บ้านเดียวได้เงินหมื่น 9 คน รวมเกือบแสน เผยซื้อข้าวสารหอมมะลิเป็นสิ่งแรก

5 ต.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น หลังพบว่ามีผู้ที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาทผ่านสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ครอบครัวเดียวเกือบ 100,000 บาท ตามสิทธิ์ที่ได้รับ ซึ่งล้วนต่างนำไปซื้อข้าวสาร เครื่องอุปโภค บริโภคและใช้จ่ายในครัวเรือน ด้วยบรรยากาศและสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างมาก

นางจินตนา ไกลกลาง อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 42 ต.เมืองพล อ.พล จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ครอบครัวอยู่ด้วยกัน 9 คน ในบ้านเลขที่เดียวกัน ซึ่งในส่วนของตนเองนั้นได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ในกลุ่มคนพิการและกลุ่มเปราะบาง 3 คน รวม 30,000 บาท และได้รับจริงตามวันที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งเมื่อได้รับแล้วก็ไปซื้อข้าวสารแบบยกกระสอบ ในราคาหลายพันบาท โดยตัดสินใจซื้อข้าวหอมมะลิชั้นดีพิเศษ ที่ราคาแพงสุดเพื่อให้ครอบครัวและลูกหลานได้รับประทานกันบ้างกัน และถือเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้รับประทานข้าวหอมมะลิพิเศษชั้นดีที่มีราคาแพง และไม่เคยซื้อข้าวสารจำนวนมากขนาดนี้มาก่อน ที่ผ่านมาก็เพียงซื้อครั้งละ 1-2 กก.จากเงินผู้สูงอายุและเงินคนพิการที่ได้รับ ซึ่งนอกจากจะซื้อข้าวสารแล้วก็ยังคงมีการนำไปซ่อมแซมบ้าน ซื้อของใช้ต่างๆที่จำเป็นของคนสูงอายุและเก็บเงินไว้ใช้จ่ายทั่วไป

“บ้านที่อาศัยอยู่ก็ทรุดโทรม หากนำเงินที่ได้รับของครอบครัวตนเอง ตนกับของน้องสาวอีก 6 คนที่ได้รับมาซ่อมแซมก็คงไม่พอแน่เพราะบ้านชำรุดทรุดโทรมมาก และก็ไม่เคยได้จับเงินเยอะขนาดนี้มาก่อนในชีวิต ดังนั้นเมื่อได้มานอกจากจะซื้อของกิน ของใช้แล้ว ยังนำมาซ่อมแซมบ้านในสิ่งที่ทำได้ ใช้หนี้ต่างๆที่มีและเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตบั้นปลายเพราะปีหน้าไม่รู้ว่าจะอยู่รอดเพื่อรับเงินช่วยเหลือแบบนี้อีกหรือไม่

อยากให้ น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาล ได้พิจารณาช่วยเหลือคนยากคนจน คนพิการ คนเปราะบางหรือผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือ ในระยะที่ 2 ซึ่งไม่ว่าจะให้เท่าไร หรือดำเนินการอย่างไร ขอให้ดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายที่ได้ประกาศเอาไว้ให้ได้โดยสำเร็จจริงๆ”

ขณะที่ นางสมถวิล ใจกลาง อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 42 ต.เมืองพล อ.พล จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ครอบครัวตนเอง ได้รับเงิน 10,000 บาท รวมทั้งหมด 6 คน ในกลุ่มคนพิการและกลุ่มเปราะบาง พอทราบว่าเงินถูกโอนเข้าบัญชี ถึงกับยกมือไหว้ขอบคุณนายกฯทันทีเพราะไม่เคยได้รับเงินก้อนใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ดีใจมาก ดีใจสุดๆ ขอให้นายกฯอุ๊งอิ้ง เป็นนายกรัฐมตรีตลอดไปและให้ออกนโยบายช่วยเหลือประชาชนด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง คนที่รอในระยะที่ 2 ก็รออย่างมีความหวัง จะให้มาก ให้น้อยก็ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาช่วยเหลือตามที่ประกาศเอาไว้ ตนเองก็จะขอมีชีวิตอยู่เพื่อรอรับการช่วยเหลืออีกหากในระยะที่ 3 มีการทบทวนและพิจารณาช่วยเหลืออีกครั้ง

“เงิน 60,000 บาทที่ได้ก้อนใหญ่จริงๆ ชีวิตไม่เคยมีเงินขนาดนี้มาก่อน เงินที่ได้มาก็เอาไปซื้อข้าว ซื้ออาหาร ซื้อแพมเพิสผู้ใหญ่ ใช้หนี้และเอาไว้ให้หลานๆไปโรงเรียน ซึ่งเงินก้อนนี้ยอมรับว่าทำให้ครอบครัวยิ้มได้ และสามารถที่จะซื้อของที่อยากกิน อยากทำและอยากได้"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จีน เร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ จีนจำเป็นต้องส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย เมื่อวันจันทร์ รัฐสภาในกรุงปักกิ่งได้นำมาตรการใหม่มาใช้

‘วราวุธ’ หนุนฟังข้อสังเกตกฤษฎีกา ปม กม.กาสิโน รับห่วงกลุ่มเปราะบาง

‘วราวุธ’ เตรียมเสนอความเห็น พม. ปมกม.สถานบันเทิงครบวงจร รับ ห่วงกลุ่มเปราะบาง ระบุ ต้องพิจารณาตามข้อสังเกตกฤษฎีกา

'จตุพร' ฟาด 'ทักษิณ' สทร.หลอกเสื้อแดงเป็นป้อมปราการ ปู้ยี่ปู้ยำหาประโยชน์ เชื่อละครลวงโลกจวนจบ

'จตุพร' ฟาด 'ทักษิณ' สทร.พูดมากอยากดันเพื่อไทยยิ่งใหญ่เท่า ทรท. ย้อนจะถูกยึดอำนาจปิดฉาก ปชต.อีก ชี้สังคมครหา พิรุธแจกเงินหมื่นหวังคะแนนเสียง จวกปากไม่มีหูรูดพูดเหยียดอัตลักษณ์คนแอฟริกา หลอกเสื้อแดงเป็นป้อมปราการทำปู้ยี่ปู้ยำหาประโยชน์ให้ทุนพลังงาน ลั่นโรงละครลวงโลกจวนจบ

'ดร.อานนท์' ชี้สัญญานเตือนเศรษฐกิจปี 68 น่าจะหนัก แนะเตรียมตัวให้พร้อมหากเกิดวิกฤต

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความว่า

'จุลพันธ์' ยัน เงินหมื่นเฟส 2 จ่ายไม่เกิน 29 ม.ค. ส่วนเฟส 3 ระบบเสร็จ มี.ค. จ่ายได้ไตรมาส 2 ปีนี้

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพัน​ธ์​ อมร​วิวัฒน์​ รมช.คลัง กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ปราศรัยถึงดิจิทัลวอลเลตเฟส 3 ว่

รอรับได้เลย! รัฐบาลแจกเงินหมื่น เฟส 2 มาแน่ภายใน ม.ค.นี้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถดูแลครอบครัวได้