สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก. บทพิสูจน์ฝีมือ “จุรินทร์-เฉลิมชัย”

ทุกพรรคมีเวลาเท่ากัน นับจากนี้เกือบ 2 เดือนเต็ม เริ่มหาเสียงให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ของตัวเอง

สแกน “พรรคประชาธิปัตย์” เคยครองใจคนกรุงเทพฯ และคนใต้ทั้งในการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ แต่เมื่อการเลือกตั้งใหญ่ ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” พื้นที่กรุงเทพฯ “ประชาธิปัตย์” หมดเกลี้ยง ส่วนแดนสะตอก็มี “พรรคภูมิใจไทย” และ “พรรคก้าวไกล” แบ่ง ส.ส.ไป ซึ่งครั้งนั้น “อภิสิทธิ์” รับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค

พอเลือกผู้นำพรรคใหม่ ได้ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” เป็นหัวหน้า และมี “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” เป็นเลขาธิการพรรค ดังนั้นเวทีเลือกตั้งพ่อเมือง กทม. และ ส.ก. จึงเป็นสนามสำคัญที่ “จุรินทร์” และ “เฉลิมชัย” จะได้แสดงฝีมือ และทำให้เห็นว่าประชาธิปัตย์ “ขาขึ้น” จริงตามที่ผู้บริหารพรรคพร่ำบอก แต่ก็ต้องยอมรับว่าภารกิจกอบกู้พรรคครั้งนี้ใหญ่หลวงและหนักอึ้ง คนในพรรคจะต้องออกแรงและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

โดยเมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคจัดสัมมนาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้อำนวยการศูนย์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.ประจำเขต มีการตอกย้ำวิสัยทัศน์ “ผู้นำประเทศ ผู้นำเมือง” บริหารกรุงเทพฯ เสมือนเป็น Mini Thailand ด้วย 3 นวัตกรรมทางการบริหารจัดการกรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมตัวที่ 1 มีคณะรัฐมนตรี กรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ มีปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมากมายหลายด้านมากกว่าในอดีต โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ

นวัตกรรมตัวที่ 2 คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกรุงเทพฯ (กรอ.กทม.) เพื่อเป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมให้กับทุกภาคส่วนได้มาทำงานร่วมกับผู้บริหารกรุงเทพฯ และ นวัตกรรมตัวที่ 3 การบริหารจัดการแบบเกรทเตอร์ แบงค็อก (Greater Bangkok) หรือคณะกรรมการบูรณาการ กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะต้องทำงานประสานกับปริมณฑลอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมอบภารกิจให้กับ ส.ก. เป็น “ส.ก.พลัส” คือต้องทำหน้าที่ ส.ข.ควบคู่ไปด้วย

ขณะเดียวกัน “ดร.เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามประชาธิปัตย์ วางตัวเป็นกูรูด้านน้ำท่วม ที่ผ่านมาควง ส.ก.ของพรรคลงพื้นที่แทบจะทุกเขตในกรุงเทพมหานคร สำรวจปัญหาประตูระบายน้ำ คูคลอง  

แต่ก็ต้องบอกว่าการเลือกตั้ง 22 พ.ค.ที่จะถึงนี้ เป็นงานหินสำหรับ “ประชาธิปัตย์” เพราะไม่ว่าสถาบันต่างๆ จะสำรวจความนิยมในช่วงใด ชื่อ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” อดีต รมว.คมนาคม ที่ลงในนามอิสระ และมีพรรคเพื่อไทยคอยส่งกำลังใจให้ ยังคงเต็ง 1 ในทุกโพล แม้ “ชัชชาติ” จะโดนโจมตีเรื่องตอนเป็นเสนาบดีไร้ผลงาน แต่ก็ไม่มีความชั่วปรากฏ ทั้งยังมีบุคลิกเป็นนักบริหาร นักวิชาการไปพร้อมๆ กัน

ในทางกลับกัน ตัวผู้สมัครของประชาธิปัตย์ เรียกว่าตั้งแต่เปิดตัวก็ถูกตั้งคำถามถึงการทุจริตและความโปร่งใสบัญชีทรัพย์สิน และยังมีกระบวนการพยายามทำให้ภาพ “ดร.เอ้” เป็นคนขี้โม้ ที่เห็นง่ายๆ เลยก็คือ ปมเรียนกับอาจารย์ ที่เป็นหลานของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”   

ประการต่อมาที่ทำให้ “ประชาธิปัตย์” ยังคงตกที่นั่งลำบากคือ การแย่งคะแนนเสียงในฐานเดียวกัน เพราะรอบนี้มีทั้งจากกลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ ของ “อัศวิน ขวัญเมือง” และกลุ่มของ “สกลธี ภัทธิยกุล”   

ประการสุดท้ายมาจาก “คนในพรรค” ที่ทำตัวเป็นกรวดในรองเท้าของหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค อย่างกรณีที่ “อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์” ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาต่อว่า “อันวาร์ สาและ” ส.ส.ปัตตานี คอยแซะพรรคและผู้บริหารพรรคนั้น หรือแม้แต่คำพูดของคนที่ลาออกจากพรรคไปที่ย้อนมาทำลายพรรคเช่นกัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์พรรคได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปยังประชาชนทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสภาพของ “ประชาธิปัตย์”

จนอาจต้องหันไปลงคะแนนให้กับที่พึ่งที่หวังใหม่!!! เว้นเสียแต่ว่า “ประชาธิปัตย์” จะมีหมัดเด็ดมัดใจคนกรุง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567