กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) นายกเมืองพัทยา กำหนดให้ 31 มี.ค.-4 เม.ย. เป็นวันเปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เลือก ส.ก.ยาวนานหลายปี ที่ไม่ได้มีการเลือกตั้งมาเลย พอมีการกำหนดวันเลือกตั้งออกมา หลายพรรคการเมือง บรรดานักเลือกตั้ง เริ่มขยับออกตัวกันอย่างคึกคัก
โดยเฉพาะสนาม กทม.ที่จะมีการเลือกทั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.พร้อมกัน และตามกฎหมายใหม่กำหนดให้มี ส.ก. 50 คน จาก 50 เขตเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่อยู่ในตลาดเลือกตั้งอยู่แล้ว พรรคเพื่อไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ ก้าวไกล
พรรคการเมืองน้องใหม่ พรรคกล้า พรรคไทยสร้างไทย หรือแม้แต่กลุ่มการเมือง กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ ภายใต้การนำของ บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง หรือแม้แต่กลุ่มอิสระ ไม่อิงกับใครเลย ต่างโดดแย่งชิงทั้งศึกพ่อเมืองหลวง ผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.
พรรคเพื่อไทย พลังประชารัฐ ไม่ส่งผู้ว่าฯ กทม. แต่ส่ง ส.ก.ครบ 50 เขต 50 คน แต่ก็พอจะรู้ๆ กลยุทธ์กันอยู่จะมาไม้ไหน ฝั่งเพื่อไทยเทใจให้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครในนามอิสระ
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคก้าวไกล ประกาศตัวผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคไปแล้ว เหลือเพียงเคาะในขั้นสุดท้าย ประกาศผู้สมัคร ส.ก. 50 เขต ในนามพรรคเท่านั้น หรือแม้แต่ไทยสร้างไทยที่เพิ่งโดดลงสนามเลือกตั้ง จะส่งทั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.ครบถ้วนทุกเขต ขณะที่กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ มีกระแสข่าวแพร่สะพัด บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน จะลงสมัครผู้ว่าฯ ในนามรักษ์กรุงเทพฯ ขณะที่ ส.ก.เลือกเฟ้นเฉพาะพื้นที่ ประมาณ 30-40 เขตเท่านั้น
แต่ละพรรคงัดกลยุทธ์การต่อสู้ในสนามเมืองกรุงคนละแบบ แต่ทั้งซีกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล หรือแม้แต่กลุ่มอิสระ ที่แตกตัวออกมา “ขอวัดใจคน กทม. ไม่มีใครยอมใคร”
ที่น่าสนใจ กลยุทธ์พรรคเพื่อไทยรอบนี้มาแปลก เพราะสนามผู้ว่าฯ กทม. ไม่ว่าจะเป็น ยุคไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย ยังไม่เคยชนะ ได้ผู้ว่า กทม.ในนามพรรคแม้แต่ครั้งเดียว ครั้งนี้ขอพลิกแพลงกลยุทธ์
ไล่มาตั้งแต่แม่ทัพคุมศึกเลือกตั้งเมืองหลวง ที่คนเดิมย้ายไปสร้างทางเดินทางการเมืองของตัวเอง จึงลองมาใช้บริการอีกหนึ่งผู้กว้างขวางใน กทม. แถมยังเป็นสายตรงคนแดนไกล ทั้งพี่ทั้งน้องอีกด้วย มาในนามผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ส.ก.ที่ได้ มาดามนครบาล หรือ เจ๊แจ๋น-นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เข้ามาคุมทัพในสไตล์ใจถึงพึ่งได้
