กมธ.กฎหมายลูกเจอตอ “คำนวณปาร์ตี้ลิสต์” สะดุด

ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.เพิ่งลงมติผ่านไปหมาดๆ ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้จัดตั้งพรรคการเมือง ผลสรุป (ยัง) คงให้ใช้ตามกฎหมายที่บังคับใช้ปัจจุบัน โดยเสียงส่วนใหญ่ในคณะ กมธ.ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ “อนันต์ ผลอำนวย” ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอมา แต่เห็นว่าทางเจ้าตัวและ ส.ส.บางฝ่ายจะขอสู้ต่อ โดยสงวนความเห็นไปอภิปรายในวาระ 2 อีก

อย่างไรก็ตาม ไทม์ไลน์หลังหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ เปิดมาคณะ กมธ.จะประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใหญ่ 2 ประเด็น ได้แก่ การจัดทำไพรมารีโหวต และ “วิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ” ซึ่ง “นพ.ระวี มาศฉมาดล” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ และ กมธ. ออกหน้าแทนพรรคเล็กอีกหลายพรรค คัดค้านวิธีการคำนวณของพรรคใหญ่ เพราะทำให้พรรคเล็กๆ เสียเปรียบ หรืออาจสูญพันธุ์ในการเลือกตั้งเที่ยวหน้า โดยอ้างเหตุผลการคิดคำนวณไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 60 ที่ไม่ต้องการให้เสียงประชาชนตกน้ำ

ตอนนี้ “หมอระวี” ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยว่า บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เป็นโมฆะ เนื่องจากขัดเจตนารมณ์และขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 93, มาตรา 94 หรือไม่

ขณะเดียวกันมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นว่า รัฐธรรมนูญได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบบัตร 2 ใบตั้งแต่ปีที่แล้ว และการพิจารณาของคณะ กมธ.ชุดนี้ ก็ทำเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น

จะเหลือก็แต่การถกเถียงจะคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อย่างไร???

ด้าน “หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่” เคยแถลงข่าวเปิดเผยว่า มี 3 แนวทาง คือ 1.สูตรของพรรคใหญ่ ที่ใช้คะแนนทุกพรรค หารด้วยจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งจะทำให้มีผลลัพธ์คะแนนต่อ ส.ส. 1 คน ที่ 3.7 แสนคะแนน

2.สูตรที่เสนอให้ใช้คะแนนพรรค หารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน เพื่อให้ได้ ส.ส.พึงมี โดยมีคะแนน 7.4หมื่นคะแนน ต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

3.สูตรพรรคเล็ก ให้นำคะแนนทั้ง ส.ส.บวกกับคะแนนพรรค จากนั้นหารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน เพื่อให้ได้ ส.ส.พึงมี โดยจะได้คะแนน 1.5แสนคะแนนต่อ ส.ส. 1 คน

พูดกันง่ายๆ สูตรของพรรคเล็กก็คือระบบจัดสรรปันส่วนผสมนั่นเอง ซึ่งใน กมธ.จำนวนมากเห็นแย้งว่าจะคำนวณตามนั้นได้อย่างไร เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ที่กำหนด ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ออกจากกันอย่างชัดเจน

                    ที่สำคัญ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ....ที่ที่ประชุมร่วมรัฐสภารับมาทั้ง 4 ฉบับ ทั้งของฝ่ายค้าน 2 ฉบับ ของคณะรัฐมนตรี และของพรรคร่วมรัฐบาล มีความชัดเจน บัญญัติไว้ในมาตรา 128 ว่าด้วยวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ “มาตรา 128 (2) ให้นำคะแนนรวมทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับ หารด้วยหนึ่งร้อย ผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน”

                    แต่ๆๆ กมธ.ฟากฝั่ง ส.ว.ส่งเสียงว่า ต้องยึดตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด นอกจากมาตรา 91 แล้ว ในรัฐธรรมนูญยังคงมาตรา 93 และมาตรา 94

เมื่อกางมาตรา 93 อ่าน มาตราดังกล่าวระบุไว้ว่า “ในการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าต้องมีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในบางเขต หรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มีการประกาศ ผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งไม่ว่าด้วยเหตุใด การคํานวณจํานวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคการเมืองพึงมี และจํานวนแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละ ส.ส.พรรคการเมืองพึงได้รับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา 94 ภายใน 1 ปีหลังจากวันเลือกตั้งอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดขึ้นใหม่ เพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้นําความในมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเลือกตั้ง ส.ส.แทนตําแหน่งที่ว่างไม่ว่าด้วยเหตุใดภายหลังพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป มิให้มีผลกระทบกับการคํานวณ ส.ส.ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีตามมาตรา 91

พอยต์สำคัญของ 2 มาตรา คือการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อยังต้องยึดโยงการเลือกตั้ง ส.ส.เขต!!! ฉะนั้น จึงเกิดเป็นคำถามที่ยังไร้คำตอบ ว่าสรุปแล้วหารด้วยจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน หรือ หารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คนกันแน่ แล้วถ้าหาร 500 จะขัดกับมาตรา 91 หรือไม่ กลายเป็นความลักลั่นกันเองของรัฐธรรมนูญ

หลังสงกรานต์ต้องรอเซียนกฎหมายผสานเซียนคณิตศาสตร์สางปมหาทางออก ในทางตรงกันข้าม ถ้ายิ่งแก้ยิ่งยุ่งเป็นลิงแก้แหก็อาจเกิด “เดดล็อกการเมือง”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี