จากสิงคโปร์ถึง 'สุดซอย' ปัจจัยเสี่ยงเพื่อไทย!

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โผล่เข้ามาในซีนการเมืองอีกครั้ง ตามข่าว ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 2 พี่น้อง ควงคู่กันบินมา ประเทศสิงคโปร์ เพื่อมาตรวจสุขภาพประจำปี ปฏิบัติภารกิจส่วนตัว ทั้ง 2 พี่น้องจะปักหลักที่สิงคโปร์จนถึง 12 มี.ค. ก่อนจะบินออกไป  

จังหวะการขยับขับเคลื่อน ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ในช่วงเวลานี้ มาในจังหวะปิดสมัยประชุมสภา และกว่าจะเปิดประชุมสภาอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. เป็นต้นไป ช่วงนี้ภาคการเมือง พรรคการเมือง เหมือนปิดเทอม พรรคการเมือง นักการเมือง ว่างเว้นไม่ต้องเดินทางมาประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ มีเวลามากขึ้น ทั้งการลงพื้นที่ การเดินทางไปพักผ่อน การยกคณะไปพบ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ นายใหญ่-นายหญิง แห่งเพื่อไทย  

แม้ตามข่าว กลุ่ม ส.ส.ที่เดินทางไปครั้งนี้ นำโดย เฮียเกรียง-นายเกรียง กัลป์ตินันท์ แกนนำ ส.ส.กลุ่มอุบลราชธานี ที่แท็กทีม ส.ส.ที่ใกล้ชิด ก๊วนอุบลราชธานี อำนาจเจริญ เดินทางไปร่วม 10 ชีวิต แต่ว่ากันว่า คณะที่เดินทางไปจริงมีมากกว่านี้เยอะมาก  

มีทั้งคณะแกนนำ ผู้บริหารพรรค กลุ่ม ส.ส.อีสาน กลุ่มภาคเหนือ กลุ่ม ส.ส.ภาคกลาง กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น ต่างตบเท้าไปยังสิงคโปร์ เพื่อรอพบ คารวะ ปรึกษาหารือ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ที่จะแบ่งกรุ๊ปการเข้าพบแต่ละคณะ  

พรรคเพื่อไทย มี 2 เรื่องใหญ่ที่ต้องทำ และต้องพร้อม ในช่วงปิดสมัยประชุมสภา 

ภาคประชาชน มวลชน พรรคเพื่อไทย มี “คาราวานครอบครัวเพื่อไทย” คณะหัวหน้าพรรค ผู้บริหารพรรค ส.ส.พรรค เตรียมเดินสายไปแต่ละภูมิภาค ชักชวนสมาชิกสมัครบัตรครอบครัวเพื่อไทย โดยจะเริ่มคิกออฟ 19 มี.ค. ปักหมุด จ.อุดรธานี เมืองหลวงเสื้อแดงเป็นที่แรกในการเดินสาย  

จัดคาราวานเพื่อไทย นอกจากเพิ่มเป้าสมาชิก ที่ในวันนี้สมาชิกพรรคเพื่อไทยเหลือเพียง 7 หมื่นคนเท่านั้น บัตรครอบครัวเพื่อไทยจะเป็นอีกของเล่นใหม่เพื่อไทย ที่นอกจากจะได้สมาชิกเพิ่มขึ้น ยังจะนำไปเชื่อมโยงสิทธิพิเศษที่จะเกี่ยวโยงเชื่อมโยงไปถึงนโยบายหาเสียงในวันข้างหน้าด้วย 

เพื่อไทยเก็บเกี่ยวได้ทั้งงานมวลชน งานพรรค งานนโยบาย สำรวจความนิยม เช็กฐานเสียงไปในตัว 

ในส่วนของงานภาคการเมือง ว่ากันว่า คนในพรรคเพื่อไทยไม่น้อยมีความอึดอัดต่อการขยับ เตรียมตัวรองรับ สถานการณ์การเมือง หากรัฐบาลเกิดอุบัติเหตุการเมือง ภายในปี 2565 ขึ้นมาจริงๆ ที่พรรคเพื่อไทยเตรียมการช้าไป ท่ามกลางกระแสข่าว  

ส.ส.กลุ่มภาคกลาง เหนือตอนล่าง กลุ่มอีสานใต้ และกลุ่มลูกย่าโม ถูกเจาะ ถูกดึงตัวไปมากขึ้น และนับวันมีแต่จะมากขึ้น โดยพรรคทำได้เพียงแค่ “ตั้งรับ” เพียงอย่างเดียว พรรคร่วมรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพต่อรองในซีกของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะเพื่อไทยที่เป็นแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน อยู่ในภาวะสั่นคลอนไม่แพ้กัน  

แม้เพื่อไทยพยายามโหมโรง รัฐบาลประยุทธ์ เปิดประชุมสภาฯ สมัยหน้า ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นไป จะเผชิญความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อยู่ไม่ครบเทอมได้ ทั้งปัจจัยความไม่เป็นเอกภาพ ไร้เสถียรภาพในพรรคร่วมรัฐบาล ถึงแม้จะมี 260 เสียงพร้อมหนุน แต่ก็มีการมองกันว่า หากจะฝ่าด่านไปถึงการ สนับสนุน จะผ่านการต่อรอง แลกเปลี่ยนผลประโยชน์จนอีกฝ่ายพอใจ จึงจะช่วยพยุงค้ำบัลลังก์ให้ประยุทธ์และคณะอยู่ในอำนาจได้ 

ปัจจัยความเสี่ยงองค์ประชุมสภาล่ม ที่พร้อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมไปถึง การพิจารณากฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับการเงิน พ.ร.บ.งบประมาณ 2566 ที่เป็นอีกจุดสำคัญ หากไม่ได้รับเสียงสนับสนุนมากพอ หรือกฎหมายการเงินไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา พล.อ.ประยุทธ์จะต้องแสดงสปิริตรับผิดชอบ 

ปัจจัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ที่รอศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศถดถอย เรื่องการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ยังไว้วางใจไม่ได้ ปัจจัยภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบย้อนกลับมาถึง ประเทศไทย จะมีการวางแผนตั้งรับกันอย่างไร ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยง  

อาจทำให้ รัฐบาลประยุทธ์ เกิดอุบัติเหตุการเมืองได้ตลอดเวลา 

คณะ ส.ส. ผู้บริหารพรรคเพื่อไทยที่เดินทางไปพบ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ในแง่มุมกฎหมายถูกจับจ้องจากขั้วตรงข้ามทางการเมือง ที่อาจจะมีการหยิบยกแง่มุมกฎหมายการเดินทางไปพบผู้ต้องหาที่มีคดีกับทางการไทย จะก่อให้เกิดความผิดอะไรตามมาหรือไม่ ประกอบกับรัฐบาลไทยหากนิ่งเฉยหรือ ไม่เทกแอคชั่นอะไรบ้าง ก็อาจจะเกิด กระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาได้เช่นกัน 

หนทางการตรวจสอบตารางการเดินทางเป็นหมู่คณะ ไฟลต์การบิน ช่วงเวลา หากจะลงมือทำ คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปของฝ่ายความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย  

นอกจากในเรื่องแง่มุมกฎหมายที่อาจจะต้องไปว่ากันต่อ ว่ากันว่ายังมีอีกเรื่องสำคัญที่พลพรรคเพื่อไทยต้องตามลุ้นอีกเฮือก มีกระแสข่าวแพร่สะพัดว่า คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดที่มี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นประธานอนุกรรมการฯ ได้ตรวจสอบการทำหน้าที่อดีต ส.ส. 40 คน ที่เสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.สุดซอย เมื่อปี 2556 ใกล้จะแล้วเสร็จ

จากนั้นจะมีมติชี้มูลความผิด แล้วจะส่งเรื่องให้กับ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ ขณะที่ขั้นตอนต่อไปจะต้องนำไปสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

40 ส.ส.ในวันนั้นจนถึงวันนี้ หลายคนพ้นจากสารบบเส้นทางการเมืองไปแล้ว แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยยังคงเป็น ส.ส.ในปัจจุบัน ร่วม 10 คน ต่างต้องลุ้นระทึกผลของการวินิจฉัยชี้มูลที่คืบคลานใกล้เข้ามาเรื่อยๆ...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุวัจน์' บี้รัฐบาลเร่งปรับแผนท่องเที่ยว ช่วย ปชช. ไม่จมน้ำ

'สุวัจน์' แนะเร่งปรับแผนดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย ให้ได้ 40 ล้านคน ช่วยทุกคนลอยคอได้ ไม่จมน้ำ ย้ำไร้ปฏิญญาเขาใหญ่ ไม่มีการเมือง มีแต่การบ้าน เชื่อเสถียรภาพรัฐบาลยังดี

กระตุก 'ทักษิณ' 75 ปี ใกล้ฝั่งหัดปลง อย่าคิดเดิมทำเดิม!

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "75ปีทักษิณ" โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่นายทักษิณ ชินวัตร ครบรอบวันเกิด 75 ปี

‘เทพไท’ ชำแหละชัด ทำไม ‘ทักษิณ’ เป็นผู้มีบารมีนอกพรรค มากกว่า ’เนวิน-ธนาธร’

คำตอบหัวข้อ ผู้มีบารมีนอกพรรค จากผลการสำรวจของนิด้าโพล แสดงให้เห็นถึง ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการเมืองของประชาชนเป็นอย่างดี

ก้าวไกลชงนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข ห้ามทำผิดซ้ำ 3-5 ปี แมตช์วัดใจ พท.-ทักษิณ

เดิมที ศุกร์ที่ผ่านมา 26 ก.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน

เทียบหมัดต่อหมัด 3 ผู้มีบารมีนอกพรรค ‘ทักษิณ-เนวิน-ธนาธร’

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้มีบารมีนอกพรรค” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ

ครบ 75 ปีขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ 'ทักษิณ' คิดดีต่อบ้านเมือง!

เมื่อวานที่นายทักษิณ ครบรอบวันเกิด 75 ปี ลำพังถ้านายทักษิณ เป็นนักธุรกิจ มีเงินมีทอง จะโดยสุจริตหรือทุจริต ผมคงไม่ต้องเอ่ยถึง แต่นายทักษิณคือบุคคลสาธารณะ และมีอิทธิพลต่อ ความสงบสุข