ปมร้อน “บิ๊กตู่” เตรียมรับมือ สนามการเมืองหลังสงกรานต์

นับถอยหลังเดือนเมษาฯ ก่อนก้าวสู่เดือนพฤษภาคมที่ร้อนระอุมากกว่าหลายเท่า เมื่อสนามการเมืองขยับกันถ้วนหน้า ให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องตั้งรับ โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมเป็นต้นไป มีไทม์ไลน์สนามการเมืองและงานสำคัญๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเผชิญไปจนถึงปลายปี 

ประเดิมด้วยศึกซักฟอกที่กำลังจะเกิดขึ้น จากการเปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม ถึงวันที่ 18 กันยายน 2565 ตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ 

ซึ่งรอบนี้ฝ่ายค้านประกาศเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 มาเป็นอย่างดี โดยจะยื่นอภิปรายทันทีเมื่อเปิดสมัยประชุม ไม่ว่าจะเรื่องงบประมาณ กฎหมายลูก วาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี รวมถึงเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ความล้มเหลวต่างๆ ที่พร้อมจะยกขึ้นมาซักฟอกรัฐบาลได้ทุกเมื่อ พร้อมวางตัวผู้อภิปรายที่อาจใช้คนไม่มาก แต่ขู่ว่ารอบนี้เลือกคนที่มีทักษะขั้นสูงมาขึ้นซักฟอกรัฐบาลด้วย 

การรับศึกซักฟอกรอบนี้ถือเป็นครั้งที่ 4 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ หลังผ่านมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งเกิดแรงกระเพื่อมภายในรัฐบาลไม่น้อย และครั้งนี้ถือเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลก่อนครบวาระ จึงเชื่อว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่บีบรัดให้ พล.อ.ประยุทธ์ต้องหนักใจมากกว่าทุกครั้ง 

นอกจากนี้ในวันดังกล่าวยังตรงกับวันครบรอบ “รัฐประหาร” 22 พฤษภาคม 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารโค่นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ซึ่งนับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย หลังเกิดวิกฤตการเมืองเพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และอิทธิพลของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการเมืองไทย 

จนเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ซึ่งให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา และวันที่ 21 สิงหาคม2557 สภาฯ มีมติเลือก พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน 

ซึ่งในห้วงดังกล่าวต้องจับตาการเคลื่อนไหวของนักประชาธิปไตย และกลุ่มต่างๆ ที่อาจโหนกระแสรวบตึงรัฐบาล ผสมโรงไปกับเวทีสภาที่กำลังจะเกิดขึ้นก็เป็นได้

นอกจากนี้ วันที่ 22 พฤษภาคม ยังเป็นวันเลือกตั้ง “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” ที่ขณะนี้เริ่มตีกลองลงสนามโกยคะแนนเสียงกันแล้ว ซึ่งรอบนี้คาดว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันคึกคัก หลังว่างเว้นการมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมานานถึง 9 ปี อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายจับตาการลงพื้นที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ในช่วงนี้ว่าแฝงโฆษณาเชียร์ผู้สมัครคนใดหรือไม่ และแน่นอนว่าศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งนี้ จะฉายภาพชัดของการเมืองท้องถิ่นไปจนถึงภาพการเมืองใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไปด้วย 

ขณะที่ในปี 2565 ยังมีอีกงานใหญ่ที่ทุกคนจับตา คือประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (APEC 2022) และมีการประชุมที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี โดย พล.อ.ประยุทธ์มั่นใจว่าจะสามารถนำทัพคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่จนครบวาระถึงการจัดประชุมดังกล่าวได้ 

สำหรับไทม์ไลน์ในห้วงการประชุมเอเปกนี้ เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 แล้ว และการประชุมถัดไปที่สำคัญๆ เช่น วันที่ 9-19 พฤษภาคม การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่ 2 (SOM 2) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่กรุงเทพฯ วันที่ 21-22 พฤษภาคม การประชุมรัฐมนตรีด้านการค้า (MRT) ที่กรุงเทพฯ วันที่ 7-21 สิงหาคม การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 3 (SOM 3) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่เชียงใหม่ 

วันที่ 14-20 สิงหาคม การประชุมรัฐมนตรีการท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 11 (TMM) และการประชุมคณะทำงานการท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 60 (TWG) ที่กรุงเทพฯ วันที่ 19-21 ตุลาคม การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปก (FMM) ผ่านระบบออนไลน์ จากนั้นวันที่ 14-19 พฤศจิกายน สัปดาห์ผู้นำเศรษฐกิจเอเปก (APEC Economic Leaders’ Week : AELW) ที่กรุงเทพฯ และวันที่ 18-19 พฤศจิกายน การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก ซึ่งเป็นเวทีใหญ่ที่ พล.อ.ประยุทธ์จะได้ต้อนรับบรรดาผู้นำนานาประเทศอย่างสมเกียรติ

นอกจากนี้ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งเจ้าภาพการประชุมเอเปก ยังเป็นช่วงเดียวกับที่ไทยได้รับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล สำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือบิมสเทค (BIMSTEC) ในปี 2565 ต่อจากศรีลังกา โดยผู้นำของประเทศสมาชิกบิมสเทค ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย 

ซึ่งในช่วงดังกล่าวจะเป็นโอกาสที่ไทยอยู่ในฐานะผู้นำที่ควบคุมทิศทางของกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทั้ง 2 กรอบ จึงเป็นอีกงานใหญ่ที่ท้าทายความสามารถของผู้นำรัฐบาล ก่อนจะครบวาระตามกฎหมาย ในช่วงเดือนมีนาคม 2566 นี้

 คงต้องรอดูว่า พล.อ.ประยุทธ์จะฝ่าฟันฝากหนามและมรสุมไปได้อย่างราบรื่นจนครบเทอมหรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด ‘เอกสารลับ’  เศรษฐา 32 หน้า สู้ยิบตา-โต้ทุกเม็ด วอนศาลรธน. อย่าสอยหลุดเก้าอี้

เปิดเอกสาร’ลับ’เศรษฐา 32 หน้า สู้ยิบตา-โต้ทุกเม็ด วอนศาลรธน.อย่าสอยหลุดเก้าอี้ อึ้ง นายกฯ อ้างไม่มีภูมิหลังการศึกษาด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มีประสบการณ์การเมือง-บริหารราชการแผ่นดินที่จำกัด จึงไม่อาจรู้ได้ว่าพิชิต ขาดคุณสมบัติหรือไม่ การันตี ไปหาทักษิณสามครั้ง  ไม่ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพล

เปิดคำแถลงปิดคดี '40 อดีต สว.' ตอกฝาโลง 'เศรษฐา' 14 ส.ค.

'40 อดีต สว.' ยื่นคำแถลงปิดคดีถึงศาลรธน. ตอกฝาโลงมัด 'เศรษฐา' ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เสนอชื่อทนายถุงขนมเป็น รมต. มั่นใจ 14 ส.ค. หลุดจากเก้าอี้นายกฯ ฐานกระทำการโดยทั้งที่รู้เสี่ยงขัดรธน.

นายกฯ เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม จ.ตราด เร่งฟื้นฟูท่าเรือบ้านคลองมะขาม หลังเจอพายุลมแรง

ผมจะเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป ก็ขอส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ยังคงติดตามเฝ้าระวัง ซึ่งทางท่าน รมว. เกษตรฯ จะลงพื้นที่ไปตรวจราชการด้วยตัวเองเช้านี้

นายกฯ ปลื้มคนไทยแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา อย่างพร้อมเพรียง

นายกรัฐมนตรี ปลื้มประชาชน แสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ก้าวไกลชงนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข ห้ามทำผิดซ้ำ 3-5 ปี แมตช์วัดใจ พท.-ทักษิณ

เดิมที ศุกร์ที่ผ่านมา 26 ก.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน

นายกฯ นำพสกนิกรชาวไทย จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา

นายกฯ และภริยา เป็นประธานพิธีถวายเครื่องราชสักการะ และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567