ส่องแคนดิเดตผู้ว่าฯ กทม. วัดพลัง ปชต.หรือผู้มีอำนาจ

หลังวันที่ 22 พฤษภาคม ชาวกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะได้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ตามวิถีประชาธิปไตยหลังสนามเมืองหลวงแห่งนี้ติดหล่มจากคำสั่งของ คสช.จากผลพวงคณะรัฐประหารเมื่อปี 2557  

สำหรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา นอกจากจะได้พ่อเมืองกรุงเทพฯ แล้ว ที่พร้อมจะขับเคลื่อนนโยบายตรงโจทย์คนกรุง ยังเป็นการประเมินสถานการณ์การเมืองสนามใหญ่ในการเลือกตั้งปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าสนามเมืองกรุงมีผู้อาสาตัวเข้ามาทำงานมากมาย แม้จะต้องตัดคะแนนจากฝ่ายเดียวกันจนไม่อยากมองหน้ากัน   เพราะหวังเข้ามามีอำนาจและบริหารงบประมาณต่างๆ ปีละเกือบแสนล้านบาท ควบคู่กับการผลักดันนโยบายต่างๆ ให้คนกรุง  

โดยเฉพาะทางฝ่ายผู้มีอำนาจเก่า อย่างเช่น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง  ที่เพิ่งประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่เลือกที่จะหยุดพัก โดยบอกว่า "ไม่ได้ยึดติดอำนาจ แต่ต้องการมาทำงานที่ค้างอยู่ต่อให้เสร็จ รวมถึงทำสิ่งใหม่ๆ ที่ดีให้กับสังคมกรุงเทพฯ"

พร้อมกับขอโอกาสคนกรุงเทพฯ เพื่อเข้าสู่อำนาจผ่านระบบเลือกตั้งเพื่อผลักดันงานต่างๆ ต่อไปในนามอิสระ ภายใต้สโลแกน “กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ"

จุดแข็งคือความได้เปรียบ เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ครองเก้าอี้ดังกล่าว ก็วางฐานอำนาจและฐานการเมืองในรั้วเสาชิงช้า และสำนักงานเขตต่างๆ พร้อมทั้งมีทีมผู้สมัคร ส.ก.ในนาม กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ ที่เปิดตัวแก้ปัญหาให้ชาวบ้านอย่างเร่งด่วน ก่อนผู้สมัครคนอื่นๆ

แต่ข้อเสียคือ มีภาพติดหล่มคณะรัฐประหาร เพราะถูกแต่งตั้งจาก คสช.ที่อาจทำให้ชาวกรุงเบื่อหน่าย  ไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ และนิวส์โหวตเตอร์ประมาณเกือบล้านคนที่อยากให้เกิดความเปลี่ยนแปลง 

ที่สำคัญยังอาจตัดคะแนนกับ นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ที่ลงมาเทียบชั้น ชิงตำแหน่งผู้ว่าเสาชิงช้า ที่มีฐานสนับสนุนจาก "ลุงกำนัน" สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาฯ กปปส. รวมทั้งได้ความสดใหม่ ที่เหนือกว่า และแว่วมาว่ากำลังจะได้รับการสนับสนุนจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่กำลังส่ง ส.ก.ครบทั้ง 50 เขตอีกด้วย 

ฉะนั้นผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม หากไม่ส่งสัญญาณให้ชัดว่าจะหนุน พล.ต.อ. อัศวิน หรือ นายสกลธี ชัดเจนว่าเป็นใคร ก็เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะชนะฝ่ายตรงข้ามได้  

เพราะต้องไม่ลืมว่าขั้วดังกล่าวนี้ยังมี ดร.เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากค่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่แม้สถานการณ์ในพื้นที่จะร่อยหรอจากผลการเลือกตั้งปี 62 ไม่มี ส.ส.กทม.สักคน ประกอบกับกระแสข่าวในพรรคสีฟ้ามีแต่เลือดไหลออก และ "ดร.เอ้" ยังถูกรับน้องมาอย่างหนัก แต่ก็อย่าเพิ่งประมาทพรรค ปชป. เพราะอาจงัดวิชาใต้ดินมาพลิกเกมในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก็เป็นได้ อย่างที่เคยใช้มาแล้วในอดีต ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องร้องสะอื้นมาแล้ว

ผิดจากสถานการณ์ฟากที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครในนามอิสระ ที่เปิดตัวก่อนใคร และคะแนนนำโด่งทุกโพล ด้วยภาพลักษณ์ "แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" และทีมงานคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเข้ามาซัพพอร์ต 

แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพราะ "นายชัชชาติ" ต้องเอาตัวรอดจากวิชามาร ที่หลังจากนี้จะลงมาดิสเครดิตอย่างต่อเนื่องทั้งบนดินและใต้ดิน โดยเฉพาะความเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทยที่มี ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของพรรค และคนเสื้อแดงที่เป็นของแสลงของชาวกรุงในปี 2553 รวมทั้งทำให้คนเห็นว่า แท้จริงแล้ว "ชัชชาติ" ยังไม่เคยพิสูจน์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ นอกจาก "ภาพเดินเท่าเปล่าถือถุงกับข้าวไปรอใส่บาตร" เท่านั้น 

จึงต้องดูว่า "บุรุษแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" จะสลัดหลุดได้หรือไม่ 

ไม่นับการถูกตัดแต้มจากพรรคก้าวไกล โดย "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" ที่ต้องการดันพรรคสีส้มเป็นที่ 1 ของฝ่ายประชาธิปไตย และเน้นนโยบายผ่านโซเชียลมีเดีย หวังเจาะคนรุ่นใหม่ ที่มุ่งเน้นวาทกรรมดุดัน แต่ถูกมองว่าขายฝัน และอาจสะดุดเพราะกรรมเก่า เนื่องจากเป็นพรรคสนับสนุนม็อบสามนิ้วที่เคลื่อนไหวหมิ่นเหม่ กระทั่งประชาชนส่วนใหญ่รับไม่ได้ 

เช่นเดียวกับพรรคไทยสร้างไทย ที่ส่ง "ผู้พันปุ่น" น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกฯ และ ส.ส.กทม.พรรคไทยรักไทย ที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ส่งเข้าประกวด  

แม้จะรู้ว่า นายชัชชาติ ยังเป็นที่ 1 ในสนามเมืองหลวง ดังนั้นการสอดแทรกขึ้นมาคงเป็นเรื่องยาก แต่ของใหม่อย่างพรรคไทยสร้างไทยก็ได้ประโยชน์ เพราะหวังใช้เวทีนี้เป็นที่เปิดตัวพรรค และบอกเล่านโยบายให้คนรู้จักเพื่อสนามเลือกตั้งใหญ่เสียมากกว่า       

หลังจากนี้ แคนดิเดตผู้ว่าฯ กทม. นอกจากจะต้องสู้เรื่องนโยบายต่างๆ แล้ว ยังต้องเอาตัวรอดจากสารพัดวิชามาร เพื่อเป็นฝ่ายชนะยึดสนามกรุงเทพฯ ที่จะส่งสัญญาณไปถึงการเมืองสนามใหญ่อีกด้วย. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14

นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย

เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล

นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์

นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ

สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร  ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก