เสียงปี่เสียงกลองลั่นอย่างเป็นทางการ สำหรับศึกเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) วันแรกในการเปิดรับสมัคร เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ณ อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง
โดยมีผู้สมัคร ส.ก.รวมทั้งสิ้น 343 คน คน ใน 50 เขต ส่วนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม.จำนวน 20 ราย ดังนี้้
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หมายเลข 1 พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล หมายเลข 2 นายสกลธี ภัททิยกุล หมายเลข 3 ศ.ดร.สุชัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หมายเลข 4 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ หมายเลข 5 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง หมายเลข 6 นางสาวรสนา โตสิตระกูล หมายเลข 7 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หมายเลข 8 นางสาววัชรี วรรณศรี หมายเลข 9 ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ หมายเลข 10 น.ต.ศิธา ทิวารี หมายเลข 11 ดร.ประยูร ครองยศ หมายเลข 12 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ หมายเลข 13 นายธเนตร วงษา หมายเลข 14 พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที หมายเลข 15 น.ส.ศศิกานต์ วัฒนจันทร์ หมายเลข 16 นายอุเทน ชาติภิญโญ หมายเลข 17 น.ส.สุมนา พันธุ์ไพโรจน์ หมายเลข 18 นายไกรเดช บุนนาค หมายเลข 19 และ นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ หมายเลข 20
อย่างไรก็ตาม แม้รอบนี้จะมีบุคคลมากความสามารถสนใจชิงตำแหน่งหลายคน แต่พอแยกได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 6 คนที่เป็นตัวเต็งดังนี้
กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้สมัครในนามอิสระ จับสลากได้หมายเลข 8 เป็นหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ต้องยอมรับว่าเขาคือเต็งหนึ่งของแมตช์นี้
สำนักโพลจากสถาบันต่างๆ ออกสำรวจความนิยมในกลุ่มประชาชนตามช่วงเวลาต่างๆ อดีต รมว.คมนาคม ชัชชาติ ยังคงกินขาดแทบทุกโพล ซึ่งเขาก็ไม่ได้ตายใจ ทุกวันนี้ยังคงดำเนินกิจกรรมขอเสียงสนับสนุนจากคนกรุงเทพฯ ให้เลือกเขาเป็น "พ่อเมือง กทม." คนต่อไป
ตามด้วย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครในนามพรรคก้าวไกล เบอร์ 1 เที่ยวนี้พรรคส่งชิง ส.ก.ด้วย รายนี้เป็นม้ามืดตัวหนึ่งที่อย่าประมาท เพราะเขาคือขวัญใจคนรุ่นใหม่ และพวกกลุ่มเฟิสต์โหวตเตอร์ และมีฐานเสียงสนับสนุนอย่างชัดเจน เหนียวแน่น
ปิดท้ายที่ น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครในนามพรรคไทยสร้างไทย เบอร์ 11 อดีตนักบินเอฟ 16 ที่ช่วยงานเบื้องหลังให้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรค ครั้งนี้ได้ฤกษ์ออกมาอยู่หน้าฉาก และไม่พลาดที่จะส่ง ส.ก.ด้วยเช่นกัน
ส่วนอีกกลุ่ม ประกอบด้วย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจาก กลุ่มรักษ์กรุงเทพ เบอร์ 6 ในวันรับสมัครเป็นกลุ่มที่ขนทีม ส.ก. และกองเชียร์มาอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง คึกคักที่สุดในบรรดาผู้สมัครทั้งหมด แต่งกายสีสันพร้อมป้ายหาเสียงพร้อมที่สุด และหากยังจำกันได้ วันเปิดตัวแถวฝั่งธนบุรี ถัดมาวันรุ่งขึ้นในแต่ละเขตติดป้ายหาเสียงชนิดเสาเว้นเสา
ทว่า ด้วยความพรรคพวกเยอะก็มีกองหนุนสำคัญอย่างกลุ่ม กปปส.เก่าออกหน้าเชียร์ด้วย แต่ไม่วายเกิดดรามาเล็กๆ ขึ้น เมื่อ "ถาวร เสนเนียม" อดีต ส.ส.สงขลา และอดีตแกนนำ กปปส. ให้เหตุผลที่สนับสนุน "อัศวิน" ว่าเป็นเพราะสมัยเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาคนนี้ให้การดูแลเป็นอย่างดี
แต่เมื่อไปสอบถามกับ อดีตผู้ว่าฯ อัศวิน กลับปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ทั้งยังบอกด้วยว่า "ตอนนั้นเป็นผู้บัญชาการนครบาล ก็ต้องดูแลทุกสี อย่าเอาไปยึดโยง กปปส.คืออะไร ยังไม่รู้เลย" จากนั้นไม่นาน "ลูกหมี"-ชุมพล จุลใส อดีตส.ส.ชุมพร และแกนนำแนวหน้า กปปส.อีกคน ก็มีปฏิกิริยาทันทีว่า "ใครๆ ก็ไม่รู้จัก กปปส. 555 ไม่รู้จักไม่ว่า แต่อย่าความจำสั้น"
ข้ามมาที่ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 4 เจ้าตัวมาแนวลูกอ้อนคนกรุงเทพฯ ตีความเลข 4 เป็นหัวใจทั้งสี่ห้อง และขอยกให้พี่น้องชาวกทม. ตั้งแต่เปิดตัวมา "ดร.เอ้" ถูกพูดและโดนโจมตีมากที่สุด เริ่มเปิดแผลโดยการตั้งคำถามถึงที่มาของทรัพย์สิน
จากนี้ไปกระบวนการใต้ดินคงมีเรื่องอื่นๆ เตรียมไว้ให้ ทีม "เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้" ปวดหัวตามแก้ไม่จบแน่นอน คงต้องขึ้นอยู่กับประชาชนแล้วละว่าจะตัดสินใจอย่างไร เพราะแม้โดนปั่นมาก แต่เจ้าตัวก็ยังเดินหน้าลงพื้นที่ศึกษาปัญหาทั้ง 50 เขตในกรุงเทพฯ เขาเคลมว่าเดินมาแล้ว 1,000,000 ก้าว
อีกคนที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ สกลธี ภัททิยกุล ลาออกจากการเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. เพื่อมาลงผู้สมัครผู้ว่าฯ ในนามอิสระ เบอร์ 3 (แต่ไม่สามนิ้ว) ก่อนนั้นเคยเป็น ส.ส. แล้วไขก๊อกมาเป็นแกนนำร่วมขบวนการ กปปส.อีกคนหนึ่ง
ฉะนั้น สาวกนกหวีดที่อกหักจาก "บิ๊กวิน-อัศวิน" ที่ไม่ค่อยอยากจะนับญาติด้วย ก็ยังหันมาเทคะแนนให้กับ "จั้ม" -สกลธี ได้เสมอ วันนี้เพื่อนๆ ร่วมอุดมการณ์ ทั้งสุเทพ เทือกสุบรรณ และ "ลูกหมี" ชุมพล ต่างโพสต์เฟซบุ๊กให้กำลังใจยืนเคียงบ่าเคียงไหล่แล้ว
นับจากนี้ สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ผู้สมัครแต่ละค่าย แต่ละก๊ก จะเคลื่อนไหวอย่างเต็มกำลังสุดแรงเหนียว ชิงไหวชิงพริบ ใช้กลวิธี เพื่อทำให้ตัวเองได้รับคะแนนมากที่สุด และแน่นอนช่วงโค้งสุดท้ายคงได้เห็นเกมใต้ดินทำลายคู่ต่อสู้ด้วย
ดังนั้น ขอให้คนกรุงเทพฯ ที่โหยหาการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ซึ่งว่างเว้นเป็นเวลา 8 ปี จงตั้งสติ ชั่งใจให้ดี แล้ว "วันที่ 22 พ.ค." พกเสียงอันบริสุทธิ์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เข้าคูหากา "ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ในดวงใจ".
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี