วิบากกรรม'หนีคดี-รุกป่า' สะเทือนเลือกตั้งสนามเล็ก

เหลือเวลาแค่ 48 วันที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพฯ รวมถึงนายกฯ เมืองพัทยา ที่มีเวลาโฆษณาหาเสียงขายนโยบายกับประชาชน

แต่โฟกัสหลักยังอยู่ที่ว่าใครจะผู้ที่ได้นั่งเก้าอี้ “ผู้ว่าฯ กทม.” ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่บ่งชี้ทิศทางการเมืองในสนามการเมืองใหญ่ได้ชัดขึ้น

กลายเป็นประเด็นบั่นทอนตัวเองในช่วงสู้ศึกสนามเล็ก  ที่ฝ่ายตรงข้ามคงงัดไปใช้เปิดแผล-ย้อนตรรกะที่เคยวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นว่าได้รับอภิสิทธิ์ทางกฎหมายในเรื่องทำนองนี้มาก่อน

อย่างที่เห็นว่าแต่ละฝ่ายเลือกใช้ “กลยุทธ์” ที่ต่างกัน บางคนเลือกใช้ชื่อชั้นของ “พรรคการเมือง” ในการดึงคะแนนเสียงของ “โหวตเตอร์” ที่นิยมพรรคนั้นๆ และบางฝ่ายเลือกใช้สถานะผู้สมัคร "อิสระ” เพื่อสร้างพื้นที่การตัดสินใจให้กับประชาชนที่ “เบื่อหน่าย” กับการแบ่งค่าย-สีเสื้อ 

ภาพรวมของการชูนโยบายคือ การใช้ “จุดแข็ง” ของตัวเองในการตรึง “แฟนคลับ” ของตัวเองไม่ให้เปลี่ยนใจไปเลือกตัวเลือกอื่น ถึงค่อยก้าวไปสู่การดึงคะแนนเพิ่มเติมจาก “พลังเงียบ” ที่รอเผยตัวในช่วงโค้งสุดท้าย

ย้อนดูปัจจัยในอดีตที่มักทำให้ “ล็อกถล่ม” จนผู้สมัคร “ตัวเต็ง” ไม่ได้รับชัยชนะ คือยุทธวิธีทำ สงครามข่าวสาร ของฝ่ายตรงข้ามในการออกมาเปิดจุดอ่อนของคู่ต่อสู้

อีกปัจจัยคือ ทุกกลุ่มการเมืองไม่เลือกการสู้แบบจับมือเป็นพันธมิตร หลีกทางให้คนที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน แต่เลือกลงสมัครกันทุกพรรค ทุกกลุ่ม ส่งผลให้เกิดการตัดคะแนนกันเอง จนทำให้มีการวิเคราะห์ว่าผู้ที่ได้คะแนนนิยมในโพลแบบสูงลิ่ว อาจจะถูกหารเสียงจากฝ่ายที่เรียกตัวเองประชาธิปไตยออกไป

เมื่อหันไปพิจารณาการเปิดตัวของ ผู้ว่าฯ อัศวิน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ที่พยายามชู “กรุงเทพฯ ไปต่อ” ขายภาพลักษณ์นักปฏิบัติที่ทำงานได้จริง “ไม่ขายฝัน” ปมประเด็นที่ถูกงัดมาโจมตีก็หนีไม่พ้นประวัติการเป็น “ลมใต้ปีก” ให้ กปปส. เป็นคนของฝ่ายรัฐบาล มี “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็น “แบ็กอัป” หากเลือกไปก็คงไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลง

แต่อย่าลืมว่า “อัศวิน” อยู่ในองคาพยพของ กทม.มา 5 ปี เข้าใจธรรมชาติของคนและองค์กร มีเครือข่ายชุมชนต่างๆ ค่อนข้างมาก จึงมีการมองว่า ถ้าอีกฝ่ายสู้กันเองก็มีโอกาสที่จะคว้า “ชิ้นปลามัน” ไปได้ เพราะเสียงสนับสนุน ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสด์ จากพรรคประชาธิปัตย์แผ่วไปมาก

ขณะที่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล ที่ไม่เลือกต่อสู้ในจุดแข็งของคนอื่น หันไปหยิบจับประเด็นเชิง “จุดยืน” ของพรรคก้าวไกล เพื่อตอกย้ำนโยบายของพรรคให้กับ “โหวตเตอร์” คนรุ่นใหม่ที่คลั่งไคล้ในประชาธิปไตย มั่นใจว่าพรรคไม่เคยเปลี่ยนอุดมการณ์ทางการเมือง

