ คณะราษฎรยังไม่ตาย” โดยพร้อมเพรียงกัน ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 16.00 น. เพื่อตั้งริ้วขบวนไปยังลานคนเมือง (ศาลาว่าการกรุงเทพฯ) สวนทางกับผู้ว่าฯ ชัชชาติ ระบุว่ายังไม่ได้ประกาศให้ลานคนเมืองเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่จะจัดหาห้องน้ำ เครื่องเสียง แต่กิจกรรมต้องมีความเหมาะสม เพราะพื้นที่รายรอบเป็นวัดและโรงเรียน

แน่นอนมวลชนที่มานัดหมาย มีทั้งกลุ่มที่จัดตั้งและมวลชนอิสระ ยากแก่การควบคุม หลายครั้งเหตุการณ์บานปลาย ทั้งการปะทะกับเจ้าหน้าที่ คฝ. และการกระทบกระทั่งกันเองของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเฉพาะกลุ่มวีโว่แล้วเป็นที่รู้กันว่าการชุมนุมหลายครั้งที่ผ่านมานี้ กลุ่มนี้จะเป็นการ์ดรักษาความปลอดภัย เป็นด่านหน้าพร้อมปะทะกับเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์สรรพกำลัง เครื่องมือสื่อสารเตรียมการมาเป็นอย่างดี ถ้าสถานการณ์ตึงเครียด กฎและกรอบที่กำหนดจะเอาอยู่ไหม   

ถึงแม้ผู้ว่าฯ กทม.จะเป็นห่วงสถานการณ์ความรุนแรง แต่ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายก็ต้องคำนึงเป็นสิ่งแรก นายกฯ ย้ำว่าถ้าหากถูกใช้ความรุนแรงก่อน ตำรวจก็มีสิทธิ์บังคับใช้กฎหมายป้องกันตัว กฎหมายทำให้บ้านเมืองสงบ “บิ๊กปั๊ด” พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.ขานรับใช้มาตรการเท่าที่จำเป็น เลี่ยงได้เลี่ยง เว้นแต่จำเป็นจริงๆ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หลายเหตุการณ์ตำรวจได้รับบาดเจ็บพิการหลายคน

สถานการณ์การชุมนุมต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ผู้ว่าฯ กทม.เป็นห่วงความรุนแรง แต่ตำรวจก็มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ปากบอกว่าเป็นกลาง แต่ม็อบมองว่าเป็นพรรคพวกตัวเอง แต่อีกบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย จะทำอย่างไรให้กรุงเทพฯ ก้าวไปข้างหน้าโดยที่ไม่เลือกข้าง...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง

ดรามา วุฒิการศึกษา 'หมอเกศ' เปิดข้อกม.เอาผิด-พ้นสภาพสว.?

นับตั้งแต่กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปลายเดือนมิ.ย. สิ้นสุดลง หัวกระไดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ไม่แห้งอีกเลย เพราะหลังจากนั้นมีกลุ่มคนเข้ามายื่นหนังสือ เพื่อตรวจสอบกระบวนการเลือกที่ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า ฮั้ว หรือการตรวจคุณสมบัติสว.