'พายุซูลิก' แผลงฤทธิ์! นครพนมฝนตกหนัก เร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงโขง

20 ก.ย. 2567 – ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครพนมรายงานว่า เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 ก.ย. หลังพายุซูลิกเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศ สปป.ลาว และเข้าสู่พื้นที่ จ.นครพนม ตามลำดับ โดยอิทธิพลของพายุเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนัก คาดตกต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ทั้งนี้เทศบาลเมืองนครพนม เตรียมพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ ได้เดินเครื่องสูบน้ำระบบไฟฟ้าอัตโนมัติขนาดใหญ่ รวม 7 จุด เพื่อระบายน้ำออกจากตัวเมืองลงสู่น้ำโขง แต่ในช่วงนี้ระดับน้ำโขงยังสูง แม้จะลดลงบ้างแล้ว ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 11.70 เมตร ห่างจากจุดเฝ้าระวังล้นตลิ่ง 30 เซนติเมตร คือระดับ 12 เมตร ทำให้มวลน้ำในพื้นที่ รวมถึงลำน้ำสาขาไหลระบายลงน้ำโขงช้า ยิ่งหากมีฝนตกต่อเนื่อง จะต้องเดินเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเร่งระบายมวลน้ำลงโขงให้เร็วที่สุด ป้องกันน้ำรอระบายเอ่อท่วมตัวเมือง ย่านชุมชนเศรษฐกิจการค้า

ส่วนปัญหาน้ำโขงเอ่อล้นทะลักท่วมตัวเมืองนครพนม รวมถึงอำเภอชายแดน 4 อำเภอ มี อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน อ.เมืองนครพนม และ อ.ธาตุพนม ยังมีโอกาสยาก เพราะระดับเขื่อนป้องกันตลิ่งสูง สามารถรองรับน้ำโขงได้ถึง 15 เมตร จะมีเพียงพื้นที่ลุ่มต่ำ รวมถึงพื้นที่การเกษตรติดแม่น้ำโขงที่ได้รับผลกระทบ หากยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องอีกหลายวัน คาดว่าระดับน้ำโขงจะไม่ลดระดับลง เนื่องจากยังมีมวลน้ำจากหลายพื้นที่ไหลมาสมทบ

สำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เนื่องจากเป็นจุดรวมน้ำ สาขาสายหลัก ทั้งลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ไหลมาบรรจบกัน ก่อนไหลลงแม่น้ำโขงที่ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน แต่ในช่วงน้ำโขงสูงหนุน ทำให้ไม่สามารถระบายลงโขงได้ ล่าสุดมีปริมาณเกินความจุถึงร้อยละ 50 จนเอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวของเกษตรกร จำนวนกว่า 50,000 ไร่ โดยหน่วยงานเกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งสำรวจให้การช่วยเหลือชดเชยเยียวยา รวมถึงสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจ โค กระบือ ได้รับผลกระทบไม่มีเริ่มขาดหญ้า

นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนของชาวบ้านบางส่วนเกิดน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่ ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ได้รับผลกระทบหนักสุด เนื่องจากพื้นที่เป็นลักษณะแอ่งกระทะ ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งลำน้ำสาขา ถือเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเกือบทุกปี ชาวบ้านจึงปลูกสร้างบ้านเป็นแบบยกสูง พอน้ำมาต้องอาศัยอยู่ชั้นบน โดยมีภาครัฐให้การดูแลช่วยเหลือ จนกว่าระดับน้ำลด บางปีท่วมขังนานกว่า 2 เดือน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระดมสมองฟื้นฟูเชียงราย ชงข้อเสนอนายกฯอิ๊งค์ เร่งเคลียร์ให้จบก่อนเปิดฤดูท่องเที่ยว

ภาคประชาสังคม-นักธุรกิจ-นักวิชาการเชียงราย ชงข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาหลังภัยพิบัติ จี้เร่งเคลียร์พื้นที่ให้จบโดยเร็วก่อนเปิดเมือง 1 พ.ย.-จัดกิจกรรมใหญ่ท่องเที่ยวให้ทันฤดูกาลหวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

'มาดามแป้ง'ร่วมกับ'ยูนิเซฟ' ลงพื้นที่ช่วยชาวเชียงราย ที่่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นางนวลพรรณ ล่ำซำ หรือ มาดามแป้ง ทูตองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ลงพื้นที่ร่วมกับยูนิเซฟเมื่อวันพุธที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อมอบสิ่งของจำเป็น เช่น ชุดสุขอนามัย เครื่องใช้สำหรับทารก หนังสือและของเล่น ให้กับเด็กและครอบครัว ที่ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดยตั้งแต่เกิดน้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่อื่น ๆ ทางภาคเหนือ

นครพนม ประกาศพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 6 อำเภอ นาข้าวเสียหายกว่าแสนไร่

จ.นครพนม ได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย ล่าสุดรวม 6 อำเภอ ประกอบด้วย  1.อำเภอศรีสงคราม

'หมอประเวศ' ออกบทความ 'บูรณาการฐานแผ่นดินไทยปลอดภัยจากพิบัติ ความยากจน-ฝนแล้ง-น้ำท่วม'

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี ออกบทความเรื่อง “บูรณาการฐานแผ่นดินไทย ปลอดภัยจากภัยพิบัติ 3 ความยากจน ฝนแล้ง น้ำท่วม”