ผ่านศึกชิงอำนาจยกแรกไปได้แบบสบายๆ รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลการลงมติโหวตรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566 วงเงินกว่า 3.18 ล้านล้านบาท ด้วยมติรับหลักการ 278 ต่อ 194 กลายเป็นฝ่ายค้าน ต้องมากังวล พะวง โดยเฉพาะในพรรคเพื่อไทยเสียงหายไป 7 เสียง ไม่เห็นด้วยกับมติพรรค ขอใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.โหวตรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2566 ในวาระที่ 1
อายุรัฐบาลประยุทธ์หากอยู่ครบเทอม สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2566 เหลือเวลาประมาณ 10 เดือน แต่ดูเหมือนจะไม่ทันใจ ช้าไปสำหรับฝ่ายค้าน-เพื่อไทย รอไม่ได้ หากสบช่องมีโอกาสจะต้อง ‘รุกไล่ รุมขย่ม เช็กบิล’ ให้ได้ในทันทีทันใด ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณจะผ่านฉลุย ไม่มีข้อกังวล
แต่กลเกมทางการเมืองยังต้องเดินต่อไป ด่านต่อไปศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 พรรคฝ่ายค้านในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ เตรียมเข้าชื่อเสนอญัตติต่อประธานสภาฯ ภายในวันที่ 15 มิ.ย. ขั้นตอนการตรวจสอบความเรียบร้อยญัตติ หากไม่มีอะไรผิดพลาด นับไปอีกประมาณ 15 วัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือศึกซักฟอก จะเกิดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
แม้ในวันนี้ฝ่ายค้าน-เพื่อไทยยังไม่สรุปตัวบุคคล รัฐมนตรีที่จะถูกซักฟอกออกมา มีเพียงเป้าหลัก จะโดนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แต่ในองคาพยพอื่นๆ รัฐมนตรีคนใดบ้าง มีเพียงกระแสข่าว มีรัฐมนตรี 5-6 คน อยู่ในลิสต์ฝ่ายค้านจ้องเช็กบิลทางการเมือง ขณะเดียวกันความคิดเห็นในส่วนของฝ่ายค้านยังแตกแขนงออกเป็นหลายความเห็น ไร้ข้อสรุป ส.ส.เพื่อไทยบางคนคิดว่า ไม่ต้องอภิปรายเยอะ เลือกโฟกัสเฉพาะบุคคล ที่เป็น 3แกนหลักในอำนาจ อย่างกลุ่ม 3 ป. ประยุทธ์-ประวิตร-อนุพงษ์ ก็เพียงพอแล้ว
ทว่ามีเสียงท้วงติงในเพื่อไทยอีกบางส่วนว่า การอภิปรายครั้งนี้ถือเป็นครั้งสุดท้ายในรัฐบาลประยุทธ์ ไม่ควรไปโฟกัสเพียงแค่กลุ่ม 3 ป. และรัฐมนตรีในพรรคพลังประชารัฐที่บริหารงานผิดพลาด ก่อให้เกิดความเสียหายทางราชการ ส่อเค้าไปในทางประพฤติมิชอบ ทุจริตคอร์รัปชันเพียงแค่ไม่กี่คน ถ้าไม่ไปแตะรัฐมนตรีในพรรคร่วมรัฐบาลเลย อาจจะถูกข้อครหา ซูเอี๋ยทางการเมือง จึงเป็นที่มา
โพยล็อตแรกที่เปิดออกมา มีทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดีอีเอส เป็นรายชื่อรอบแรกที่ถูกเปิดออกมา แต่ไม่ว่าอย่างไร เป็นเพียงเสียงสะท้อนจากพรรคเพื่อไทยในเบื้องต้นเท่านั้น ยังต้องรอพรรคร่วมฝ่ายค้านพรรคอื่น ที่มีทั้งก้าวไกล ประชาชาติ เพื่อชาติ เสรีรวมไทย พลังปวงชนไทย ต่างมีข้อมูลในมือ ต้องนำเสนอที่ประชุมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านกันอีกครั้ง พร้อมกับบอกเล่าพฤติกรรม หลักฐาน อันควรเชื่อได้ว่า รัฐมนตรีรายนั้นๆ มีพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่า บริหารราชการผิดพลาด บกพร่อง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน
เดิมทีพรรคฝ่ายค้านนำโดย พรรคเพื่อไทย คาดหวังว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ นอกจากเสียงฝ่ายค้านแล้ว จะได้เสียงสนับสนุนจากพรรคเล็ก พรรครัฐบาลแปรพักตร์มาร่วมยกมือให้ฝ่ายค้านด้วย แต่เมื่อดูจากผลโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ อาจจะต้องหันกลับมาทบทวนกันใหม่
นอกจากพรรคที่มีทีท่าจะไม่สนับสนุนรัฐบาล กลับกลายเป็นแถวตรง ไม่แตกแถวเลย ในทางตรงกันข้าม พรรคฝ่ายค้านเองกุมเสียงไม่ได้เบ็ดเสร็จ ผลโหวต พ.ร.บ.งบประมาณ 2566 วาระแรก มีเสียงแตกแถวไปถึง 7 เสียง
แม้พรรคเพื่อไทยตั้งธง เช็กบิล 7 ส.ส.ที่โหวตสวนกับมติพรรค วันที่ 13 มิ.ย. เตรียมเชิญ ส.ส.มาชี้แจงถึงเหตุผลในการไม่ปฏิบัติตามมติพรรค ล่าสุดไปๆ มาๆ เพื่อไทยยังไม่มีทีท่า เช็กบิล 7 ส.ส.ที่แหกคอก ไม่ปฏิบัติตามมติพรรค ให้จบในเร็ววัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเข้าทางทั้งพรรคปลายทางที่จะรับ ส.ส.เพื่อไทยไปร่วมงานด้วย และเข้าทางกลุ่ม ส.ส.ที่จะได้มีสิทธิ์อันชอบธรรม ในการไปหาพรรคใหม่สังกัดใน 30 วัน นับแต่ถูกขับออก เกมยื้อของเพื่อไทยกับกลุ่ม ส.ส.แหกมติพรรค จะกินเวลายืดเยื้อไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือนเลยทีเดียว
ไม่ว่าอย่างไร ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย ยังคงต้องถกกันอีกหลายรอบ หลายวง แว่วข่าวในปีกของฝ่ายค้านแต่ละพรรค ไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปราย และข้อมูลเบื้องต้นที่จะใช้ในการอภิปราย
เหตุการณ์ในอดีตยังตามหลอกหลอน รายชื่อรัฐมนตรี เนื้อหาที่จะถูกอภิปราย ที่เป็นความลับสุดยอดของ ฝ่ายค้าน "ข้อสอบรั่ว" ไปถึง ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค รวมไปถึงรัฐมนตรีบางคน ในลิสต์ถูกอภิปราย เตรียมข้อมูล แผ่นชาร์ต ทำกราฟฟิก รายละเอียดมาชี้แจงได้ ตรงเป๊ะ แม้กระทั่งลงในรายละเอียดไปถึงจุดทศนิยม
ผลการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปคงต้องใช้เวลาอีกระยะในการสรุปรวม ดีไม่ดีอาจจะซ้ำรอยในศึกซักฟอกคราวที่แล้ว ไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก่อนวันยื่นญัตติถึงจะสรุปรวมรายชื่อรัฐมนตรีและข้อกล่าวหาได้
ยังไม่ถึงวันยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านประสบภาวะไม่ไว้วางใจกันเองเสียแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
'พท.' เดินหน้าดันร่างแก้ รธน. ไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์
'วิสุทธิ์' เผย 7 ม.ค.นี้ เตรียมขอมติ 'สส.พท.' ชงร่างแก้ รธน. ย้ำสาระสำคัญ ไม่แก้หมวด1-2 ประเมินหากทำแบบสุดโต่ง อาจเกิดขัดแย้งรอบใหม่
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร