เด็กริมโขงเมืองอุบล หวั่นน้ำท่วมบ้านเกิด ยื่นถามผวจ. คืบหน้าเขื่อนสาละวัน

8 ก.พ.2565 - ด.ช.ขจร ป้องพิมพ์ หนึ่งในกลุ่มเด็กไทยฮิมโขงบ้านตามุย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางไปยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าของโครงการสร้างเขื่อนสาละวัน ซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ว่า "ที่ผมกับเพื่อนมาส่งหนังสือ เพราะอยากรู้ว่า เขาจะสร้างเขื่อนที่บ้านพวกเราไหม ถ้าเขาให้สร้าง ให้เรือมาสำรวจ พวกเราก็กลัวต้องย้ายบ้านไปที่อื่น เราไม่อยากให้เขาสร้างเขื่อน"

ด.ช.ขจร กล่าวอีกว่า การเดินทางมาส่งหนังสือนั้น เป็นไปด้วยความสมัครใจของตนเอง และเพื่อนๆ เพราะรู้สึกกังวลใจหากมีการสร้างเขื่อนดังกล่าวขึ้น ตนและครอบครัวก็จะต้องถูกย้ายบ้าน ส่วนอาชีพหาปลาและทำเกษตรริมโขงของชาวบ้านตามุยก็จะต้องจบลง

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมากลุ่มเด็กไทยฮิมโขง ชุมชนบ้านตามุย 13 คนพร้อมพี่เลี้ยงได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากในระยะนี้ชาวบ้านตามุย พบว่ามีเรือน่าสงสัย พร้อมคนงาน และทหารฝั่งสปป.ลาว ได้ทำการสำรวจหาข้อมูลบางอย่างอยู่ชายแดนแม่น้ำโขงไทย-ลาว โดยชาวบ้านเชื่อว่า เรือดังกล่าวลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนเขื่อสาละวันซึ่งเดิมชื่อว่าเขื่อนบ้านกุ่ม โดยจะสร้างบริเวณชายแดนไทย-ลาวด้านอำเภอโขงเจียม และเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูล ได้ส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ และอำนาจการปกครองท้องถิ่นภาคส่วนต่างๆ เพื่อขอเข้าสำรวจพื้นที่ศึกษาข้อมูลบริเวณแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม

ด้านคำปิ่น อักษร ผู้ประสานงานเครือข่ายคนฮักน้ำของบ้านตามุย ที่กล่าวว่า ปัจจุบัน เด็กๆ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามอินเตอร์เน็ต พวกเขามีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องแม่น้ำโขง และวิถีชีวิตของคนน้ำโขง เพราะเติบโตมากับสิ่งเหล่านี้ และมีชีวิตที่จะรักษาสิ่งเหล่านี้ให้อยู่รอดไปจนถึงรุ่นของเขา

"นี่ไม่ใช่แค่เรื่องจิตสำนึก แต่เต็มไปด้วยเรื่องของความรัก ความรู้สึกที่มีต่อชุมชนและบ้านเกิด เราเป็นครู เราก็แนะนำในสิ่งที่เขาชอบ เขารัก ถ้าเขารักถิ่นฐานบ้านเกิด เราก็เห็นดีด้วย ไม่ได้บังคับว่าเด็กๆ ต้องทำอะไรเพื่ออะไร พวกเขารู้จักรักและหวงเเหน อยากปกป้องบ้านตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่ดี”คำปิ่น กล่าว

อย่างไรก็ตาม การส่งหนังสือของเด็กๆถึงผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งนี้ ผู้ว่าฯไม่ได้ออกมารับหนังสือด้วยตนเอง ถึงแม้ว่า เด็กๆ จะเดินทางตากแดดมาเกือบ 80 กิโลเมตร โดยผู้ว่าฯ ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงค์ธรรม ประจำศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีมารับเรื่องแทน และปัดที่จะตอบคำถามต่อเด็กๆ ว่าได้อนุมัติให้บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ เข้าพื้นที่สำรวจพิกัดต่างๆ บริเวณแม่น้ำโขงและชุมชนของเด็กๆ เหล่านี้ แล้วหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการแนะทางแก้ 'ปลาหมอคางดำ' เชื่อแพร่พันธุ์ภาคอีสานยาก

ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้ยังคงไม่พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในภาคอีสาน

ชาวบ้านริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ยื่นจดหมายถึงนายกฯ หวั่นผลกระทบเขื่อนปากแบง

นายทองสุข อินทะวงศ์ อดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นายนิวัตน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ส่งจดหมายถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายกฯ รับฟังปัญหาชลประทาน ที่ดินทำกิน อ.เชียงแสน ชาวบ้านขอผ่อนปรนคนจีนข้ามแดน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบชลประทาน เพื่อการอุปโภคบริโภค และพบปะประชาชน ณ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง

'เศรษฐา' ขนรัฐมนตรีลงพื้นที่อุบลราชธานี

ที่จังหวัดอุบลราชธานี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังบริเวณสี่แยกคําน้ําแซบ อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามโครงการก่อสร้าง “แยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงที่ 231

นายกฯ ถึงอุบลฯ ไหว้พระ เดินชมตลาด สส.ไทยสร้างไทยหน้าเดิม รอต้อนรับด้วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กราบนมัสการพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โดยนายกฯได้ถวายขันหมากเบ็ง จากนั้นได้กราบนมัสการและสนทนาธรรมกับพระวชิรกิจโกศล (พระครูสารกิจโกศล) เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี