ชาวบ้านตรังตื่นตัว ร่วมตรวจสอบก่อสร้างถนน สกัดผลาญงบแผ่นดิน

ชาวบ้านตรังไม่นิ่งเฉย เดือดร้อนจากการสร้างถนน ลุยร้องเรียนการรื้อขุดถนนคอนกรีตสร้างใหม่ หวั่นงบประมาณถูกใช้ไม่คุ้มค่า จน ป.ป.ช.ลงพื้นที่ร่วมตรวจสอบ ให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องชี้แจง

20 ก.พ.2565 –  จากกรณีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จากการสร้างถนนสี่แยกควนปริง เส้นทางไป อ.กันตัง และมีการเผยแพร่ทางโซเชียล  ล่าสุด ป.ป.ช.ตรัง ร่วมกับ ชมรมตรังต้านโกง ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนแยกควนปริง ทางหลวงหมายเลข 419 ตอน ถนนวงแหวนรอบเมืองตรัง หลังจากได้รับการร้องเรียนการรื้อขุดผิวถนนคอนกรีตสร้างใหม่ทั้งที่ยังใช้ได้ปกติ นำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ไม่คุ้มค่า

นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง พร้อมด้วย ชมรมตรังต้านโกง นายภูเมธ ปุนทะมุณี วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ นายจิรวุฒิ สุจริตธุรการ นายช่างโครงการ ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนแยกควนปริง ทางหลวงหมายเลข 419 ตอน ถนนวงแหวนรอบเมืองตรัง ซึ่งประชาชนได้ร้องเรียนว่าถนนเส้นดังกล่าวพื้นผิวถนนเป็นคอนกรีตยังใช้ได้ปกติ แต่ได้มีการทำการรื้อขุดผิวถนนคอนกรีตสร้างใหม่ทำเป็นถนนคอนกรีตซ้ำอีก นำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับการทำมาหากินของประชาชนแถวบริเวณแถบนั้นและใกล้เคียง

โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 419 ตอนถนนวงแหวนรอบเมืองตรัง ระหว่าง กม.1+691.000 ถึง กม.8+572.000 ระยะทาง 6.881 กม. ก่อสร้างขยาย จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องทางจราจร (ช่วง บ.นาขา-บ.ควนปริง) งบประมาณก่อสร้าง 400 ล้านบาท เป็นโครงข่ายการเดินทางจากอำเภอห้วยยอดมายังตัวจังหวัดตรัง และสามารถเชื่อมโยงระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ทางน้ำและทางรางที่สถานีรถไฟกันตังและท่าเรือกันตัง    

ซึ่งจากการลงสำรวจพื้นที่พบว่าทางเจ้าหน้าที่ได้เปิดใช้เส้นทางสัญจรเพียงช่องทางเดียวมีรถที่ใช้สัญจรติดยาวเหยียด ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ยังคงลงมือทำงานกันปกติ ถนนบางเส้นยังคงใช้เครื่องจักรขุดเจาะพื้นผิวคอนกรีตออก ถนนบางเส้นจุดเจาะเสร็จแล้วกำลังลังเกลี่ยพื้นผิว

นายราม กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านร้องเรียนให้ช่วยตรวจสอบการรื้อถนนซึ่งก่อสร้างได้ไม่นานและเห็นว่ายังใช้ได้ดีอยู่นั้น ตนเองได้รับการชี้แจงว่าถนนเส้นทางได้ทำการก่อสร้างมาอายุประมาณ 20 ปี คุณภาพของถนนไม่ดี มีสภาพเป็นแนวลุ่ม ลาดเอียง  เป็นหลุม พื้นกระดก ถนนทำคนละครั้งทำให้ถนนไม่เสมอกัน ส่วนตรงกลางสี่แยกเป็นหลุมพื้นต่ำอยู่ น้ำขังทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าคุณภาพพื้นผิวถนนยังดีอยู่ แต่อันที่จริงแล้วถนนเส้นนี้เสื่อมสภาพ ดังนั้นถ้าไม่ดีหรือไม่สอดคล้องกับรูปแบบต้องรื้อปรับปรุงทีเดียวทั้งหมด ซึ่งการก่อสร้างเก่าไม่ได้ตามหลักวิศวกรรม

นายราม กล่าวว่า แต่ทั้งนี้โดยจุดประสงค์มองถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นหลักจึงต้องมีการรื้อทิ้งเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้น แต่ทั้งนี้ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมก็จะประสานกรมทางหลวงชี้แจงข้อเท็จจริงอีกครั้ง  แต่ทั้งนี้มีการยืนยันว่าถึงแม้ถนนจะสร้างไม่นานก็จริงถ้าตามหลักวิศวกรมองว่าถนนไม่มีความปลอดภัยก็จำเป็นต้องรื้อ อาจจะค้านกับสายตาที่ประชาชนมองเห็น ซึ่งต้องมีการประสานในส่วนเชิงนโยบายว่าการจัดโครงการของรัฐควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าด้วย การใช้เงินภาษีของประชาชนให้คุ้มค่าที่สุด

 ขณะที่ นายชัยวุฒิ สวัสดิรักษ์ ประธานชมรมตรังต้านโกง กล่าวว่า ลักษณะของกรมทางหลวงที่มีโครงการพัฒนาเข้ามาพัฒนาในพื้นที่ ที่ชาวบ้านได้ร้องเรียนมา ด้วยความไม่เข้าใจของพี่น้องประชาชนส่วนหนึ่ง เพราะเป็นการขยายถนนสี่เลนรอบวงแหวนรอบเมืองตรัง ทำให้ถนนสี่แยกรอบวงแหวนขาดทำให้ต้องมีการปรับสภาพเพื่อให้มีการรองรับสมบูรณ์แบบ แต่ชาวบ้านมองว่าถนนคอนกรีตเส้นนี้ดีอยู่แล้วแต่ทำไมต้องรื้อทำใหม่ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเงินภาษีของพี่น้องประชาชน แต่เมื่อได้ฟังวิศวกรเขาชี้แจงก็อธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เมื่อถนนตัดใหม่กับถนนเส้นเดิมไม่อยู่ในระนาบเดียวกันก็อาจจะก่อให้เกิดอันตราย จึงจำเป็นต้องปรับแก้ทั้งหมด ซึ่งทางชมรมตรังต้านโกงก็เฝ้าระวังในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ดูแลผลประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน นายภูเมธ ปุนทะมุณี วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า เท่าที่ตนเองมีข้อมูลสี่แยกเส้นนี้สร้างมา 20 ปี แล้ว การปรับปรุงครั้งนี้เพื่อให้เข้ากับรูปแบบและเน้นความปลอดภัยให้มากที่สุด ลดปัญหาอุบัติเหตุ และปัญหาน้ำท่วมขังตรงสี่แยก  แต่ทั้งนี้อาจจะเกิดจากข้อผิดพลาดในการแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าว่าถึงการรื้อก่อสร้างใหม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ย้ำทุกกระทรวงนำข้อมูลช่วยน้ำท่วมเข้า ศปช. ก่อน ลดซ้ำซ้อนจัดสรรงบ

น.ส.แพทองธาร​ ชินวัตร​ นายก​รัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งถึงการเยียวยาผู้ประสบ​อุทก​ภัยรอบ​ 2 จะหารือกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม​ (ศปช.)

'พายุซูลิก' ถล่มมุกดาหาร ฝนกระหน่ำ 10 ชม. น้ำท่วมหลายพื้นที่

เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 19 ก.ย. จนถึงช่วงเช้า 20 ก.ย. นานนับ 10 ชั่วโมง โดยมีฝนตกหนักในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหารหลายแห่ง