ว่ากันว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ปฏิทินการเมือง ร้อนระอุ พุ่งเป้าใส่รัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขย่าเก้าอี้นายกรัฐมนตรี สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลเป็นระลอกๆ เริ่มจากการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 การประชุมร่วมพิจารณากฎหมายลูกที่ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวาระ 2-3 และศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ที่ยังมีการมองต่างมุม บ้างก็ว่าควรจะสิ้นสุดสิงหาคม 2565 ขณะที่อีกมุมมองเห็นว่ายังอยู่ได้จนถึงปี 2570 แต่ไม่ว่าอย่างไร ทันทีที่ครบกำหนด ส.ค.65 ตามที่ฝ่ายค้านมองว่าครบวาระตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างแน่นอน
พรรคเพื่อไทยผู้ท้าชิงอำนาจรัฐเพิ่งจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ยังไม่มีโครงสร้างพรรค หัวหน้า เลขาธิการพรรค ตำแหน่งสำคัญๆ รองรับศึกเลือกตั้ง อีกหนึ่งไฮไลต์น่าสนใจ การบรรยายพิเศษของ 4 แกนนำของเพื่อไทย ที่มีการมองกันว่า ใน 4 คนนี้ ตัดออกไปเพียงหนึ่ง น่าจะถูกวางตัวเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย
‘จาตุรนต์ ฉายแสง’ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ‘ชัยเกษม นิติสิริ’ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
แม้หัวข้อบรรยายจะแตกต่างในประเด็นกันไปบ้าง แต่ก็ได้เห็น หมุดหมายของเพื่อไทย ที่ได้เห็นถึงความชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 5 นโยบายของ อุ๊งอิ๊ง 1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจสู่ระดับประชาชน 2.ดึงศักยภาพคนไทยด้วยการใช้ soft power 1 คน ต่อ 1 ครอบครัว 3.ใช้เทคโนโลยี Ai เพื่อการเกษตร เพื่อเกิดการวิเคราะห์แม่นยำ และผลผลิตสูง 4.ปรับเปลี่ยนภาครัฐและภาคเอกชนด้วยระบบ Digital Transformation ครั้งใหญ่ ด้วยการสร้างรัฐบาลดิจิทัล (Platform digital Government) ที่ใช้ได้จริง เพื่อแก้ปัญหาระบบราชการใหญ่โตและคอร์รัปชันมากมาย และขาดประสิทธิภาพ 5.เตรียมคนไทยเข้าสู่ยุค Metaverse โลกเสมือนจริงจะนำโลกที่เป็นจริง
ที่จะมาเป็นนโยบายในการหาเสียงอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพื่อไทยยังติดใจอำนาจอันล้นเกินของกระบวนการยุติธรรมบางหน่วยงาน
ที่สำคัญที่สุด ทุกคนหันมาปักหมุดหมายร่วมกัน สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยต้องแลนด์สไลด์ หรือ ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ให้ได้ 253 เสียง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ได้รับอำนาจรัฐ นอกนั้นก็เป็นวาทกรรม ปลุกขวัญ สร้างกำลังใจให้สมาชิกพรรค แนวร่วม และ ส.ส. เพื่อไทย
ทว่าเป้าหมายแลนด์สไลด์ 253 เสียง สำหรับเพื่อไทยจะเป็นจริง เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ยังมีเรื่องที่ควรนำมาพินิจพิจารณากันอย่างเป็นระบบ แม้พรรคเพื่อไทยมั่นใจนโยบายที่เคยทำมาจับต้องได้ โดนใจประชาชน ตั้งแต่ยุคไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย บวกกับกระแสที่คนเบื่อรัฐบาลประยุทธ์ อยู่ในอำนาจมา 8 ปี แต่กลับไม่ได้ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม อย่างที่เคยให้คำมั่นไว้
องคาพยพที่เกาะเกี่ยว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มีเพียง พรรคพลังประชารัฐ ที่ยังคงตั้งเป้ากวาด ส.ส. เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยังมี พรรคประชาธิปัตย์ รอให้มรสุมเรื่องฉาวผ่านพ้นไป ก็จะมีการจัดองคาพยพพรรคใหม่อีกรอบ ที่พร้อมกู้หน้า ทวงศักดิ์ศรีคืนกลับมา หลังจากเลือกตั้งครั้งที่แล้วเสียรังวัดไปอย่างมาก
ขณะที่ ภูมิใจไทย ก้าวไกล ต่างตั้งเป้าหมายกวาด ส.ส.ไม่ให้น้อยกว่าเดิม ยังไม่นับรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก พรรคที่อยู่ในสนามเลือกตั้งและพร้อมสู้ศึกเลือกตั้งอย่างพรรคพลังชล ที่จะลงสนามอีกรอบ ปักหมุดยึดหัวหาดโซนตะวันออก
พรรคการเมืองน้องใหม่ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคสร้างอนาคตไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ ที่เริ่มขายนโยบาย ชูแคนดิเคตนายกรัฐมนตรี ขอเข้ามาแชร์แต้ม แบ่ง ส.ส.ในสภา ทั้งระบบเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ
โดยเฉพาะไทยสร้างไทย ที่มีแกนนำ หญิงหน่อย-คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, โภคิน พลกุล ถือธงนำ แว่วว่า การลงพื้นที่ การคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง ก็เป็น ตลาดเดียวกับเพื่อไทย ที่พร้อมจะชนกับเพื่อไทยในทุกๆ สนาม เช่นเดียวกับ ส.ส.ที่ใกล้ชิด มีแนวโน้มจะย้ายจากเพื่อไทยไปไทยสร้างไทยก็มีหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ‘กทม. ขอนแก่น อุดรธานี นครพนม’
ขณะที่พรรคภูมิใจไทยภายใต้สองคีย์แมนทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง เสี่ยหนู-นายอนุทิน ชาญวีรกูล, เสี่ยเน-นายเนวิน ชิดชอบ ที่ไม่เพียงปักหมุดรักษาฐานที่มั่นเดิมเอาไว้ให้ได้ อีกขาหนึ่งยังเดินหน้าช็อปปิ้ง ปิดดีล ส.ส.ต่างพรรค โดยเล็งไปในกลุ่มเกรดเอ ที่มาแล้วการันตีมั่นใจจะได้ ส.ส.อย่างแน่นอนอีกกว่า 10 คน และในนั้นส่วนใหญ่เป็น ส.ส.เดิมในค่าย เพื่อไทยเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นโซนอีสาน นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครพนม โซนกลางค่อนไปทางใต้ มีทั้งปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์
นับแต่การเปิดตัว อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ที่จนวันนี้เข้ามาสวมหมวกสำคัญสองใบ ประธานคณะที่ปรึกษาการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม กับหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ขณะที่การถูกวางตัวเป็นหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และการลงส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทย เจ้าตัวกำลังชั่งใจจะพร้อมลงสนามเลยหรือไม่
แต่การเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ของ อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ที่อาจจะเรียกเรตติ้งฐานแฟนคลับ กลุ่มผู้สนับสนุนเพื่อไทยบางส่วนกลับมา แต่ก็มีอีกไม่น้อย พื้นที่ที่ต้องมุ่งเน้นขายตัวบุคคลมากกว่าเกาะกระแสพรรค เพราะในท้ายที่สุด เพื่อไทยยังหนีไม่พ้น ชินวัตรครอบงำพรรค ก้าวไม่ข้ามทักษิณ ไม่ได้มุ่งมั่นเป็นสถาบันการเมืองอย่างแท้จริง ที่อาจนำมาสู่การตัดสินใจย้ายรังหากเกิดการยุบสภา การเตรียมเข้าโหมดเลือกตั้งสมัยหน้า
เป้าหมายเพื่อไทยแลนด์สไลด์ 253 เสียง ความเป็นจริง ปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ คงไม่ง่ายนัก อย่างที่แกนนำหลายคนปักหมุดวาดฝันเอาไว้!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง
การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด
'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ
‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’
ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
‘หมอวรงค์’ ข้องใจหลักคิด ‘ชัยเกษม’ ปม ‘ยิ่งลักษณ์’ บอกเป็นถึงอดีตอัยการสูงสุด
หลักคิดของคุณชัยเกษม ไม่อยากจะพูดว่า เป็นถึงอดีตอัยการสูงสุด ผมเอาประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้อง กับน.ส.ยิ่งลักษณ์มาให้พิจารณา
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน