เฉพาะเดือนมีนาคม ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม นัดดินเนอร์กับพรรคร่วมรัฐบาลไปแล้วถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ 8 มีนาคม ที่สโมสรราชพฤกษ์ ผู้ร่วมบทสนทนาบนโต๊ะอาหารคือ หัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคขนาดใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาล จำนวน 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทยพัฒนา
โดยมี 3 ป. บิ๊กตู่, ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ ‘บิ๊กป๊อก’ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นแกนกลางของโต๊ะ
ขณะที่ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่สโมสรราชพฤกษ์เช่นเดิม แต่คราวนี้ ‘บิ๊กตู่’ เชิญแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทุกขนาด ตั้งแต่เล็ก กลาง และใหญ่ ร่วมรับประทานอาหาร หลังถูกครหาว่า เชิญแต่พรรคขนาดใหญ่ ไม่เห็นความสำคัญของพรรคขนาดเล็ก
ขณะเดียวกันยังมีการนัดแนะกันว่า การร่วมรับประทานอาหารในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นทุกเดือน โดยพรรคร่วมรัฐบาลจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ
แน่นอนว่า ในทางการเมืองการรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นเรื่องปกติธรรมดา เหมือนที่แกนนำรัฐบาลหลายคนชี้แจง ไม่มีวาระพิเศษอะไร
แต่ในข้อเท็จจริงคือ การจัดงานลักษณะนี้ห่างเหินไปนาน กระทั่งกลับมาปัดฝุ่นอีกครั้งในช่วงที่การเมืองถึงจังหวะคาบลูกคาบดอก โดยเฉพาะสถานการณ์ของ ‘บิ๊กตู่’ ในเดือนพฤษภาคม ที่ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เป็นการรับประทานอาหารในช่วงที่ความสัมพันธ์ของทั้งวงศ์วาน 3 ป. และทั้งพรรคร่วมรัฐบาลเปราะบาง มันจึงไม่ใช่การจัดขึ้นในภาวะปกติ
แล้วยิ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า ‘บิ๊กตู่’ ประกาศเชิญชวน ครม. ส.ส. และ ส.ว. มาร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ ที่จะมีการตักบาตรในช่วงเช้า และมีพิธีรดน้ำดำหัวในวันที่ 12 เมษายน
การรดน้ำดำหัว ‘บิ๊กตู่’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะจัดขึ้นเกือบทุกปีมาตั้งแต่ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ที่ผ่านมาจัดในวงแคบที่มีแต่ ครม.และข้าราชการเท่านั้น ไม่ได้มีการเชิญ ส.ส. และ ส.ว. มาด้วยเหมือนครั้งนี้
มันจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันเป็นการรับประทานและพบปะกันตามปกติ หากแต่มันเป็นการใช้โอกาสพิเศษเพื่อนัดพบปะกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เพราะในฐานะ ส.ส.ในซีกรัฐบาล ย่อมสามารถมารดน้ำดำหัว ‘บิ๊กตู่’ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้ หรือแม้แต่ฝ่ายค้านเองก็มาร่วมได้ เพราะนายกรัฐมนตรีก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่คนหนึ่งในประเทศ
เพียงแต่ครั้งนี้มันมีนัยสำคัญทางการเมือง ตรงที่เทียบเชิญ ส.ส. และ ส.ว. ให้มาร่วมกันถึงศูนย์กลางบริหารราชการแผ่นดิน ดังที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคของ ‘บิ๊กตู่’
โดยเฉพาะ ส.ว. ที่ปกติเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งทำงานคนละส่วนกับฝ่ายบริหารชัดเจน จะมีเส้นแบ่งพอสมควรกับรัฐบาล
แต่แน่นอนต่างรู้กันว่า ส.ว. 250 คนเหล่านี้ ล้วนเกิดจากบ่อเดียวกันนั่นคือ ‘บิ๊กตู่’ ในเวอร์ชั่นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่งอยู่แล้ว
พูดง่ายๆ คือ ส.ว. ไม่ใช่คนไกลของพี่น้อง 3 ป. แต่เป็นองคาพยพเดียวกันมาตลอด แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไปแล้ว
หากแต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำหน้าที่ ไม่ค่อยเจอหน้ากัน มันจึงมีระยะห่างเกิดขึ้น แล้วก็มีคนใช้ระยะห่างตรงนี้ระหว่าง ‘บิ๊กตู่’ กับ ส.ว. มาใช้ประโยชน์ทางการเมือง
ตรงกันข้าม กลายเป็น ‘บิ๊กป้อม’ ที่เป็นคนที่ค่อนข้างจะใกล้ชิดกับ ส.ส. รวมไปถึง ส.ว. มากกว่า หลังๆ แทบจะเป็นคนกดปุ่มสัญญาณทั้ง 2 สภาด้วยซ้ำ
และจุดอ่อนของ ‘บิ๊กตู่’ ในช่วงที่ผ่านมาคือ ความห่างเหินกับคน 2 กลุ่มนี้
การเชื้อเชิญมารดน้ำดำหัวกันที่ทำเนียบรัฐบาล จึงเหมือนเป็นการร่นระยะห่างให้สั้นลง โดยใช้ความถี่เป็นการสร้างระยะประชิดให้มากขึ้น
โดยเฉพาะสถานการณ์ตอนนี้ที่มีวาระหลักๆ สำคัญ 2 เรื่องรออยู่ นั่นคือ การลงมติร่าง พ.ร.ป.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนพฤษภาคม
แม้อาจดูช้าไปที่มาคิดทำอะไรแบบนี้ตอนปลายเทอม หากแต่มันไม่ช้าเสียทีเดียว เพราะเป็นช่วงก่อนถึงเวลา ‘หน้าสิ่วหน้าขวาน’ ของรัฐบาล
หากต้องการบริหารไปจบครบเทอมก็ไม่สามารถละทิ้งองคาพยพเหล่านี้ได้เลย เพราะจำเป็นต้องอาศัยกลไกเหล่านี้พยุง
มันเลยยุคที่จะอยู่กันแบบ ‘ผู้บังคับบัญชา-ผู้ใต้บังคับบัญชา’ เหมือนตอน คสช. ตอนนี้ต้องใช้วิธีพึ่งพาอาศัยกัน
ที่สำคัญ ต้องทำให้ทุกอย่างอยู่ในสายตา ไม่มีอะไรเล็ดลอดจนโดนแทงข้างหลังอีก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์
นายกฯ ปลุกทุกภาคส่วน ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวีดิทัศน์ว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ประจำปี 2567
เอ๊ะยังไง! 2 สัปดาห์ ชื่อ 'กิตติรัตน์' ประธานบอร์ด ธปท. ยังไม่ถึงมือขุนคลัง
'พิชัย' บอกยังไม่ได้รับรายงาน ผลการเลือก 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ' คาดติดช่วงวันหยุด ชี้ช่วยค่าเกี่ยวข้าวชาวนาไร่ละ 500 บาท ขอฟังความเห็นที่ประชุม นบข.
ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49