7 เม.ย.ชี้ชะตา "เอ๋-ปารีณา" ได้กลับสภาฯ หรือหลุด ส.ส.

เส้นทางชีวิตการเมืองของนักการเมืองหญิงคนดังในยุคโซเชียลมีเดีย เอ๋-ปารีณา ไกรคุปต์ หรือเอ๋ โพธาราม ส.ส.ราชบุรี 4 สมัย พรรคพลังประชารัฐ หัวหอกกองเชียร์ลุงตู่-ลุงป้อม ที่ทำให้มีทั้งคนรักคนชังมากมายทั่วประเทศ กำลังเดินมาถึงจุดสำคัญในชีวิตทางการเมือง

เพราะวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน เวลา 10.30 น. จะเป็นวันชี้ชะตาสำคัญว่า เอ๋ ปารีณา จะได้กลับเข้าสภาฯ ในฐานะ ส.ส.อีกครั้งหรือไม่? หลังถูกศาลฎีกาสั่งให้หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่การเป็น ส.ส.มาตั้งแต่ 25 มีนาคม 2564 หรือร่วม 1 ปีมาแล้ว

จากผลพวงเรื่องถูกร้องเรียนให้ตรวจสอบกรณีครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบ ในพื้นที่ ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี จำนวน 711 ไร่ จนต่อมาถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ที่มีการชี้มูลความผิดใน 2 ข้อหา คือ เป็น ส.ส.กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือที่เรียกว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็น ส.ส.กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย

หลังผลการไต่สวนของ ป.ป.ช.ตามคำแถลงอย่างเป็นทางการ ป.ป.ช.ระบุว่า ที่ดินเจ้าปัญหาดังกล่าว ในช่วงปี 2545-2546 นายทวี ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี บิดาของ เอ๋ ปารีณา ได้เข้ามาประกอบกิจการเลี้ยงไก่ และระหว่างการครอบครองต่อมา ปารีณาก็เข้ามาเป็นผู้ซื้อขายไฟฟ้าเพื่อใช้ประกอบกิจการปศุสัตว์ดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า น.ส.ปารีณาเข้ามายื่นคำขอใช้ที่ดินปฏิรูป แต่กลับมีพฤติการณ์ถือครอง และกระจายการถือครอง ก่อนดำเนินการถือครองในชื่อของ น.ส.ปารีณาอีกครั้ง

ป.ป.ช.จึงเห็นว่า พฤติการณ์ของปารีณาต้องการหลีกเลี่ยงมิให้ที่ดินดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เพื่อประโยชน์ของธุรกิจตนหรือผลประโยชน์ส่วนตัวแต่ฝ่ายเดียว ไม่ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

โดยก่อนหน้านี้ นิวัติไชย เกษมมงคล โฆษก ป.ป.ช. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงมติ ป.ป.ช.ที่ชี้มูลปารีณาในคดีนี้ไว้ว่า สิ่งที่ปารีณากระทำการมีเจตนาที่ต้องการหลีกเลี่ยงมิให้ที่ดินดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เป็นการปิดโอกาสหรือหวงกั้นมิให้บุคคลอื่นเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน มุ่งแสวงหาประโยชน์จากที่ดินของรัฐ เพื่อประโยชน์ของธุรกิจตนหรือผลประโยชน์ส่วนตัวแต่ฝ่ายเดียว แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ยึดถือระเบียบหลักเกณฑ์กฎหมาย และไม่ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย

"การกระทำของปารีณา ผู้ถูกกล่าวหา ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2562 ข้อ 11 และข้อ 17"

จากนั้นคดีดังกล่าวก็ดำเนินไปโดย ป.ป.ช.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้รับคำร้องและมีคำสั่งให้ปารีณายุติการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. และใช้เวลาไต่สวนคำร้อง โดยมีพยานฝ่ายผู้ร้องคือ ป.ป.ช. และผู้ถูกร้องคือ เอ๋ ปารีณา เข้าเบิกความสู้คดีกันตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งฝ่ายปารีณาและทนายความ ได้นำพยานขึ้นสู้คดีร่วม 10 ปาก ซึ่งเป็นทั้งเจ้าของที่ดินเดิม-เจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เพื่อยืนยันต่อศาลว่า ไม่ได้บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนตามที่ถูกกล่าวหา แต่เป็นการรับมรดกที่ดินส่งต่อมาจากบิดานายทวี ไกรคุปต์ ตั้งแต่ก่อนที่จะประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน

สุดท้าย วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายนนี้ จะได้รู้กันว่าองค์คณะของศาลฎีกาจะตัดสินคดีนี้ออกมาอย่างไร?

โดยหากศาลฎีกาเห็นว่า "เอ๋-ปารีณา" ไม่ได้มีพฤติการณ์ตามสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.ก็คือยกคำร้อง ปารีณาคงดีใจสุดชีวิต เพราะจะได้กลับมาเป็น ส.ส.เต็มตัวอีกครั้ง และจะทำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ ส.ส.กลับคืนมาอีก 1 เสียง ไว้คอยโหวตสู้กับฝ่ายค้านตอนศึกซักฟอกกลางปีนี้ แต่หากออกมาตรงกันข้าม คือศาลฎีกาตัดสินว่าปารีณามีพฤติการณ์ตามคำร้อง คือเห็นว่าฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง มีการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม ก็จะเป็นข่าวร้ายของปารีณา และพลังประชารัฐ ที่ต้องไปดูว่าในคำพิพากษาของศาลฎีกาจะอออกมาอย่างไร เพราะตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 81 บัญญัติว่า

“หากศาลฎีกาฯ พิพากษาว่ามีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น และจะเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปีด้วยหรือไม่ก็ได้ หากผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง จะไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ”

ที่ก็คือ ถ้าเธอได้ข่าวร้าย นอกจากทำให้ปารีณาหลุดจาก ส.ส.แล้ว ยังต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตลอดไป ไม่สามารถลงเล่นการเมืองได้ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น และทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมที่ราชบุรีตามมาทันที

พฤหัสบดีที่ 7 เมษายน เอ๋ ปารีณา จะได้ข่าวดีหรือข่าวร้าย FC แฟนคลับเจ๊เอ๋รอติดตามกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไลน์กลุ่ม สส.พปชร. โวย 'สามารถ' ทำพรรควุ่นวาย จ่อคุยบิ๊กป้อมหาทางแก้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคพลังประชารัฐ ต่อกรณีนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม เคลื่อนไหวเชิงตำหนินายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลออกสื่ออย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงบทบาทของนายสามารถในพรรคพลังประชารัฐในระยะหลังโดยเฉพาะการชักชวนนายวัน

ก้าวไกลชงนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข ห้ามทำผิดซ้ำ 3-5 ปี แมตช์วัดใจ พท.-ทักษิณ

เดิมที ศุกร์ที่ผ่านมา 26 ก.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน

‘ไผ่ ลิกค์’ ยัน พปชร. ไร้ความขัดแย้ง สส.ยังทำหน้าที่เต็มที่เพื่อประชาชน 

‘ไผ่ ลิกค์’ ยืนยัน พปชร.ไร้ความขัดแย้ง สส.ยังทำหน้าที่เต็มที่เพื่อ ปชช.  ส่วนกรณีปล่อยเพลงลุงป้อม เป็นเพียงการจัดทำโดยบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค ย้ำการทำงาน ต้องผ่านความเห็นกรรมการบริหาร ใช้แนวทางทำงานกับคนหมู่มาก ที่ต้องเคารพซึ่งกันและกัน

“ลุง”กับ“อา”ใจถึงพึ่งได้ เฮือกสุดท้ายใน”บ้านป่า”?

“เปิดต้อนรับนักการเมืองเทรนด์เดียวกัน ที่รสนิยมในเรื่องของ พรรคพวก เพื่อนฝูง พี่น้อง ต้องมาก่อน เรื่องคำมั่นสัญญา การไม่หักหลังกัน เปรียบเหมือน ปฏิญญา-กฎเหล็ก ในการคบหากันของแวดวงคนใจนักเลง”

“อนุทิน-ภท.” “พยัคฆ์ติดปีก”

กรณีสถานการณ์ “กัญชา” พลิกจากเดิมที่จะถูกดึงกลับไปเป็นยาเสพติด หักนโยบายพรรคภูมิใจไทยสร้างมา เป็นการออก พ.ร.บ. เพื่อใช้เฉพาะทางการแพทย์ วิจัย เศรษฐกิจเท่านั้น

'สส.ภูมิใจไทย' รับสายแทบไม่ทัน หลังโผล่ พปชร. ยังไม่คิดย้ายพรรคเป็นเรื่องอนาคต

นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ชี้แจงภายหลังไปปรากฏตัวที่พรรคพลังประชารัฐ โดยนำกุ้งกระบี่ไปให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ว่า ยืนยันว่าไม่มีนัยยะทางการเมือง