1 พ.ย. 2567 – นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้มีผลกระทบในวงกว้างทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาค SMEs ที่ยังกำลังฟื้นตัวจากโควิด-19 มาไม่นาน ยังมีภาระหนี้ สภาพคล่อง ขาดโอกาสทางการตลาดมาเจออุทกภัยเหมือนเป็นการซ้ำเติมอีกระลอก ทั้งนี้ประเมินผลกระทบภาพรวมไม่น้อยกว่า 6 – 7 พันล้านบาท จึงต้องการการให้รัฐบาลออกนโยบายผ่านสถาบันการเงินผ่อนปรนเรื่องดอกเบี้ย ระยะ 6 เดือน ซึ่งทางออมสินและ SME Bank ได้ออกมาตรการแล้ว
แต่ในระยะยาวเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุน SMEs ระดับอำเภอเพื่อให้เกิดระบบการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่และมีภูมิต้านทาน, การกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นและการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวในภาคเหนือให้เกิดอย่างต่อเนื่องและกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนให้สูงขึั้น โดยมีข้อเสนอของภาคเอกชนในนาม กกร. เชียงใหม่ ที่เป็นภาพรวมในการเกื้อหนุน SMEs ด้วยเช่นกัน ในโอกาสที่จะมีการประชุม ครม.สัญจร ที่เชียงรายและเชียงใหม่ปลายเดือนนี้ โดยมีแนวทางดังนี้
จากข้อมูลสรุปรายงานผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณการมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ผู้ได้รับผลกระทบ 150,000 ราย เป็นความเสียหายบุคคลไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท ความเสียหายครัวเรือน(รวมท่วม 2 รอบ) 20,000 ครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ภาคธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว ผลกระทบไม่ต่ำกว่า 2,800 ล้านบาท มีโรงแรมในกลุ่ม SMEs 23 แห่ง บริษัท ธุรกิจ กิจการห้างร้าน SMEs ผลกระทบไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท กกร.เชียงใหม่สรุปข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนในการฟื้นฟูกิจการของผู้ประกอบการ โดยขอรับการสนับสนุนด้านมาตรการทางการเงินจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างน้อย 12 เดือน ระหว่างตุลาคม 2567-กันยายน 2568 ปรับลดค่างวดการชำระหนี้ลง 50% และปรับลดดอกเบี้ยลง 1% ต่อปีนาน 12 เดือน ระหว่างตุลาคม 2567 – กันยายน 2568 ผู้ได้รับผลกระทบสามารถกู้เงินซ่อมแชมบ้านและสถานประกอบการได้ 100% และเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ
เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยสถาบันการเงินของรัฐ หรือกองทุนประชารัฐจากกระทรวงอุตสาหกรรม ควรมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อหมุนเวียนและฟื้นฟูกิจการ ขอให้สรรพากรมีมาตรการผ่อนผัน ยกเว้นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบสูงอย่างน้อย 1 ปี เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล ขยายเวลาการยื่นภาษี การอุดหนุนสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยให้หน่วยงานรัฐและเอกชนต่างๆพิจารณาสนับสนุนซื้อสินค้าและบริการผู้ประกอบการในเชียงใหม่ก่อน เพื่อกอบกู้และฟื้นฟูให้ไห้ได้ไวที่สุด ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบจะได้มีกำลังไปต่อได้
ควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการต้นทาง (เกษตรกร) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรม (กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร) อาทิ พักชำระหนีเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม อย่างน้อย 12 เดือน (ตุลาคม 2567 -กันยายน 2568) ปรับลดค่างวดการชำระหนี้ลง 50% และปรับลดดอกเบี้ยลง 1% ต่อปี นาน 12 เดือน(ตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) โครงการสินเชื่อพิเศษ Soft Loan
และการขอรับความช่วยเหลือเยียวยาในการดำรงชีวิตของประชาชนจากรัฐบาลด้านสาธารณูปโภค ควรมีการยกเว้นการชำระค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567 การยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไป สำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน 2567 การดูแลราคาวัตถุดิบอาหาร ตั้งศูนย์สินค้าราคาถูก อุปโภค บริโภค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ยกนิ้วโป้ง! หายป่วย ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด
’นายกฯอิ๊งค์‘ นำคณะลงพื้นที่ร้อยเอ็ด แม้เสียงยังแหบ ยกนิ้วโป้งอาการดีขึ้น เปิดตารางงาน ลุยปัญหายาเสพติด พร้อมพบปะชาวบ้าน ก่อนกลับ กทม. ช่วงเย็น
'ดอยอินทนนท์' หนาว! เริ่มเปิดเส้นทางชมธรรมชาติ
นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กำหนดจัดกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยว
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนอากาศแปรปรวน 2-5 พ.ย.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อากาศเย็นตอนเช้า
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ศปช. ตั้งเป้าลดปล่อยน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเข้าสู่ภาวะปกติใน 10 วัน ภาคใต้ยังมีฝนตก
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) และ ศปช.ส่วนหน้า เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานวันนี้และวันพรุ่งนี้ (31 ต.ค. - 1 พ.ย. 67) ปริมาณฝนจะลดลง