ความเชื่อเก่าแก่กว่า 600 ปี 'ศาลแม่แก้ว' เทวสตรีโปรดปราน 'ปลัดขิก'

เป็นประเด็นสงสัยกันมานานสำหรับคนต่างถิ่น ที่ขับรถแล่นผ่าน “ศาลแม่แก้ว” ที่ตั้งอยู่ริมถนนสายหลัก ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์ ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แล้วจะเห็นมีปลัดขิก ทั้งอันเล็กอันใหญ่ ทาสีแดง ตั้งวางไว้ตรงหน้าศาลจำนวนมาก ต่างก็พากันคิดสงสัย และอยากรู้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่และได้พบกับ นายพรม ศรีธิ อายุ 85 ปี มัคนายกวัดดงคู่ หมู่ที่ 2 ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย เล่าให้ฟังว่า ศาลแม่แก้วแห่งบ้านดงคู่ นั้นมีมายาวนานแล้ว เดิมตั้งอยู่ในดอยตรงเขาตาดหน้ายักษ์ ก่อนจะย้ายมาอยู่ตรงริมถนน และชาวบ้านจะร่วมใจกันจัดพิธีเลี้ยงแม่แก้ว ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เป็นประจำทุกปี

โดยมีเครื่องเซ่นไหว้เป็นหัวหมู ไก่ต้ม เหล้าขาว อาหารคาว-หวาน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ปลัดขิก เวลาร่างทรงประทับเขาจะชอบ แล้วก็วิ่งเข้าหา ไปลูบไปคลำปลัดขิกด้วย

นายสมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง และนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุโขทัย กล่าวว่า ศาลแม่แก้วของหมู่บ้านดงคู่ เป็นศาลแห่งเดียวในสุโขทัยที่บูชาด้วย “ดอกไม้เจ้า” ซึ่งเป็นภาษาโบราณ แปลว่า อวัยวะเพศชาย (ปลัดขิก) แม่แก้วโปรดปรานมาก เพราะเป็นเทวสตรี เป็นศาสนาผีที่เป็นผู้หญิง ความเชื่อนี้มีมายาวนาน

จากการตรวจเอกสารและสอบหาข้อมูล พบว่า ชาวบ้านดงคู่ส่วนหนึ่งเป็นคนล้านนา มาจาก อ.ลับแล จ.อุตรดิถต์ อีกส่วนเป็นชาวไทยจาก ต.ทุ่งยั้ง ที่อพยพมาอยู่ใน ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย และความเชื่อเรื่องศาลแม่แก้วก็มาจากชาว อ.ลับแล ซึ่งเป็นชาวล้านนาที่อพยพมาจากเมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 1948 สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 หรือพญาไสลือไทย

และที่เชียงรายก็มีความเชื่อเรื่องแม่แก้วเช่นกัน แสดงว่าความเชื่อนี้มีมายาวนานอย่างน้อย 600 ปี เพราะชาวลับแลอพยพมาจากเชียงราย เมื่อประมาณ 616 ปีที่แล้ว และบางส่วนก็มาอยู่ที่ ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จึงนำความเชื่อนี้มาด้วย

จนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน และนอกจากปลัดขิกที่นิยมนำมาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ก็ยังมีหัวหมู ไก่ต้ม เหล้าขาว อาหารคาว-หวาน เครื่องสำอาง และชุดไทย ถวายเป็นเครื่องแก้บน อีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พบพ่อแม่ลูก 7 ชีวิตไร้ที่อยู่อาศัย ซึ้งน้ำใจรองนายก อบต. ซ่อมบ้านเก่าให้นอนชั่วคราว

ที่หมู่ 1 ต.วังทองแดง อ.เมือง จ.สุโขทัย มีครอบครัวหนึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทั้งหมด 7 ชีวิต มีพ่อ แม่ ลูกสาว 4 คน และลูกชายคนเล็กอีก 1 คน แต่ก็ยังโชคดีที่นายประสิทธิ์ ขุนใจ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแดง ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้น โดยซ่อมแซมบ้านเก่าให้อยู่อาศัยชั่วคราวไปก่อน

ชมวิถีชีวิตลูกแม่น้ำยมบนเรือนแพ หลังสุดท้ายในเขตตัวเมืองสุโขทัย

เป็นเวลานานนับสิบปีแล้วที่นายพายัพ สุขสันต์ อายุ 73 ปี และนางวรรณี สุขสันต์ อายุ 70 ปี สองตายายชาวประมง ได้ใช้ชีวิตอาศัยหลับนอนอยู่ในเรือนแพแม่น้ำยมเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ซึ่งนับเป็นหลังสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ชาวประมงคนอื่นๆได้กลับขึ้นไปอยู่บนฝั่งกันจนหมดตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง

ธอส. จัดทำ 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน จ. อุตรดิตถ์

ธอส. ร่วมให้กำลังใจชาวอุตรดิตถ์ จัดทำ 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติหลังประสบภัยจากพายุฤดูร้อน หนักสุดในรอบ 60 ปี

'สมศักดิ์' ประเดิมงานแรก พาหมอไปหาประชาชน ที่จังหวัดสุโขทัย

“สมศักดิ์” ประเดิมงานแรก เปิดโครงการพาหมอไปหาประชาชน ที่จ.สุโขทัย ชี้ เป็นการเพิ่มโอกาสประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงบริการทางการแพทย์ ได้อย่างทั่วถึง-เท่าเทียม เผย จัดโครงการแล้ว 47 ครั้ง มีประชาชนมาใช้บริการกว่า 4 แสนคน เล็ง จัดให้ถึง 90 ครั้ง

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (6) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคอรุม จ.อุตรดิตถ์ ต่อยอดสร้างอาชีพเชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน-ผลิต ‘สบู่น้ำนมข้าว-หอยขมสามรส’

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็น 1 ใน 10 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล “ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับชาติ” ประจำปี 2566