แต่ก็ใช่ว่า “คนวัยทำงาน” จะถูกจริตกับ “วิโรจน์” ที่มีบุคลิกดุดัน เป็นนักตรวจสอบมากกว่านักบริหาร เมื่อต้องเข้าไปบริหารงานกับข้าราชการ หรือประสานงานกับรัฐบาลจะทำให้งานเดินไปได้หรือไม่ และหากมีการชุมนุมของกลุ่มการเมือง หรือม็อบ 3 นิ้ว ฝ่ายรัฐต้องจัดกำลังในการรักษาความสงบ แต่ผู้ว่าฯ สั่งรถส้วมไปสนับสนุนคงดูวุ่นพิลึก ไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นกับกรณีของ กปปส. กับ “อัศวิน ขวัญเมือง” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม. กลายเป็นความวุ่นวายที่คนกรุงเทพฯ คงไม่ต้องการให้เกิดอีกแล้ว

ครั้นจะปรับ “บุคลิก” ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตัวตน “วิโรจน์” เป็นเช่นนั้น เลยต้องใช้บริการของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประธานคณะก้าวหน้า ในการดึงแฟนคลับ “สามนิ้ว” ไม่ให้ปันใจไปเลือกนักวิชาการ-นักบริหารอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครในเงาของพรรคเพื่อไทย

แม้ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” จะเดินหน้าช่วย “วิโรจน์” อย่างสุดตัว ยืนยันว่า “พรรคก้าวไกล” เลือกคนถูก พร้อมประกาศถือธงคณะก้าวหน้าในการสู้ศึกที่ “พัทยา” แต่ดูเหมือนว่าจังหวะไม่ค่อยดี จากปัญหาพัวพันจากคดีความของคนในครอบครัว กลายเป็นเงา “ไล่ล่า” ย้อนตรรกะการตรวจสอบฝ่ายที่ตัวเองที่ยึดหลักการความถูกต้อง ไม่ใช้กฎหมายสองมาตรฐาน

จากกรณีที่ “เจ๊สมพร” มารดาของ “ธนาธร" ออกมาตัดพ้อ แสดงความเสียใจ ที่สังคมและสื่อนำเสนอข่าวทำนองว่าตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจรุกที่ป่า ด้วยคำอธิบายเรื่อง “เจตนา” เหมือนเช่นที่นักการเมือง ผู้มีอำนาจ มักใช้อธิบายความเรื่องการซื้อที่ดินจากคนอื่น

กลายเป็นประเด็นบั่นทอนตัวเองในช่วงสู้ศึกสนามเล็ก ที่ฝ่ายตรงข้ามคงงัดไปใช้เปิดแผล-ย้อนตรรกะที่เคยวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นว่าได้รับอภิสิทธิ์ทางกฎหมายในเรื่องทำนองนี้มาก่อน

หันมาดูทางพรรคเพื่อไทยที่มุ่งเน้นไปที่เก้าอี้ ส.ก.และพร้อมเทเสียงให้ "ชัชชาติ” ก็ต้องปลุกเร้าสมาชิกให้เกาะกลุ่ม เหนียวแน่น ไม่แตกตัวไปอยู่กับพรรคเกิดใหม่ ด้วยการกำหนดเกมให้ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวคนเล็กของ “ทักษิณ ชินวัตร” หรือ “โทนี่” ที่กำลังหลบหนีคดีทุจริตในต่างประเทศมาเปิดตัวพูดถึงแนวทางนโยบายต่างๆ และหวังดึงคะแนนเสื้อแดงวัยโจ๋ที่กลายพันธุ์เป็นติ่งส้มไปหมด

เพราะถ้าพูดถึง “พรรคก้าวไกล” คงมองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาด และเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มและความเป็นไปได้ รวมไปถึงบรรยากาศที่เป็นอยู่ในเวลานี้ยิ่งผลสำรวจ “นิด้าโพล” ล่าสุดที่เพิ่งออกมากลายเป็นว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้รับความนิยมแซงหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นครั้งแรก

แต่ผลสำรวจดังกล่าวมันสะท้อนผลทางการเมืองหลายอย่าง โดยเฉพาะการคุยคำโตเรื่องการชนะเลือกตั้งแบบ “แลนด์สไลด์” ของนายทักษิณ ชินวัตร ที่วาดฝันเอาไว้อาจไม่เป็นไปตามฝัน แต่อย่างน้อยในสถานการณ์เฉพาะหน้าจะที่ส่งผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกลส่งผู้สมัครลงชิงเก้าอี้ ขณะที่พรรคเพื่อไทยทำได้เพียงแค่แอบข้างหลังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ ที่เคยเป็นแคนดิเดตนายกฯ ในนามพรรคเท่านั้น

ยิ่ง "บุตรสาว” กลายเป็นเป้าโจมตี “ทักษิณ” เริ่มออกอาการดิ้นพล่าน ใช้ความคุ้นเคยในการเป็นเจ้าของ “บริษัท” เฟ้นหาพนักงานบริษัทฝีปากกล้ามาทำหน้าที่ รปภ.ดูแลปกป้องบุตรสาว โดยที่ตัวเองยังคงอยู่ในสถานะนักโทษหนีคดี ที่สร้างวิมานในอากาศให้กับลูกหาบภายในพรรคเชื่อว่า “กระแสทักษิณ-ดีเอ็นเอแม้ว” ยังใช้การได้

การตั้งโต๊ะแถลงของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทย สวมบทคุณลุงปกป้องหลาน “เล่นเบอร์ใหญ่ ไฟกะพริบ” อัดกลับ “เทพไท เสนพงศ์” อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ “วันชัย สอนศิริ “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่บังอาจมาแตะ “อุ๊งอิ๊ง”

แต่ที่น่าสนใจคือการเตรียมอภิปรายนอกสภา ตั้งวงวิพากย์ “บิ๊กๆ” พรรคร่วมรัฐบาล หน้าศาลาว่าการ กทม. หวังสร้างแรงสั่นสะเทือนในช่วงการเมืองร้อน ตั้งแต่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไปถึงการแข่งขันเลือกตั้งผู้ว่าฯ เพื่อสุมไฟให้ล้มการเมือง “ขั้วลุงตู่”

พร้อมๆ ไปกับงานสำคัญที่ได้รับมอบหมายในการช่วย ส.ก.ลงพื้นที่หาเสียงด้วยอีกแรง เพราะไม่ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ไม่ได้เป็น ส.ส. จึงสามารถลุยหาเสียงช่วยได้อย่างเต็มที่ ตั้งเป้ากวาด ส.ก.ให้ได้เกินกึ่งหนึ่ง จากทั้งหมด 50 เขตเลือกตั้ง 

นับเป็นการแก้เกมการเมืองของ “อดีตนักโทษหนีคดี” ที่มีไพ่ในมือไม่มากนัก แถมยังต้องห่วงหน้า-พะวงหลัง เกรงบุตรสาวจะสะดุดกลางทางก่อนจะถึงการต่อสู้ในสนามใหญ่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง คาดว่าต่างฝ่ายต่างเร่งงัดกลยุทธ์ในการ "หาเสียง” กันหนักหน่วง เพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะให้ได้ ทั้งการขุดเบื้องหลัง ประวัติการเมืองด้านลบของฝ่ายตรงข้ามออกมาเรื่อยๆ ที่สำคัญคือ “ช่องว่าง” ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่มักจะใช้เป็นเครื่องมือเตะตัดขาอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อเข้าตาจน

ที่ฟันธงได้แน่ๆ คือศึกเมืองกรุงครั้งนี้ “ดุเดือด-เลือดพล่าน” สมกับการรอคอย!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รอดยากป.ป.ช.จ่อฟัน อดีต44สส.พรรคส้ม แต่อาจพ้นผิดที่ศาลฎีกา!

ศึกซักฟอกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเดือนมีนาคม ที่มีพรรคประชาชน เป็นหัวหอกหลักของฝ่ายค้านในการนำทัพ ไล่บดขยี้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร

'เพื่อไทยวิธี'ตลบตะแลงแก้'รธน.' แอบหลังสว.-ทำสภาล่ม-ยื่นศาล

ก่อนหน้านี้ไม่เพียงแค่พรรคประชาชน (ปชน.) จะมุ่งมั่นแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเท่านั้น ยังมีพรรคเพื่อไทยที่มีความขึงขังไม่แพ้กัน โดยยื่นร่างแก้ไขประกบเว้นการแก้หมวด 1 และหมวด 2

ยุบสภา! พรรคประชาชน เสนอเปรี้ยง หลังพ่ายเกมแก้ รธน.

คณะสส.พรรคประชาชน ควันออกหู! เมื่อร่างแก้ไขเพิ่มเติม รธน. หวังเปิดประตูสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค้างเติ่งในสภาฯ ซัดเพื่อไทยไม่มีความจริงใจ เสนอเปรี้ยง นายกฯแพทองธาร ควร 'ยุบสภา' คืนเสียงประชาชน

สัญญาณริบหรี่! แก้รธน.ถึงทางตัน-ล่มซ้ำ หรือไปต่อ?

รัฐสภามีกำหนดประชุมร่วม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ซึ่งเป็นการเปิดประตูสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

‘สุชาติ’นั่ง‘ประธานป.ป.ช.’สมบูรณ์ ทำ‘บิ๊กโจ๊ก’แตะเบรก ตั้งหลักใหม่?

ถือเป็นคลิปสะเทือนแวดวงการเมือง องค์กรอิสระ และกระบวนการยุติธรรม หลังมีการเผยแพร่คลิปการนั่งสนทนากันระหว่าง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และบุคคลอื่นๆ ที่กล้องไม่สามารถจับได้

เพื่อไทยย้อนแย้ง? ชงแก้รธน. แต่หนุนส่งศาลตีความ 'ภูมิธรรม' ปัดใช้แทคติก

'ภูมิธรรม เวชยชัย' อ้างเพื่อไทยตรงไปตรงมา ไม่เล่นเกมการเมือง หลังมี สส.พรรคลงชื่อหนุนญัตติของ 'หมอเปรม' ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความประชามติแก้รธน. สังคมข้องใจทำไมเพื่อไทยเสนอร่างแก้รธน.เอง แต่กลับร่วมส่งศาลตีความ