ในที่สุดก็ถึงฤดูกาลการเลือกตั้งที่ชาวกรุงตั้งตารอ นั่นคือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ห่างหายไปนานถึง 9 ปี หลังจากที่มีการเลือกตัังผู้ว่าฯ กทม. ล่าสุดเมื่อปี 3 มี.ค.2557 ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.เปรียบเสมือนพ่อเมืองประจำเมืองหลวงของประเทศไทย อันเป็นแหล่งเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการที่สำคัญของประเทศ รวมถึงเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของประเทศ เพราะงบประมาณแต่ละปีที่ กทม.ได้รับนั้นสูงถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อปี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้สมัครแต่ละคนจะพยายามงัดทุกอย่างเพื่อเก้าอี้พ่อเมืองหลวงไปครอง
แต่ในปีนี้แตกต่างออกไป เพราะว่าในการแข่งขันแทบทุกสนามจะใช้นโยบาย หรือบุคคลเป็นจุดสนใจ แต่ครั้งนี้มีเรื่องป้ายหาเสียงที่บางพรรคพยายามเน้นเรื่องนี้เพื่อเป็นจุดสนใจให้คะแนนนิยมของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดเพียงไม่กี่วัน หลังจากที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้เผยแพร่ป้ายหาเสียงของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครหมายเลข 8 ที่นอกจากจะใช้สีเขียวเป็นสีประจำตัวจนชาวโซเชียลแซวกระหึ่มว่าเป็น Hulk
แล้วป้ายหาเสียงของชัชชาติยังเป็นที่สะดุดตา เพราะเป็นป้ายหาเสียงความยาวปกติ แต่ลดขนาดความกว้างลงมาให้เท่ากับเสาไฟฟ้า ท่ามกลางดรามาของผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ถูกมองว่าจะมาทำให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ แต่ป้ายหาเสียงของผู้สมัครยังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
โดยชัชชาติได้อธิบายกลยุทธ์ของเขาว่า "ป้ายหาเสียงในปัจจุบันมีปัญหาหลายอย่าง นอกจากบดบังสายตาสำหรับผู้ขับขี่แล้ว ยังกระทบถึงคนทั่วไปที่ยืนรอรถเมล์ หากหลายคนช่วยทำป้ายหาเสียงให้เล็กลง การหาเสียงจะสะอาดสะอ้านขึ้น หากผู้สมัครคนอื่นจะทำด้วย ก็มองว่าเป็นไอเดียที่หลายคนเริ่มทำแล้วเช่นกัน เพราะทุกคนอาสามาทำให้เมืองดีขึ้น หากช่วยกันได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี"
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ฝ่ายนักการเมืองคนละขั้วอย่าง เทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "เมื่อคุณชัชชาติได้ใช้รูปแบบป้ายหาเสียง โดยการติดป้ายขนาดเล็กแนวตั้งบนเสาไฟฟ้า ก็มีการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียล และมีการแชร์ภาพกันอย่างแพร่หลาย ถือว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์ในการหาเสียงมาเป็นอย่างดี และขอชื่นชมทีมงานการหาเสียงว่า ได้หยิบฉวยนำรูปแบบของป้ายหาเสียงมาสร้างเป็นกระแสนิยมให้กับผู้สมัครได้พอสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับการติดป้ายหาเสียงของผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ติดป้ายแบบหนาแน่นเรียงรายติดต่อกันหลายป้าย จนมีการขยายผลทางโลกโซเชียล นำป้ายหาเสียงของคุณชัชชาติมาเปรียบเทียบกับป้ายหาเสียงผู้สมัครคนอื่นๆ จนได้รับความชื่นชมและคะแนนนิยมจากรูปแบบป้ายหาเสียงในครั้งนี้ได้ไม่น้อย ผมเห็นว่ามีการโพสต์ทวิตเตอร์โชว์รูปภาพป้ายหาเสียงของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2562 ก็เพียงแค่กระตุกเตือนสังคมให้เห็นว่ารูปแบบการหาเสียงโดยการติดป้ายขนาดเล็กบนเสาไฟฟ้าไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในการหาเสียงของคุณชัชชาติเท่านั้น ปรากฏการณ์แบบนี้เคยนี้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว สังคมจะได้ไม่ต้องตื่นเต้น"
แน่นอนว่า งานนี้ย่อมไม่มีใครยอมใคร ชัชชาติเองก็ไม่ปล่อยให้อีกฝั่งบลัฟเขาแล้วจากไป โดยโต้กลับว่า "ที่ผ่านมาผมไม่เคยพูดว่าผมทำเป็นคนแรก เราทำตามที่คิดว่าเหมาะสมกับการเลือกตั้งในเขตเมือง จึงขออย่าสนใจว่าใครทำก่อน-ทำหลัง หรือเอาป้ายหาเสียงของผมไปเปรียบเทียบกับใคร ซึ่งหากมีใครใช้ป้ายขนาดเล็กเหมือนผมมากๆ มันก็เป็นเรื่องดี จะได้ไม่กีดขวางประชาชน และแสดงให้เห็นว่าเขาเห็นด้วยกับเรา ดังนั้นขออย่านำไปเป็นประเด็นความขัดแย้ง"
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ในทางกฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานครได้ออกประกาศการกำหนดสถานที่ปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ลงวันที่ 28 มี.ค.2565
โดยสรุปคือให้ผู้สมัครปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง จัดทำได้ไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง และแผ่นป้ายหาเสียงเลือกตั้งไม่เกิน 5 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง และติดแผ่นป้ายหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ก. จัดทำและปิดประกาศป้ายหาเสียงมีขนาดความกว้างไม่เกิน 30 เซนติเมตร และมีขนาดความยาวไม่เกิน 42 เซนติเมตร จัดทำและติดแผ่นป้ายหาเสียงเลือกตั้ง มีขนาดความกว้างไม่เกิน 130 เซนติเมตร และมีขนาดความยาวไม่เกิน 245 เซนติเมตร
โดยป้ายหาเสียง ของชัชชาติ ที่ลดขนาดป้ายลง นอกจากไม่ใช้พื้นที่เต็มตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังสอดคล้องนโยบายกรุงเทพฯ สีเขียว โดยได้รับการตอบรับที่ดี ซึ่งผู้สมัครและพรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่ในอดีตอาจไม่ได้ตระหนักมากนัก จนกระทั่งในระยะหลังเริ่มมีการลดขนาดป้ายลง เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับกระแสลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้ทรัพยากร
ทั้งนี้ ในประเด็นนี้ไม่ว่าใครจะเริ่มก่อนหรือหลังก็ล้วนคือป้ายหาเสียงที่มีคุณภาพทั้งสิ้น แต่ถ้ามองกลับกันป้ายหาเสียงที่ไม่มีคุณภาพมีลักษณะแบบไหน หลักๆ คือป้ายที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการหรือประชาชน กีดขวางทางสัญจร การจราจร เรื่องนี้เห็นได้จากทุกยุคทุกสมัย
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติไปจนถึงการเลือกตั้ง อบต. ยิ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นดรามา ที่ป้ายของอดีต ผู้ว่าฯ อัศวิน ขวัญเมือง ปิดประกาศเต็มพื้นที่ฟุตบาทกว่า 11 ป้าย ในแยกแห่งหนึ่งจนบดบังทัศนวิสัย จนโดนทัวร์ลงและต้องปรับแก้ป้ายให้ขนาดเล็กเหมือนที่ ชัชชาติ หรือที่ประชาธิปัตย์ได้ทำ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเกิดจากความสะเพร่าของทีมงานผู้สมัครเอง
สิ่งที่ผู้สมัครต้องพึงสังวรคือ ตัวป้ายนั้นเรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญพอๆ กับนโยบายบนป้าย เพราะนอกจากป้ายจะบ่งบอกวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองของผู้สมัครคนนั้นแล้ว ป้ายหาเสียงก็บ่งบอกถึงความเรียบร้อย ความสะอาดได้เหมือนกัน ทำให้ประชาชนที่ยังไม่รู้จะเลือกใครก็ทำให้มีตัวเลือกในหัวขึ้นมาทันใด!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’
ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร