ขยะท่วมเชียงรายหลังอุทกภัย นักวิชาการเสนอแผนจัดเก็บ หวั่นฟื้นฟูล่าช้ายิ่งเสียหายหนัก

ขยะท่วมเชียงรายหลังภัยพิบัติ-เทศบาลให้ประชาชนนำมากองรวมก่อนวางแผนจัดเก็บ นักวิชาการ ม.แม่ฟ้าหลวงเสนอทำงาน 24 ชั่วโมงแบ่งเป็น 3 กะ หวั่นฟื้นฟูช้าเศรษฐกิจพัง จี้นายกฯ-รมว.มท.สั่งการ

17 ก.ย.2567 - นายสืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และอาสาสมัครศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.เชียงราย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การช่วยเหลือ เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ในเมืองเชียงราย ว่า เท่าที่ได้ลงพื้นที่พบว่า ขณะนี้มีปริมาณขยะจำนวนมหาศาลที่ประชาชนนำมากองไว้หน้าบ้านหรือริมถนนเพื่อรอให้รถขยะของเทศบาลมาขนไป ซึ่งเทศบาลเมืองเชียงรายได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนมาช่วยขนแต่ก็ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมากมาย

“ผมขอเสนอแนวคิด 24 Hours Big Cleaning Chiang Rai City เพราะทุกวันนี้หน่วยงานรัฐทำงานฟืนฟูตามเวลาราชการ 8.00 - 16.00 น. ซึ่งไม่มีทางช่วยเหลือประชาชนได้ทัน และไม่สามารถฟื้นฟูเมืองสำเร็จ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งล้างบ้าน ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดบ้านประชาชนในเขตตัวเมืองเชียงราย ติดน้ำกก 24 ชั่วโมง”นายสืบสกุลกล่าว

นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า การทำงานตลอด 24 ชั่วโมงโดยการแบ่งเป็นกะ ดังนี้ กะที่ 1 เวลา 24.00 - 8.00 น.รถขยะเข้าเก็บกวาดกองขยะที่ตั้งข้างทางออก เพราะเป็นเวลาประจำของหน่วยเก็บขยะ กะที่ 2 เวลา 8.00 - 16.00 น. รถไถเกรด-ตักดินโคลนตามถนนและซอกซอยใส่รถบรรทุก 6 ล้อเอาอออกไปทิ้ง ขณะเดียวกันต้องมีรถน้ำราดถนนทุกชั่วโมง เพื่อลดฝุ่นในชุมชนและตัวเมือง และกะที่ 3 เวลา 16.00 - 24.00 น. รถน้ำเข้าล้างบ้านประชาชน ทำการล้างบ้านเรือนประชาชนที่กวาดโคลนออกแล้ว

ทั้งนี้เราต้องขอความร่วมมือประชาชนงดใช้รถยนต์สัญจรเข้าออกชุมชนเกาะลอยโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี้ยงปัญหารถติดซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาหลายวันที่ผ่านมา ขณะที่การส่งอาหารให้ชาวบ้านอาจต้องใช้รถจักรยานยนต์ เพื่อความคล่องตัว

“เราต้องขอกำลังรถขนขยะ รถแทรกเตอร์ รถน้ำจากเทศบาลและจังหวัดข้างเคียงมาช่วย สำหรับพี่น้องประชาชนต้องใช้เวลากลางวันทำความสะอาดบ้านของตัวเองไปด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องลงมาสั่งการด้วยตัวเอง เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายนับวันถอยหลังเกษียณอายุราชการ ส่วนเทศบาลนครเชียงรายกับองค์การบริหารจังหวัดเชียงรายก็ดูจะอยู่คนละขั้วการเมือง ส่วนสส.ทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านก็ไร้น้ำยาทั้งคู่”นักวิชการการผู้นี้ กล่าว

นายสืบสกุลกล่าวว่า ตอนนี้น้ำกำลังเน่าและส่งกลิ่น ส่งผลกระทบด้านจิตใจเพราะประชาชนต้องดมกลิ่นน้ำเน่าจากชั้นล่าง และเมื่อออกไปนอกซอยก็เจอน้ำเสียเช่นกัน ดังนั้นถ้าไม่จัดระบบใหดี ก็จะทำให้การเยียวยายืดเยื้อ ยิ่งปล่อยระยะเวลาเนิ่นนานก็น่าเป็นห่วงเรื่องการส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจย่ำแย่ เพราะรากฐานทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวยาก ดังนั้นเราควรเร่งทำความสะอาดให้เร็วที่สุด

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าวว่า ปัญหาเรื่องการจัดการขยะได้มีการหารือกันในศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินถล่ม จังหวัดเชียงราย โดยได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนรวบรวมข้าวของที่จะทิ้งมากองไว้หรือเอามารวมในพื้นที่ที่ชุมชนจัดไว้ หลังจากนั้นเทศบาลนครเชียงรายจะวางแผนในการจัดเก็บ อย่างไรก็ตามขยะจำนวนมากต้องใช้เครื่องจักรในการจัดเก็บ ส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลก็ให้ท้องถิ่นนั้นๆดำเนินการ

“ส่วนที่เป็นห่วงเรื่องฝุ่นจากโคลนที่แห้งนั้น เพราะตอนนี้เรายังล้างถนนไม่เรียบร้อยเพราะต้องช่วยกันล้างบ้านประชาชนก่อน พื้นที่ท้องถนนค่อยแก้ปัญหาในลำดับต่อไป และตอนนี้พื้นที่ไหนมีฝุ่นเยอะอาจต้องใช้หน้ากากกันไปก่อนซึ่งจะแจ้งให้ฝ่ายสาธารณสุขช่วยประชาสัมพันธ์”นายประเสริฐ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าทางจังหวัดเชียงรายได้ตั้งกองบัญชาการในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายประเสริฐกล่าวว่า มีแต่ไม่ค่อยปรากฏอยู่ในสื่อมวลชน จริงๆแล้วทางจังหวัดได้ดึงฝ่ายต่างๆเกือบทุกด้านเข้ามาร่วมทำงานอยู่แล้ว และได้มีการหารือกันทุกวันเพื่อแก้ไขปัญหา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จบภารกิจช่วยน้ำท่วมแม่สาย 'กอล์ฟ' ขอบคุณอาสาสมัครทุกคน

เป็นอีกคนที่เคลื่อนไหวเป็นกลุ่มแรกๆในการช่วยเหลือพี่น้องชาวเรียงรายจากเหตุการณ์น้ำท่วม สำหรับ กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ หรือ ณัฐวุฒิ ศรีหมอก ที่ล่าสุดหลังเจ้าตัวและทีมอาสาสมัครส่งรถบรรทุกของบริจาคคันที่ 8 ขึ้นแม่สายเป็นที่เรียบร้อย ก้ได้โพสต์ขอบคุณทุกคนที่ยื่นมือเข้ามาช่วยทำบุญกันครั้งนี้

อธิบดี ปภ. เผยสถานการณ์น้ำท่วมอีสานดีขึ้น ยันน้ำเหนือไม่กระทบภาคกลาง

นายชัยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย (ปภ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคนถล่ม ถึงกรณีสถานการณ์มวลน้ำจากภาคเหนือ

เจ้าฟ้าทีปังกรฯ ทรงห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วมเชียงราย-น้ำท่วม

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบอุทกภัย ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำจังหวัด เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค

บทเรียนน้ำท่วมเชียงราย กลไกเตือนภัยไร้ระบบ

เหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงรายรุนแรง มีผู้คนจมน้ำสังเวยชีวิต ดินสไลด์ทับตาย ถูกน้ำพัดสูญหาย   ส่วนผู้รักษาชีวิตรอดจากภัยพิบัติครั้งนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก บ้านเรือนถูกน้ำเข้าท่วมมิด ทรัพย์สินเสียหายแบบเรียกคืนมาไม่ได้ ขณะที่อีกหลายพื้นที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

อนาคตแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับเป้าหมาย"ไม่สร้างขยะ"เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนน

ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao

ทหารไม่ทิ้งประชาชน ‘บิ๊กทร.’ ลั่น!อยู่เคียงข้างผู้ประสบภัย / ‘อิ๊งค์’ บริหารผ่านโซเชียล

บิ๊ก ทร.ลั่น! “ทหารเรือ อยู่เคียงข้าง ไม่ทอดทิ้งประชาชน” กองทัพระดมสรรพกำลังช่วยประชาชนประสบอุทกภัย นายกฯ ใช้โซเชียลแจ้งส่ง "อนุทิน"