ยุบสภา หรืออยู่ครบเทอม เกมได้เปรียบที่ 3 ป.กำหนด

ในฐานะผู้จัดตั้งรัฐบาลอย่าง "พี่ใหญ่ 3 ป. หรือ "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ประกาศกับหัวหน้าพรรคเล็ก ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา

โดยกำหนดไทม์ไลน์ หลังการประชุมเอเปกในเดือน พ.ย.นี้ รัฐบาลสามารถยุบสภาเพื่อเลือกตั้งในช่วงปีใหม่ 2566 หรือกำหนดวันเลยไปกว่านั้นเล็กน้อย

คำพูดดังกล่าวถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สนับสนุนรัฐบาลว่า พี่น้อง 3 ป.จะกุมอำนาจไปถึงปลายปีอย่างไม่ต้องสงสัย และใครมาหยุดได้ 

ส่วนจะ “ยุบสภา” หรือ “อยู่ครบวาระ 4 ปี” ในช่วงเดือนมีนาคม 2566 เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจตัดสินใจ และพิจารณาความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการเมืองเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สำหรับการยุบสภา หรือรอให้รัฐบาลอยู่ครบเทอม แม้ปลายทางเป็นความสิ้นสุดของรัฐบาล และมีเป้าหมายไปสู่การเลือกตั้งใหม่เหมือนกัน 

แต่ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง “มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง” โดยเฉพาะเงื่อนระยะเวลา ส.ส.จะต้องเข้าสังกัดพรรคการเมือง หรือผู้มีอำนาจจะเลือกขังคุก ไม่ให้ใครย้ายหนีออกพรรคในช่วงใกล้เลือกตั้ง  

เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ว่า หากยุบสภาต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 45วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคใหม่ได้ในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน จึงจะลงสมัคร ส.ส.ได้ หากนายกฯ เลือกการยุบสภา พรรคการเมืองต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น พรรคพลังประชารัฐ หรือพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถ “ดูดนักการเมือง” หรือผู้ที่เป็น ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน หรือพรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล มาเข้าพรรคได้ง่าย และไม่จำเป็นจะต้องลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.ก่อนยุบสภา 

เพราะมีเวลาเลือกตั้งมากถึง 60 วัน ส่วนเวลาสังกัดพรรคเพียง 30 วันเท่านั้น และที่สำคัญผู้ที่ย้ายออกมายังลดเวลาถูกโจมตีจากต้นสังกัดเก่า อาทิ หักหลัง ทรยศ เนรคุณ ไม่ให้บอบช้ำมากอีกด้วย 

ในทางกลับกันในช่วงนั้น หากสมมุติว่ากระแสและความนิยมของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลไม่ดี ผู้มีอำนาจและแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอาจเลือกวิธีอยู่ครบเทอม เพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องระบุว่า ในกรณีรัฐบาลอยู่จนครบวาระ 4 ปี การเลือกตั้งจะต้องมีขึ้นภายใน 45 วัน และต้องสังกัดพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน   

ด้วยเงื่อนไข 90 วัน จึงทำให้ ส.ส.ย้ายพรรคได้ลำบาก หรือหากอยากไปจริงๆ ส.ส.จำต้องลาออกจากตำแหน่งเสียก่อน ไปสังกัดพรรคใหม่ให้ทันเงื่อนไข ดังนั้นหากผู้มีอำนาจกระแสไม่ดี และ “ไม่อยากให้เลือดไหลออก” ก็สามารถเลือกใช้เกมนี้ได้ 

 อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นที่ฝ่ายค้านเชื่อว่านายกฯ จะยุบสภา ก่อนการเปิดสภาในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ในสายตาของ "บิ๊กป้อม" มองข้ามไปหมดแล้ว เพราะ “เสียงฝ่ายตรงข้ามไม่มีน้ำยา” มาทำอะไรได้ นอกจากมโนหรือคำโวเพียงอย่างเดียว 

ขณะที่ตัวแปรอย่างพรรคเล็ก และพรรคเศรษฐกิจไทย มี ส.ส. 30 คน ผู้จัดการรัฐบาลอย่าง "บิ๊กป้อม" ก็เคลียร์ปัญหา และรับปากจะดูแลเป็นอย่างดี พร้อมยืนยันว่าดูแลตั้งแต่ต้น มิใช่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย เป็นผู้แจกกล้วยแต่เพียงคนเดียว  

ดังนั้นเสียงในสภาจึงไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รวมทั้งกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566   

 โดยมีไฮไลต์ที่ต้องจับตาในสภา คือการพิจารณากฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับ ว่าสุดท้ายผู้มีอำนาจจะเลือกแบบไหน ระหว่างแบบคู่ขนาน เช่นปี 2554 หรือใช้อภินิหารทางกฎหมาย กลับไปใส่สูตรคำนวณแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMP  

ตามกระแสข่าวที่ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์อยากได้แบบ MMP อย่างเช่นการเลือกตั้งปี 2562 ที่แม้ พปชร.จะไม่ชนะเลือกตั้ง แต่ยังสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ กระทั่ง “สถาปนาบิ๊กตู่เป็นนายกฯ สมัยที่ 2” จากการเลือกตั้งได้สำเร็จ 

จากนั้นเดือนสิงหาคม อาจมีลุ้นเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกฯ แต่เชื่อว่าในฐานะที่พี่น้อง 3 ป.เป็นผู้ออกแบบ และร่วมสร้างรัฐธรรมนูญปี 60 มากับมือ คงไม่ปล่อยให้ "บิ๊กตู่" ตกม้าตายไปง่ายๆ และจะอยู่รอดไปถึงช่วงแต่งตั้งข้าราชการในช่วงเดือนกันยายน ทั้งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ทหาร และตำรวจ เพื่อเตรียมพร้อมในการเลือกตั้ง 

ก่อนปิดท้ายอีเวนต์ใหญ่ของประเทศ คือเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปก หาก "บิ๊กตู่" ทำสำเร็จ ก็จะได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และไม่น้อยหน้านายกฯ คนอื่นๆ อย่างเช่น นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็เคยเป็นเจ้าภาพเอเปก ในปี 2546 มาแล้วเช่นกัน     

ฉะนั้นความได้เปรียบทุกอย่างอยู่ในมือพี่น้อง 3 ป. หากปลายปีนี้กระแสดีก็อาจเลือกยุบสภา แต่หากยังขาลงอยู่เช่นนี้ อาจลากยาวจนครบวาระ พร้อมขังคุกไม่ให้ ส.ส.ย้ายหนี. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'

ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี