แฟ้มภาพ:แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงจังหวัดอ่างทอง
19 ต.ค.2564 - เมื่อวันที่ 18 ต.ค. เวลา 21.00 น. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 20 – 30 ตุลาคม 2564 จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ เฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมพร้อมรับมือ แจ้งจังหวัดประสาน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ว่า ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) คาดการณ์ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากแม่น้ำปิง จะทำให้มีน้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มสูงสุดจากอัตรา 2,484 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 3,000 – 3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564
โดยจะบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการหน่วงน้ำและผันน้ำเข้าคลองต่าง ๆ ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่าน อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.20 – 0.40 เมตร ในช่วงวันที่ 23 – 30 ตุลาคม 2564
สำหรับแม่น้ำท่าจีน มีปริมาณน้ำไหลล้นข้ามทางระบายน้ำล้น เขื่อนกระเสียว และไหลไปสมทบกับปริมาณน้ำท่าที่เกิดจากฝนตกด้านท้ายเขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงแม่น้ำท่าจีน 150 – 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ จะบริหารจัดการโดยผันน้ำเข้าทุ่งโพธิ์พระยา เพื่อลดปริมาณน้ำหลาก ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.30 – 0.50 เมตร ในช่วงวันที่ 20 – 27 ตุลาคม 2564
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสาน 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร รวมถึงกรุงเทพมหานคร ตลอดจนศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม และระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรทางน้ำ ตลอดจนประสานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้อยู่ในสภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันระดับน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ
อีกทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับประชาชนหากพบเห็นหรือได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ธนกร’ ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักจี้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือ
“ธนกร” ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักหลายจังหวัด ขอ รัฐบาล-ส่วนราชการเร่งช่วย หลังถูกพายุถล่มระลอก 2 ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทำถนนสายเอเชีย 41 จมบาดาล ถูกตัดขาดการเดินทาง-น้ำ-ไฟ ฝากดูแล ผู้ป่วยติดเตียง คนแก่ วอน กองทัพรุดอพยพด่วน
ใต้อ่วม! ทางรถไฟ-ถนนขาด
ฝนตกหนักน้ำท่วม เส้นทางลงใต้อัมพาต ทางขาดทั้งรถไฟและถนนสายเอเชีย รถไฟไปต่อไม่ได้ ติดค้างที่ชุมพรเพียบ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ส่วนที่นครศรีฯ น้ำทะเลจ่อหนุนซ้ำเติม
นายกฯแพทองธาร โพสต์โซเชียล สั่งมหาดไทยช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้โดยด่วน
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กและ X ระบุถึงสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดภาคใต้ว่า “เหตุการณ์น้ำท่วมหนักที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และระนอง
ชุมพรอ่วม! ฝนถล่มหนัก ดินถล่มทับบ้าน ถนนสายหลักฝั่งอ่าวไทยถูกตัดขาด
จากสถานการณ์ฝนตกหนักครอบคลุมในพื้นที่ จ.ชุมพร ทั้ง 8 อำเภอ ตั้งแต่วันที่ช่วงค่ำวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร
นครศรีธรรมราช-ชุมพร ระดับน้ำท่วมสูง ปภ.วางกำลังพร้อมช่วยเหลือประชาชน
นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลัง
ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนช่วยเหลือฟื้นฟูหลังอุทกภัยภาคใต้
นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้ามอบสมุด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care อาทิ หน้ากากอนามัยฯ น้ำยาทำความสะอาดพื้นและฆ่าเชื้อโรค