เลือกตั้งซ่อม 'ราชบุรี' ระอุ ม้า 'ประชาธิปัตย์' พร้อม!!

ภายหลังศาลฎีกาพิพากษา "ปารีณา ไกรคุปต์" อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.และบุกรุกป่าสงวนใน จ.ราชบุรี สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ทันที และยังเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต พร้อมกับสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี!!!

จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างตามมา เมื่อ “ปารีณา” โดน นักการเมืองอีกหลายคนที่บุกรุกป่าทำนองเดียวกันนี้ก็รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เพราะทราบว่าในมือของ ป.ป.ช.มีคดีอีกเพียบ เมื่อศาลวางบรรทัดฐานไว้ รายอื่นๆ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

อดีต ส.ส.ราชบุรีเรียกร้องต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช้า และโดนอย่างทั่วถึง โดยเจ้าตัวเริ่มเปิดแผล “ประเสริฐ จันทรรวงทอง” ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่มีการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. และถือครองกรรมสิทธิ์ทับพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เขาคนนี้เรียกได้ว่าในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่แล้วๆ มาเป็นบุคคลที่น่าสนใจ เพราะมีข้อมูลแน่นมากที่สุดคนหนึ่ง

อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นหลังศาลตัดสินอย่างไม่น่าเชื่อ มีข่าวว่าชาวโพธารามจุดประทัดฉลอง!!! เรื่องนี้มีดรามา “เอ๋ ปารีณา” ว่า ระหว่างกำลังเศร้าเสียใจร้องไห้อยู่นั้น เสียงประทัดทำให้เธอเปลี่ยนใจ และจะกลับมาแรงกว่าเดิม 1 ล้านเท่า

แถมยังบอกว่า “ไอ้ขี้แพ้ สอบตกคราวที่แล้วส่งคนมาจุดประทัดแก้บน และเรียกนักข่าวมาทำข่าวว่าเป็นการจุดประทัดฉลองปารีณาจบอนาคต ส่งผลให้ปารีณา #เปลี่ยน แล้วเจอกันนะไอ้ขี้แพ้หน้าตัวเมีย ขอบคุณที่มาเยาะเย้ย และฝากไปทุกคนในพรรคประชาธิปปัตย์ที่จะให้การสนับสนุนมันด้วยว่า แล้วเจอกัน แล้วอย่าไปลากพรรคพลังประชารัฐมาเกี่ยวด้วย เพราะเราไม่เกี่ยวกันอีกต่อไปแล้ว”

ย้อนกลับไปที่ผลการเลือกตั้งใหญ่ ส.ส.ราชบุรี เขต3 อำเภอจอมบึงและอำเภอโพธาราม (ยกเว้นตำบลบ้านฆ้อง ตำบลบ้านสิงห์ และตำบลดอนทราย) พบว่า “ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์” อดีต ส.จ. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 2 โดยได้คะแนน 29,423 เสียง ขณะที่ “ปารีณา” ได้ 46,409 คะแนน ทิ้งห่างกันเกือบ 17,000 คะแนน

แน่นอน เมื่อตำแหน่ง ส.ส.เขต 3 ว่างลง จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งซ่อมเพื่อเฟ้นหาคนใหม่ ในมุมพรรคพลังประชารัฐ ฐานะแชมป์เก่า ชัดเจนส่งคนรักษาเข็มขัด ส่วน “พรรคประชาธิปัตย์” ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลเคยมีกฎรักษามารยาท ไม่ส่งคนชิงกันเอง แต่เมื่อพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้แหกกฎไปแล้ว เรื่องนี้คงจะไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่

แต่ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” หัวหน้าพรรค ก็ยังให้สัมภาษณ์แทงกั๊ก เปิดเผยว่า ต้องรอหารือกับ “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” เลขาธิการพรรค และ “สาธิต ปิตุเตชะ” รองหัวหน้าพรรค ดูแลภาคกลางเสียก่อน อีกทั้งต้องขอเป็นมติพรรคด้วย ทว่ามีรายงานว่า “รมช.สาธิต ปิตุเตชะ” ในฐานะรองหัวหน้าประชาธิปัตย์ เบื้องต้นจะส่ง “อดีต ส.จ.ชัยทิพย์” ชิงตำแหน่ง  

ขณะที่ “ชัยทิพย์” หรือชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ส.จ.เส็ง” ก็มีความเคลื่อนไหว ออกมาตอบโต้ปฏิเสธอยู่เบื้องหลังจุดประทัดฉลองปารีณา หลุด ส.ส.ว่า “ช่างเขาเถอะ ปล่อยให้เขาพูดไปครับ ผมเชื่อเรื่องของเวรกรรมครับ ถ้าผมเป็นคนสั่งการเรื่องการจุดประทัด ผมก็คงต้องพบกับความวิบัติ ตรงกันข้ามหากว่าผมไม่ได้เป็นคนสั่งการ คนที่ใส่ร้ายหรือกล่าวหาผมก็คงต้องพบกับความวิบัติเช่นกัน”

นอกจากนี้เจ้าตัวยังให้สัมภาษณ์ว่า ส่วนตัวพร้อมจะลงสมัคร แต่ขึ้นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่าจะตัดสินใจอย่างไร ก่อนหน้านี้เคยลงเล่นการเมือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเขต อ.โพธาราม มาครั้งหนึ่ง และลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.สองครั้ง ครั้งแรกชนะ แต่ว่าโดนโมฆะไป ส่วนครั้งที่ 2 ครั้งหลังสุดปี 62 แพ้เลือกตั้งโดยได้คะแนนประมาณ 29,500 คะแนน

“ที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือสังคมมาเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้ลง ส.ส. หรือไม่ลงสมัครก็ทำแบบนี้ต่อเนื่อง ได้มีการพบผู้ใหญ่ของพรรคอยู่บ้างแล้ว แต่เป็นช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น และไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้” ชัยทิพย์ อดีต ส.จ.ระบุ                  

ในทางกลับกัน “เทพไท เสนพงศ์” อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช แสดงความคิดเห็นไม่สนับสนุนให้ “ประชาธิปัตย์” ส่งลงเลือกตั้งซ่อมคราวนี้ โดยมีเหตุผล 5 ข้อ คือ 1.เมื่อเคยมีมติไม่ส่งแข่งขันในสนามเลือกตั้งซ่อมเขต 9 กทม.มาแล้ว ก็ควรจะรักษามารยาทนี้ต่อไป โดยไม่ส่งสมัครเลือกตั้งซ่อมเขต 3 ราชบุรีด้วย 2.วาระของสภาชุดนี้ยังเหลือเวลาเพียงแค่ไม่ถึงหนึ่งปี ก็ควรจะเก็บตัวผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์เตรียมพร้อมไว้ลงสู่สนามเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จะได้ไม่ต้องเปลืองตัว เปลืองเงินทุนในการหาเสียง

3.ลดความขัดแย้งหรือการกระทบกระทั่งกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง เหมือนกับการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา ทั้ง 3 เขต เมื่อครั้งที่ผ่านมา 4.เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันระหว่างตัวแทนพรรคฝ่ายรัฐบาล คือพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่กับตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อวัดความนิยมแบบพรรคต่อพรรค

5.สนามเลือกตั้งซ่อม จ.ราชบุรี ถือว่าเป็นสนามที่เป็นกลาง สำหรับทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้านมีฐานเสียงพอๆ กัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ และผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นดัชนีวัดความนิยมทางการเมืองของพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน

มาถึงขนาดนี้แล้ว แม้รัฐบาลจะเหลือเวลาแค่ครึ่งปี ส่งชนให้รู้แล้วรู้รอด วัดกันไปว่าชาวจอมบึง-โพธาราม คิดอะไร กับใคร อย่างไร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่จบ ศึกชิงอำนาจสภาสูง แผนสองกินรวบ ปธ.กมธ.ทุกชุด!

วันอังคารนี้ 23 ก.ค. คาดว่าคงไม่เกินช่วงเที่ยงๆ ก็จะได้รู้กันแล้วว่า ผลการโหวตของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เพื่อเลือก ประมุขสภาสูง-ประธานวุฒิสภา และ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง-รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง รวมสามเก้าอี้ใหญ่สภาสูงจะออกมาอย่างไร

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง