'นครพนม' ขานรับ 'ธวัชบุรีโมเดล' นำร่อง อ.ศรีสงคราม เส้นทางโจรลำเลียงยาบ้าเข้าตอนใน

16 พ.ย.2567 - ที่ห้องประชุมพระธาตุธาตุพนม ชั้น 5 ศาลากลาง จงหวัดนครพนม พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 (ผอ.กอ.รมน.2) ผู้บัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 (ผบ.นบ.ยส.24) และ พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตำรวจแห่งชาติ (จรช.) พล.ต.ท.สยาม บุญสม จเรตำรวจ (จรต.) พล.ต.ท.อุดร ยอมเจริญ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.) พล.ต.ต.ณัฐนนท์ ประชุม รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (รอง ผบช.ภ.4) นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมประชุมบูรณาการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบาย ข้อสั่งการการป้องกันยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่จังหวัดนครพนม

โดยรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันยาเสพติด การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด การสร้างอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู การสนับสนุนและการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อรับทราบข้อมูล สถานการณ์ในพื้นที่ ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้มอบแนวทางการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล

ในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นความลับระดับหนึ่ง โดยไม่ให้สื่อมวลชน หรือบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ภายในห้อง ในการนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ครั้งลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และพึงพอใจในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีหลักการสำคัญคือการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อเข้าถึงและแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การบำบัด และการฟื้นฟู จึงเกิดเป็นโครงการ”ธวัชบุรีโมเดล” เป็นต้นแบบนำร่องขยายผลการดำเนินการไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามภูมิภาค

โดยเริ่มก่อนที่จังหวัดนำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ อุทัยธานี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ สกลนคร นครพนม ระยอง นครศรีธรรมราช ตรัง และนราธิวาส

ในส่วนของ จ.นครพนม ถือเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ ลำเลียงสิ่งผิดกฎหมายข้ามลำน้ำโขงประจำ ส่วนหนึ่งมีคนของรัฐ และนักการเมืองท้องถิ่นบางคนเอี่ยวด้วย โดยใช้เงินจ้างชาวบ้านริมแม่น้ำโขงเป็นหูเป็นตา สอดส่องบุคคลแปลกหน้า รวมถึงใช้เป็นที่พักยาเสพติด ก่อนจะอาศัยจังหวะลำเลียงเข้าพื้นที่ตอนใน

ทั้งนี้ จากสถิติการตรวจยึดจับกุม พบว่าส่วนใหญ่แก๊งค้ายาบ้า จะใช้เส้นทางผ่าน อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และจะนำยาเสพติดมาพักเพื่อรอการส่งต่อ ลักษณะขนขยับจากริมแม่น้ำโขง เข้ามาไว้ในพื้นที่ ก่อนจะลำเลียงเข้าตอนในไป จนกว่าจะถึงมือเอเยนต์ใหญ่

ในที่ประชุมจึงให้เริ่มโครงการดังกล่าว ในพื้นที่ อ.ศรีสงคราม เป็นอันดับแรก โดยไม่มีการทำงานทับซ้อนกับหน่วยสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 (นบ.ยส.24) ที่ตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2566 แต่จะเป็นการทำงานคู่ขนานกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังคาดโทษคนของรัฐที่มีส่วนรู้เห็น สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ไม่มีใครให้ข้อมูล เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็นความลับ ถ้ามีการรั่วไหลออกไป จะต้องมีคนในที่ประชุมเท่านั้นที่รู้ และมีรายชื่อไว้ก่อนเข้าประชุมทุกคน

ด้าน พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตำรวจแห่งชาติ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” จึงได้จัดประชุมคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.นครพนม เพื่อมอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” ที่เคยได้ดำเนินการใน จ.ร้อยเอ็ด รวมทั้งเพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ จ.นครพนม ซึ่งได้มีการชี้แจงให้ที่ประชุมทราบวัตถุประสงค์กรอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีความสุข โดยได้มีการพิจารณาการมอบหมายหน้าที่และแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

ทั้งนี้ ในการประชุมฯ ได้มีการนำเสนอโดยการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันยาเสพติด การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด การสร้างอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู การสนับสนุนและการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อรับทราบข้อมูล สถานการณ์ในพื้นที่ ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้มอบแนวทางการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเดือดร้อนจากปัญหายาเสพติดให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจังหวัดนครพนมได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 (นบ.ยส.24) เพื่อให้เกิดการดำเนินการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อนึ่ง จ.นครพนม จะยกระดับการแก้ไขปัญหายาเสพติด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ใช้รูปแบบ 'ธวัชบุรีโมเดล' มาเป็นแนวทางในการดำเนินการและกำหนดขั้นตอนดำเนินการไว้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นส่งต่อ ความยั่งยืน ขั้นทบทวนหลังการปฏิบัติ และขั้นขยายผลไปพื้นที่อื่น

รวมทั้งยังกำหนดความรับผิดชอบให้แต่ละส่วนราชการ ได้แก่ จังหวัดนครพนม และ ศอ.ปส.จว.น.พ. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ในการวางแผน อำนวยการ บูรณาการ ประสาน และควบคุมกำกับดูแล รวมทั้งขับเคลื่อนการสร้างหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม และตำรวจปราบปรามยาเสพติด รับผิดชอบหลักในมาตรการสกัดกั้น และมาตรการปราบปราม เน้นสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่เขตของจังหวัด การปิดล้อมตรวจค้น ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม (สสจ.ฯ) รับผิดชอบหลักในมาตรการบำบัด เน้นการคัดกรอง แบ่งแยกผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด ก่อนนำเข้าบำบัด ตามระดับความรุนแรง สำนักงานแรงงาน และพัฒนาชุมชน ฯ รับผิดชอบหลักให้การช่วยเหลือ ภายหลังผ่านกระบวนการบำบัด โดยการจัดหางานสนับสนุน การฝึกอาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนมณฑลทหารบกที่ 210 (มทบ.210) เป็นหน่วยร่วมในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับทุกส่วนราชการที่เป็นหน่วยปฏิบัติหลัก และเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยจึงได้กำหนดตารางประสานสอดคล้องให้ครอบคลุม ทั้งภารกิจ หน่วยปฏิบัติหลัก และหน่วยสนับสนุน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจแถลงจับเครือข่ายยาบ้ารายใหญ่ ของกลางยาบ้า 41 ล้านเม็ด

ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี, พล.ต.ท.สำราญ นวลมา และ พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. ,พล.ต.ต.สมบูรณ์ เทียนขาว รอง

ยายวัย 71 เปิดบ้านขายยาบ้าให้กลุ่มวัยรุ่น ได้กำไรเม็ดละ 7 บาท อ้างหาเงินรักษาตัว

นายฉัตรชัย เย็นทรวง ปลัดอำเภอ ฝ่ายความมั่นคง ที่ทำการปกครองอำเภอป่าโมก ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ป่าโมก เจ้าหน้าที่ อส. เข้าตรวจค้นปิดล้อม บ้านเป้าหมายในพื้นที่ ม 4 ตำบลเอกราชอ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พบสภาพเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น จากการตรวจค้นสามารถจับกุม นาง ทอง (นามสมมติ) อายุ 71 ปี

ตม.นครพนม คุมเข้มสกัด 'แก๊งสแกมเมอร์ทิพย์' ปมเจ๊อ้อยโอนเงิน 39 ล้าน

กรณี ตำรวจกองปราบปราม กองบังคับการ 3 ร่วมกับชุดสืบสวนของกองกำกับการ 5 ตำรวจทางหลวง นำกำลังเข้าสกัดจับกุม ทนายตั้ม-นายษิทรา เบี้ยบังเกิด อายุ 43 ปี ในคดีหลอกลวงเงิน น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เจ๊อ้อย ตามหมายจับศาลอาญา

น้ำท่วมใหญ่ชายแดนไทย ทำสถานการณ์ยาเสพติดรุนแรงมากขึ้น

พลโทกิตติพงศ์ ชื่นใจชน แม่ทัพน้อยที่ 3 ในฐานะผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (ผบ.นบ.ยส.35 ) เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 10.30 น.ของวันนี้ เจ้าหน้าที่กองกำลังผาเมือง(กกล.ผาเมือง)

พี่สาวร่ำไห้ตามหา 'ครูวี' เจอมรสุมชีวิตทับถม ชิงลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้าง

กรณีมีข่าวลือหนาหูว่ามีครูชำนาญการพิเศษ ลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้างในกรุงเทพฯ หลังประสบมรสุมชีวิตอย่างเดียวดาย และล้มป่วยสารพัดโรค ก่อนจะตัดสินใจลาออก เพื่อรับเงินบำเหน็จ นำไปใช้หนี้เงินกู้