ภาคประชาสังคม นักธุรกิจ นักวิชาการเชียงราย ชงข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาหลังภัยพิบัติ จี้เร่งเคลียร์พื้นที่ให้จบโดยเร็วก่อนเปิดเมือง 1 พ.ย. จัดกิจกรรมใหญ่ท่องเที่ยวให้ทันฤดูกาลหวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
26 ก.ย.2567 - เวลา 14.30 น. ณ ร้านอาหารท่าน้ำภูแล อ.เมือง จ.เชียงราย ได้มีการประชุมของภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและภาควิชาการ เพื่อหารือถึงสถานการณ์การแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมเชียงราย มีนาย ภาคภูมิ ผลพิสิษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ร่วมเป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 30 คน อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจ.เชียงราย องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ และสื่อมวลชน
นางเตือนใจ ดีเทศน์ กล่าวว่าการหารือแลกเปลี่ยนครั้งนี้ เพื่อระดมความรู้ในสถานการณ์และสภาพปัญหาภัยพิบัติเหตุการณ์น้ำกกไหลท่วมเมืองเชียงรายเป็นทะเลโคลน และแนวทางการแก้ปัญหาที่อยากเห็นร่วมกัน โดยก่อนหน้านี้ได้มีการจัดวงแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้มาแล้ว 1 ครั้ง และยังจะจัดต่อไปอีก ซึ่งจะจัดทำข้อเสนอเบื้องต้นให้แก่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีซึ่งจะมาลงพื้นที่ ว่าควรมีหลักการที่ชัดเจนว่าจะแก้ไขและการฟื้นฟูอย่างเป็นระบบได้อย่างไร
“จากการหารือกับชุมชนและองค์กรประชาสังคม เราพบว่าปัญหาหลักๆ คือไม่มีความรู้ หรือข้อมูลต้นน้ำกก น้ำสาย ไม่มีข้อมูลอุทกวิทยา มวลน้ำอยู่เท่าไหร่ จะเดินทางมาถึงท่าตอนเมื่อไหร่ ระบบเตือนภัยอ่อนแอ ประชาชนรู้การเตือนภัยจาก social media แผนจัดการน้ำท่วมอาจจะมี แต่ไม่ได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้การจัดการภัยพิบัติของท้องถิ่นค่อนข้างเข้มแข็ง แต่ปัญหาภัยพิบัติครั้งนี้ใหญ่เกินกำลัง ควรประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานอื่น ภาคเอกชน อาสาสมัคร เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งในการให้ความช่วยเหลือมาก หากไม่มีภาคเอกชนจะเดือดร้อนกว่านี้อีก การจัดการข้อมูลผู้ประสบภัยที่ไม่มี ไม่รู้ใครอยู่ตรงไหนได้รับความช่วยเหลืออะไร” นางเตือนใจ กล่าว
นายภาคภูมิ ประธานหอการค้าเชียงราย กล่าวว่า ผลกระทบเกิดขึ้นกับบ้านเรือน พื้นที่เศรษฐกิจ และกลุ่มเปราะบาง ควรแยกประเภทผู้ประสบภัยให้ชัดเจน สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อ.แม่สาย และเมืองเชียงราย น้ำลดแล้วแต่ต้องทำความสะอาดมากกว่า 1 เดือน หลายพื้นที่อยู่ในสภาพแย่มาก
“น้ำพัดมาครั้งนี้ไม่เลือกหน้า ธุรกิจรายใหญ่อาจฟื้นตัวได้ในเวลา 3-6 เดือน แต่รายย่อย SME หลายเจ้าอาจไม่สามารถกลับมาได้อีกเลย แหล่งเงินทุนในการทำธุรกิจอีกครั้งเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อมีเหตุรัฐบอกจะให้ความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายก็ไปจบที่ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะธุรกิจสะดุดในช่วงภัยพิบัติ ไม่มีการวิ่งของเงิน จะเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งต้องมีข้อยกเว้น การให้ความช่วยเหลืออาจต้องลดเงื่อนไข เมื่อประสบเหตุภาคธุรกิจต้องฟื้นฟู”นายภาคภูมิ กล่าว
ประธานหอการค้าเชียงรายกล่าวว่า รัฐช่วยได้เรื่องภาษี เช่น ลดหย่อยภาษีโรงเรือนซึ่งคิดตามพื้นที่ที่ทำธุรกิจ ซึ่งธุรกิจขณะนี้ต้องหยุดแน่นอนหลายเดือนก็ไม่ควรคิดภาษี สุดท้ายคือด้านแรงงาน เมื่อปิดธุรกิจแต่ยังต้องจ่ายประกันสังคม จ่ายเงินเดือน หากอุ้มไม่ไหว คนงานก็ต้องตกงาน อยากมีข้อเสนอ เช่น ให้ประกันสังคมเข้ามาช่วย หรือมีกลไกแลกเปลี่ยนแรงงานที่ตกงานให้มาช่วยงานอื่นในช่วงฟื้นฟู
นายกิตติ ทิศสกุล ที่ปรึกษาสมาคมสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ กล่าวว่าการบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบ การช่วยคนดูแลคน อาหาร ยา น้ำลดแล้วต้องมีฟื้นฟู มีองค์กรเข้ามาเยอะแต่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ น้ำหลากแบบนี้คนเชียงรายไม่เคยเจอมาก่อน เมื่อน้ำลดลงเห็นความเสียหายมากกว่าที่เคยมีมา น้ำมาเยอะมากเป็นน้ำป่าจากฝั่งพม่า การฟื้นฟูบ้านเรือน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ควรจัดพื้นที่ฟื้นฟูก่อน-หลัง ไม่สะเปะสะปะเช่น ทำความสะอาดลดหลั่นตามความสูง
“เรื่องการสื่อสาร หน่วยงานราชการไม่มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คนจะมาช่วยก็ช่วยกันไปตามที่รู้จัก ควรทำให้มีระบบส่งความช่วยเหลือให้ผู้ที่เดือดร้อน สาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า ชาวบ้านไม่ได้อาบน้ำหลายวัน น้ำไม่ไหล กระทบไปทั่วทั้งเขตประปา คนนอกเขตน้ำท่วมก็โดน โรงแรมถูกยกเลิกทัวร์ยุโรปทั้งหมด สะพานขาดไม่มีการบริหารจัดการ 4 สะพานแม่น้ำกกเคลียร์ไม่ได้ คนตกเครื่องเละเทะ ความเชื่อมั่นในการฟื้นเศรษฐกิจ ต้องมี timeline หน่วยงานราชการสามารถประเมินได้ มีประธานชุมชน มีการเบิกจ่าย รายการความเสียหายรู้อยู่แล้ว มาตรการของรัฐ เทศบาลจ่ายให้ก่อน 2,500 บาท การฟื้นฟูสาธารณูปโภค ถนน ควรใช้งบเร่งด่วนของแต่ละกระทรวง”นายกิตติ กล่าว
นายกิตติกล่าวว่า เราวาง timeline ว่า 1 พฤศจิกายน เปิดเชียงราย การฟื้นฟูทุกอย่างต้องเสร็จ ให้เปิดการท่องเที่ยวเชียงราย มาตรการลดภาษีต่างๆ ระดม อปท.อบต.ศึกษาดูงานพื้นที่เพื่อให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นางนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ กล่าวว่าเหตุการณ์เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเราทำกันเองช่วยเหลือกันเองเราเกือบลืมภาครัฐไปเลย ช่วยกันทำข้าวกล่องแจกผู้ประสบภัย ครึ่งเดือน 50,000 กล่องแล้ว ไม่มีภาครัฐมาช่วย ภาคเอกชนพร้อมร่วมการฟื้นฟูเชียงราย โดยเชียงรายยังสามารถท่องเที่ยวได้หลายจุด จัดคอนเสิร์ตเพื่อแสดงน้ำใจ ภาคเอกชนพร้อมมากในการจัดงานเหล่านี้
ขณะที่ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมเชียงราย กล่าวว่ามีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ มาตรการป้องกันและเยียวยาผู้ประกอบที่ประสบปัญหาอุทกภัย 1. บูรณาการหน่วยงานภาครัฐทั้งกรมชลประทาน กรมโยธาธิการ กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานทหารในพื้นที่ ในการบริหารจัดการน้ำและป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดย 1.1 หน่วยงานรัฐบูรณาการการทำงาน ส่งต่อข้อมูลสถานการณ์น้ำและผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบ เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้กลับสู่สภาพปกติ โดยให้ทันกับฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัดในปีนี้ 1.2 พัฒนาระบบแจ้งเดือนระดับน้ำและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมให้ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่แบบ Real time ผ่านโทรศัพท์มือถือ
2. ออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งการซ่อมแชมเครื่องจักร ฟื้นฟูโรงงานและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน โดยยกเว้นอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก และหลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR/MRR -2 และไม่นำไปเป็นประวัติเครดิตบูโร 3. ออกมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมประจำปี ค่าสาธารณูปโภคและภาษี อาทิ ภาษีนิติบุคคล ภาษีบำรุงท้องถิ่น ภาษีป้าย ภาษีที่ดินฯ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ (รง.4) ค่าน้ำ ค่าไฟ
ส่วนเจ้าของร้านอาหารจอยวอยบีช ริมแม่น้ำกก กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่าครอบครัวได้ลงทุนตั้งร้านแห่งนี้มา 5 ปี น้ำท่วมครั้งนี้ใหญ่ที่สุด น้ำกกพัดพาท่อนซุงมาทำลายร้านหายไปทั้งหมด ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรอีก ตอนนี้หมดตัว ไม่มีทุน ทำเอง จนเวลานี้ไม่มีใครมาช่วยเหลือ หากช่วยเรื่องเงินกู้ ลดดอกเบี้ย เราอยากสร้างให้นักท่องเที่ยวกลับมา
ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า ต้องการให้รัฐเตรียมรับมือแบบใหม่ไม่ใช่แค่น้ำท่วม เป็นสถานการณ์สุดโต่ง ไม่สามารถรับมือแบบเดิมๆ ศูนย์ภัยพิบัติต้องมีเพื่อติดตามทุกภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น เราจะปล่อยให้เรื่องนี้อยู่ในรัฐเท่านั้นไม่ได้ ศูนย์ภัยพิบัติจะเป็นเพียงรัฐไม่ได้ ควรมีกรรมการจากภาคเอกชน ฯลฯ ต้องสร้างระบบเตือนภัย real time warning system เราสามารถแจ้งได้ฉพาะโซนแล้วรับมือพร้อมกัน
“ภัยพิบัติระหว่างพรมแดนเราคิดว่าเราล่วงล้ำไม่ได้ แต่อาเซียนมีข้อตกลงร่วม ครั้งนี้เห็นแล้วว่าน้ำท่วมเสียหาย รัฐบฉานลงมา ไม่สามารถเป็นแค่วอร์รูมที่เป็นรายงานความเสียหายรายวัน วางแผนบนแผนที่ที่เป็นรูปธรรมและสื่อสารไปยังชุมชน เราต้องสำรวจพื้นที่น้ำท่วม ภาพถ่ายดาวเทียมทุกอย่างเรามีหมด การสื่อสารไม่ถูกย่อยให้เป็นภาษาชุมชน” ดร.นิอร กล่าว
ผู้แทน YEC เชียงราย กล่าวว่าหอการค้าตั้งศูนย์รับบริจาค ปฏิบัติการแต่ไม่ทราบข้อมูลเลยว่าตรงไหนได้รับความช่วยเหลือแล้วหรือยัง เราสามาถเตือนภัยได้ ทำระบบให้แจ้งว่าขาดอะไรบ้างแต่ละจุด ไม่ได้คาดหวังว่ารัฐจะช่วยทั้งหมด แต่ทำ platform ขึ้นมาเป็นศูนย์กลาง ศูนย์อำนวยการ และมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน และที่สำคัญต้องเราเห็นแล้วว่าโลกจะมีภัยพิบัติอีกเยอะมาก ศูนย์ติดตามภัยพิบัติสำคัญมากในเวลานี้
ทั้งนี้ในวันที่ 27 กันยายน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะจะเดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดเชียงราย โดยจะมีการปรนะชุมบูรณาการแผนฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่เชียงราย ณ ห้องประชุมท่าอาการยานแม่ฟ้าหลวง และเดินทางไปมอบของให้เด็กนักเรียนที่โรงเรียนเทศบาล 6 ขณะที่ภาคประชาสังคม นักธุรกิจและนักวิชาการ จะยื่นข้อเสนอในการฟื้นฟูเมืองให้นายกรัฐมนตรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวยังพัดแรง ใต้มีฝนเพิ่มตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13 - 27 ม.ค. 68
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือนหนาวจัดลมแรง ทะเลคลื่นสูง 4 เมตร
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องอากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน
อุตุฯ เตือนอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิลดลงอีก ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวพัดแรง ยาวถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 10 - 24 ม.ค. 68
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 5 อากาศหนาวลดฮวบ 3-7 องศา คลื่นลมแรงสูง 4 เมตร
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 5
อุตุฯ เตือนมวลอากาศเย็นระลอกใหม่แผ่ปกคลุม อุณหภูมิลด 1-3 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบนแล้ว