'เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี' ทำโครงการผสมเทียมสัตว์ป่า เพื่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ที่สำคัญและหายากตามบัญชี IUCN/SEAZA ก่อนไม่มีให้เห็น
21 ม.ค.2565- สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แจ้งว่า ได้มีการเดินหน้าทำโครงการผสมเทียม (AI-Artificial Insemination) สัตว์ป่า เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญและหายาก โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ในด้านการวิจัยตามยุทธศาสตร์ในการจัดการประชากรของสายพันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์
โดยนายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร เปิดเผยว่า เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นหนึ่งในแหล่งที่ดูแล รวบรวมสายพันธุ์ของสัตว์ป่าที่สำคัญและหายากไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งพันธุ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งในระดับนานาชาติได้มีการศึกษาวิจัย เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าเหล่านี้อยู่หลายหน่วยงาน เช่น WAZA (The world zoo and aquarium association) ได้กำหนดหน้าที่ของสมาชิกสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในระดับโลก ให้ตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้การสนับสนุนความรู้ด้านการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ตามรายชื่อในบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red list) หรือ SEAZA (South East Asian Zoo Association) โดยมีเป้าหมายในการจัดการประชากรของสายพันธุ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของภูมิภาคในสวนสัตว์อย่างยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์
นายสายสิทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนสัตว์ป่าหลายชนิดที่มีการลดลงอย่างต่อเนื่องในธรรมชาติ เช่น เสือปลา กวางผา เลียงผา เสือดำ/ เสือดาว หมีหมา หมีควาย กระทิง วัวแดง สุนัขจิ้งจอกสีทอง หมาไน ฯลฯ อันเนื่องมาจากมีการบุกรุกของมนุษย์ จึงทำให้จำนวนของสัตว์ป่าบางชนิดมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศทั่วโลกก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการที่จะช่วยอนุรักษ์พันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป โดยใช้วิธีที่เรียกว่า “เทคโนโลยีช่วยสืบพันธุ์ในสัตว์ป่าหายาก” (Assisted reproductive technology for endangered species) ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การตรวจฮอร์โมน การตรวจ DNA การทำน้ำเชื้อแช่แข็ง เซลล์ต้นกำเนิดแช่แข็ง วิธีการเหนี่ยวนำการตกไข่ และการผสมเทียม
ทั้งนี้ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพเชียงใหม่ เลือกทำการวิจัยทางด้านการรีดน้ำเชื้อ การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ การทำน้ำเชื้อแช่แข็งและการผสมเทียม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้ทั่วโลก มีความปลอดภัยสูงต่อสัตว์และสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ได้อย่างสมดุลในธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินโครงการผสมเทียม (AI-Artificial Insemination) สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ที่เป็นโครงการต่อเนื่องในการวิจัยและอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ป่าหายากของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นำขบวนพาเหรดสัตว์ร่วมพิธีรดน้ำดำหัว สืบสานประเพณีปีใหม่เมือง
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สร้างสีสันรับวันสงกรานต์ 2567 นำขบวนพาเหรดสัตว์ร่วมพิธีรดน้ำดำหัว สืบสานประเพณีปีใหม่เมือง
เปิดตัว 'น้องหน้าขาว' หมีควาย ตัวตึงหนึ่งเดียวแห่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โดยสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เปิดตัว “น้องหน้าขาว” หมีควายตัวตึงหนึ่งเดียวในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ จนเป็นที่มาที่ทำให้นักท่องเที่ยวมาตามหาและมาดูความน่ารักกันอย่างล้นหลาม
ครั้งแรกกำเนิดรุ่นหลาน 'กระเรียนพันธุ์ไทย' หลังปล่อยรุ่นลูกคืนสู่ธรรมชาติ
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า จากการติดตามของคณะเจ้าหน้าที่ ได้พบนกกระเรียนพันธุ์ไทย
อย่าให้สูญพันธุ์ 6 องค์กร ร่วมด้วยช่วยกัน เพิ่ม 'เสือโคร่ง' ผืนป่าตะวันตก
นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง) เปิดเผยเมื่อ 2 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ตามนโยบาย ทส.เป็นหนึ่งเดียว และทส.ยกกำลังX ของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พบ 'จระเข้น้ำจืด' สายพันธุ์ไทยต้นแม่น้ำเพชร สะท้อนป่าแก่งกระจานสมบูรณ์มากขึ้น
นายอิทธิพล ไทยกมล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 17 - 22 มกราคม 65ที่ผ่านมา ฝ่ายศึกษาและวิจัย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย
'เจ้าด้วน' ช้างป่าอายุ 50 อาการดีขึ้นแล้ว หลังประสานงาช้างหนุ่มกว่า
นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ได้รับรายงานจาก นายอิทธิพล ไทยกมล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ว่าพบช้างป่า (เจ้าด้วน)ได้รับบาดเจ็บ ที่บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำกระหร่าง 3 หมู่