จับกระแส ‘vote เชิงยุทธศาสตร์’ ลุ้นเหนื่อย! หวังปาฏิหาริย์

เหลืออีกเพียง 3 วันสุดท้าย ก่อนเข้าคูหากาเลือก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้ว่าฯ กทม. ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดเอาไว้ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.ในรอบ 9 ปี

                    จับกระแสช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ ที่มีการเสนอแคมเปญ “โหวตเชิงยุทธศาสตร์” หรือ “เลือกตั้งอย่างมียุทธศาสตร์” นั้น

จนถึง ณ ตอนนี้ ดูเหมือนว่ากระแสดังกล่าวจะไม่เปรี้ยงปร้างเท่าที่ควร

ถึงขนาด “ดร.เสรี วงษ์มณฑา” นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ออกมาโพสต์แสดงความรู้สึก

“ถึงวันนี้ มั่นใจว่าคงต้องแพ้แน่ๆ ไม่ผิดคาด แม้จะเสียใจที่แพ้ แต่ก็ไม่เสียใจเท่ากับการเห็นสลิ่มด่ากัน แบบไม่ให้เกียรติการตัดสินใจของกันและกัน แม้คนเคยร่วมอุดมการณ์ก็ยังประณามกัน ไม่ชอบบรรยากาศแบบนี้เลยค่ะ"

ก่อนนั้น ดร.เสรี ก็โพสต์อีกข้อความ...

“อีก 6 วัน สิ่งที่กังวลจะเกิดขึ้นเป็นความจริงเชิงประจักษ์ ถึงเวลานั้น ไม่ต้องต่อว่าใคร เพราะสลิ่มไม่อาจตกลงกันได้ ลองหยั่งเสียงดู คำตอบที่ได้ เห็นชัดว่าเสียงแตก”

ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้อย่างชัดเจน

เช่นเดียวกับ กนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรรายการข่าวชื่อดัง ช่อง TOPNEWS ก็ได้โพสต์ข้อความเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. รวมทั้งเชิญชวนให้เปิดชมช่องท็อปนิวส์ในวันอาทิตย์นี้ จะเกาะติดนาทีต่อนาที จนรู้ผลวิเคราะห์ให้เสร็จสรรพ ที่สำคัญช่วงท้าย กนก ได้ทิ้งคำที่น่าสนใจ ที่น่าบ่งบอกถึงสถานการณ์ ณ ตอนนี้เอาไว้

“ด้วยหวังใจว่า จะมีปาฏิหาริย์ กระแสตีกลับ ฉีกหน้าสารพัดโพลในที่สุด”

ยิ่ง เทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นี่ ไม่มีเม้ม ไม่มีกั๊ก ฟันธงฉับ เอากันแบบชัดๆ

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ชูแคมเปญ ไม่เลือกเราเขามาแน่ มุกแป้ก!!!

“...มีการเสนอแนวทางให้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครอย่างมียุทธศาสตร์ นั่นหมายความว่า จากการเมืองที่มี 2 ขั้ว ให้แต่ละขั้วเลือกคนที่มีโอกาสได้มากที่สุดขั้วละคน โดยการเทคะแนนให้ผู้สมัครที่มีโอกาสมากได้รับเลือกมากที่สุด ซึ่งเป็นไปได้ยากจากฐานคะแนนเสียงของคนใน กทม.สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ขั้วการเมืองใหญ่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งสุดท้าย ก็มีการแบ่งฐานคะแนนเสียงอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่เอาทักษิณกับกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ เห็นได้จากผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อ 3 มีนาคม 2556 ที่กลุ่มไม่เอาทักษิณ เทคะแนนเสียงให้กับหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ 1,256,349 คะแนน จนเบียดชนะ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย 1,077,899 คะแนน ที่ได้รับคะแนนสนับสนุนจากกลุ่มที่นิยมทักษิณในโค้งสุดท้ายไปได้

ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ฐานเสียงของกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณมีผู้สมัครอยู่ 2 คน คือ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เบอร์ 8 และคุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 ส่วนฐานเสียงกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ ก็มีผู้สมัครอยู่ 4 คน คือ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เบอร์ 4 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เบอร์ 6 คุณสกล ภัททิยกุล เบอร์ 3 คุณรสนา โตสิตระกูล เบอร์ 7 ซึ่งกลุ่มนี้มีฐานเสียงจากพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตร และกลุ่ม กปปส.

ดังนั้นการเสนอแคมเปญให้เลือกตั้งอย่างมียุทธศาสตร์นั้น น่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะผู้สมัครแต่ละคนก็มีฐานเสียง แฟนคลับ หรือกลุ่มผู้สนับสนุนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งไม่สามารถทำใจไปเทคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ตามแนวทางการลงคะแนนอย่างมียุทธศาสตร์ตามที่ได้ขายความคิดในช่วงนี้ได้ เพราะผู้ลงคะแนนจะเกิดอาการรักพี่เสียดายน้อง กลัวผู้สมัครที่กลุ่มตนสนับสนุนจะได้คะแนนน้อยเกินไป จะเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ทางการเมืองได้

ส่วนตัวเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะใช้ยุทธศาสตร์แบบ “ไม่เลือกเราเขามาแน่” เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ไม่น่าจะสำเร็จ เชื่อว่าคะแนนของผู้สมัครแต่ละคน จะแชร์กันเองในกลุ่มฐานคะแนนของแต่ละขั้ว อยู่ที่ใครจะมีฝีมือดึงคะแนนเสียงในขั้วตัวเองได้มากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ผู้สมัครคนนั้นก็จะเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ ซึ่งสามารถฟันธงได้ว่า ขั้วเอาทักษิณจะได้เปรียบขั้วไม่เอาทักษิณ เพราะมีตัวแชร์คะแนนน้อยกว่า”

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้วิเคราะห์การ vote เชิงยุทธศาสตร์ 10 ข้อ โดยสรุปนั้น ดร.พิชัย ชี้ชัดในปัจจุบันความคิดทางการเมืองของคนกรุงเทพฯ มีความหลากหลายมากขึ้น และประชาชนจำนวนไม่น้อยของกรุงเทพฯ แยกการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ออกจากการเมืองระดับชาติ

 “ดังนั้นในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ จึงมีการพิจารณาคุณสมบัติและนโยบายของตัวผู้สมัครมากกว่าความเชื่อแบบขั้วการเมืองที่ยังดำรงอยู่ในระดับชาติ”

ถ้าจับกระแสศึกชิงเก้าอี้ “ผู้ว่าฯ กทม.” ครั้งนี้ ดูเหมือนโอกาสของตัวเต็งยืนหนึ่งมาทุกโพลจะมีเปอร์เซ็นต์สูงจะคว้าชัยไปได้ กระนั้นเลยก็หาใช่จะปิดประตูสำหรับผู้สมัครรายอื่นจะเบียดแซงโค้งสุดท้าย เพราะหากดูจากผลสำรวจล่าสุดของซูเปอร์โพล เรื่องการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า มีอีก 35.9% ยังไม่ตัดสินใจรอใกล้วันเลือกตั้ง, 27.3% ยังไม่ตัดสินใจ กำลังหาข้อมูล, 25.4% ตัดสินใจแล้ว แต่เปลี่ยนใจได้ และ 11.4% ตัดสินใจแล้ว ไม่เปลี่ยนใจอีก

หาก 3 วันสุดท้ายก่อนเข้าคูหากาหมายเลข ใครมีทีเด็ดมัดใจคนกรุงออกมาแบบโป้งเดียวจอด ตัวเต็งอาจกลายเป็นตัวเกร็ง

ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นได้ใครจะรู้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พ่อบงการ ลูกตามสั่ง

“พ่อบงการ ลูกตามสั่ง” ผ่าน “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” คงไม่เกินเลยความเป็นจริง เพราะเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ มีคำบัญชาผ่านเวทีต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ก็สนองนโยบายทันที โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะขาดความน่าเชื่อถือ และยำเกรงต่อกฎหมายมิให้คนนอกเข้ามาครอบงำแต่อย่างใด”.

ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’

“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน

“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง

ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา

“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”

“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย

47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด

หมดปัญญา...เทวดาต้องรอด

เวลานี้ มีคนบางคนทำผิดกฎหมาย ไม่ให้ค่ารัฐธรรมนูญ บดขยี้กระบวนการยุติธรรมจนป่นปี้ แล้วปรากฏว่าเขาไม่มีความผิดใดๆ ไม่มีหน่วยงานใด ไม่มีกฎหมายมาตราใดจะเอาโทษเขาได้