ปภ.รายงานเกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด และวาตภัยใน 3 จังหวัดประสานดูแลและเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย
27 ธ.ค.64 – เวลา 09.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเมื่อวันที่ 24 – 26 ก.พ. 65ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง และปัตตานี รวม 18 อำเภอ 85 ตำบล 277 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,802 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์ภาพรวมทุกจังหวัดระดับน้ำลดลง นอกจากนี้ ยังได้เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี รวม 13 อำเภอ 54 ตำบล 143 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 740 หลัง ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานเมื่อวันที่ 24 – 26 ก.พ. 65 ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง และปัตตานี รวม 18 อำเภอ 85 ตำบล 277 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,802 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต แยกเป็น นราธิวาส เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรือเสาะ อำเภอแว้ง อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งอ อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ และอำเภอสุไหงโก-ลก รวม 32 ตำบล 108 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,264 ครัวเรือน ยะลา เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรามัน อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา และอำเภอกรงปีนัง รวม 38 ตำบล 136 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,114 ครัวเรือน นครศรีธรรมราช ฝนที่ตกหนักทำให้ทะลหนุนสูงเข้าท่วมพื้นที่ตำบลปากพนังตะวันออก อำเภอปากพนัง รวม 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 200 ครัวเรือน พัทลุง เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลควนขนุน อำเภอควบขนุน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ ปัตตานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอแม่ลาน อำเภอหนองจิก และอำเภอโคกโพธิ์ รวม 13 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 224 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์ภาพรวมทุกจังหวัดระดับน้ำลดลง
นอกจากนี้ ยังได้เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี รวม 13 อำเภอ 54 ตำบล 143 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 740 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต แยกเป็น นครศรีธรรมราช เกิดวาภัยในพื้นที่ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา รวม 6 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 17 หลัง สงขลา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอระโนด อำเภอสิงหนคร อำเภอเทพา และอำเภอเมืองสงขลา รวม 19 ตำบล 56 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 233 หลัง ปัตตานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปานาเระ อำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิก และอำเภอโคกโพธิ์ รวม 34 ตำบล 81 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 490 หลัง
สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ซาบีดา' ลุยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานมีฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี
'อนุทิน' นั่งหัวโต๊ะเปิดศูนย์บัญชาการแก้น้ำท่วมทุกมิติ
“อนุทิน” นั่งหัวโต๊ะเปิดกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพิ่มประสิทธิภาพแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ พร้อมจับมือ อว.เปิดวอร์รูมน้ำแจ้งเตือนข้อมูลสถานการณ์การทำงานเป็นเอกภาพ
ปภ.แจ้ง 24 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน
ปภ.แจ้ง 24 จังหวัด เหนือ - อีสาน - กลาง - ใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 3 ส.ค.66
กรมอุตุฯ ออกประกาศฉ.22 เตือน 4 จว.ชายแดนใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 22 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 29-30 มกราคม 2566)
กรมอุตุฯออกประกาศเตือนไทยรับมืออากาศแปรปรวน
นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 3 เมษายน 2565)"
ปภ.สร้างความเชื่อมั่นระบบเฝ้าระวังการเกิดสึนามิของประเทศไทย
16 ม.ค. 2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยแพร่ระบบการติดตามและเฝ้าระวังการเกิดสึนามิของไทย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้มีการติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อประกอบการวิเคราะห์ แจ้งเตือนการเกิดสึนามิ ดังนี้