ทีมงานนโยบายยังคงใช้บริการทีมเดิมของพรรคเพื่อไทย และด้วยความที่การเมืองในยุค 10 ปีหลังเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เป็นเวทีของคนรุ่นใหม่มากขึ้น รอบนี้เพื่อไทยจึงเลือกเฟ้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทางหนึ่งก็หวังจะนำไปต่อกรกับเพื่อนบ้านผู้น่ารำคาญอย่างก้าวไกล แต่จุดเด่นของเพื่อไทยที่คนในพรรค มองว่ามีจุดขายเด่นกว่าคือ
นโยบายที่จับต้องได้ โดยรอบนี้นโยบายหลักจะมาในธีม “เพื่อไทย มหานคร” ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องสาธารณสุข จราจร เชื่อมโยงไปการสัญจรที่สะดวกสบาย เชื่อมโยงกัน ค่าครองชีพเกี่ยวพันปัญหาปากท้อง เป็นต้น จะมีการเปิดธีมใหญ่ ในวันที่ 22 หรือ 24 มี.ค. ในวันเปิดตัวผู้สมัคร 50 เขต จากนั้นจะมีนโยบายยิบย่อย ทยอยเปิดล้อกันมา แต่ละอาทิตย์ที่มีเวลา 9 อาทิตย์ ไปจนถึงการเลือกตั้ง
นโยบายที่จะเปิดออกมา แต่ละอาทิตย์หรือแต่ละรอบ จะมีแอกชันแพลนตามมา อยู่ที่ว่าช่วงนั้นจะให้นโยบายนำผู้สมัคร หรือผู้สมัครนำนโยบาย เป็นการใช้กลยุทธ์การเมืองผสมการตลาด
แต่ทั้งหลายทั้งปวง นโยบาย ส.ก.ที่ถึงแม้แต่ละพื้นที่จะมีความหลากหลาย ความต้องการไม่เหมือนกัน แต่นโยบายในส่วนของ ส.ก.ที่เปิดออกมานั้น จะไปล้อกับนโยบายหลักของชัชชาติ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ในนามอิสระ ที่เพื่อไทยส่งแรงใจไปเชียร์
ที่น่าสนใจ การวางแผนกลยุทธ์ครั้งนี้มุ่งเน้นเจาะกลุ่มโซเชียลเป็นพิเศษ อันเนื่องจากหลายพื้นที่ “บ้านมีรั้ว” เข้าไป “เคาะประตูหาเสียง” ไม่ได้เลย ต้องใช้ทางโซเชียลทะลุทะลวงเจาะให้ตรงกลุ่ม ตรงความต้องการ
ส.ก.เดิมที่มี 61คน แบ่งเป็น ค่ายประชาธิปัตย์ 45 เพื่อไทย 15 และอิสระอีก 1 แต่ด้วยกฎหมายใหม่ รอบนี้จะลด ส.ก.ลงเหลือเพียง 50 คน จาก 50 เขตเท่านั้น รอบนี้ก็จะได้ผู้สมัครที่เป็นการผสมผสานจากกลุ่มคนที่มีฐานเสียง เป็นผู้มีประสบการณ์การเมืองในพื้นที่ และกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสาขาอาชีพมาลง ขอโอกาสคน กทม.
ศึกเลือกตั้ง ส.ก.ที่เป็นการจำลองมาจากเลือกตั้งใหญ่ ส.ส.กทม. รอบนี้ว่ากันว่า แกนนำเพื่อไทยประเมินตั้งความหวังไว้สูง หวังจะช่วงชิงมาให้ได้ 20-30 ที่นั่ง จาก 50 ที่นั่งเลยทีเดียว แม้ในช่วงโค้งสุดท้ายต้องเร่งหา 2 ผู้สมัคร ส.ก.จาก 2 เขต ที่ถอนทีมออกไป เนื่องจากจะไปลงสมัครในพรรคการเมืองน้องใหม่บางพรรค
เพื่อไทยยังคงเป้าตามเดิม 20-30 ที่นั่ง นาทีนี้คนเพื่อไทยสายมูเตลูแอบฉีกยิ้มเล็กๆ อีกฝ่ายคิดอะไร กำหนดวันเลือกตั้ง วันยึดอำนาจ ในวันรัฐประหาร 22 พฤษภาคม ที่จะเวียนมาครบ 8 ปี ปักธงเป็นวันเลือกตั้ง ทำให้หาเสียงง่าย ตอกย้ำความเป็นประชาธิปไตยกับคำว่าเผด็จการได้ดียิ่งขึ้น ทว่าก็มีเสียงสะท้อนออกมาอีกมุม ถ้าเขาไม่มั่นใจกว่า คงไม่กล้ากำหนดวันนี้ออกมา
ท้ายที่สุด คนที่บอกปรากฏการณ์ทั้งหมดอยู่ที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาว กทม. วันที่ 22 พ.ค.65 รู้ไปพร้อมกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี