นครพนม 4 อำเภอติดริมโขง ยังรับมวลน้ำไหว แต่ลำน้ำสาขาอ่วมจมนาข้าวมิด

นครพนม ไล่เรียง 4 อำเภอชายแดนติดลำโขง ยังรับมวลน้ำไหวท่วมส่วนน้อย แต่ลำน้ำสาขาอ่วมจมนาข้าวมิด ปศุสัตว์ส่งมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน

16 ก.ย..2567-ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครพนมได้ไล่เรียงพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงเอ่อล้นตลิ่ง แม้ล่าสุดระดับน้ำจะจ่อถึงจุดวิกฤตที่ประมาณ 11.60 เมตร ซึ่งห่างจากจุดล้นตลิ่ง ถือเป็นจุดเตือนภัยธงสีแดงคือที่ 12 เมตร เหลือแค่ 40 เซนติเมตร ก็เป็นจุดเฝ้าระวัง ขณะที่เทศบาลเมืองนครพนม ยังคงตั้งเป็นธงสีเหลือง แจ้งบอกประชาชนในพื้นที่ และทั้ง 25 ชุมชนทราบอย่างทั่วถึง

จากการตรวจสอบพื้นที่ทั้ง4 อำเภอชายแดน ได้แก่ อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน อ.เมืองนครพนม และ อ.ธาตุพนม พบว่ายังได้รับผลกระทบน้อย สามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก เกิดจากปัจจัยสำคัญคือไม่มีฝนตกซ้ำ หรือถ้าตกก็เป็นปริมาณน้อย ทำให้มวลน้ำส่วนใหญ่จากพื้นที่ภาคเหนือ เข้าสู่เขต จ.นครพนม เริ่มที่ อ.บ้านแพง พบว่าส่วนใหญ่กระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณบ้านดอนแพง เขตเทศบาลตำบลบ้านแพง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำแต่เดิม มีบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ลำน้ำโขง ประมาณ10 หลังที่ได้รับผลกระทบ แต่เจ้าของบ้านยังใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจ ย่านชุมชนในตัวอำเภอ ยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระดับน้ำยังอยู่อีกไกล โอกาสท่วมมีน้อยมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากพื้นที่ริมตลิ่งกว่า 1 กิโลเมตร เฝ้าระวังเฉพาะลำน้ำสาขาสายหลัก ที่ไหลระบายลงน้ำโขงไม่ทัน

ถัดมาในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อย ยังไม่มีบ้านเรือน ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ ได้รับความสียหายจากน้ำโขงล้น เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง และมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวเขตเทศบาลตำบลท่าอุเทน นอกจากนี้ในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวมถึงเขตเทศบาลเมืองนครพนม ระดับน้ำโขงสูง แต่ยังห่างระดับเขื่อนกั้นตลิ่งอีกหลายเมตร สามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระดับจุดวิกฤตที่ 12 เมตร ถือเป็นระดับเก่าที่สมัยยังไม่มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม้จะสร้างเขื่อนเสร็จนานนับสิบปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่เปลี่ยนระดับจุดวิกฤต

ดังนั้นพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองฯ ยังมีระดับห่างจากน้ำโขงประมาณ 4-5 เมตร โอกาสที่จะล้นท่วมตัวเมืองน้อยมาก แต่จะไหลท่วมเพียงพื้นที่ลุ่มต่ำเท่านั้น ล่าสุดจุดเชื่อมเขตต่อเขตของเขื่อนป้องกันตลิ่งในพื้นที่ ต.ท่าค้อ อ.เมืองนครพนม  บริเวณตรงข้ามกับวัดพระธาตุศรีโคตะบอง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังหากมีมวลน้ำจากทางเหนือไหลสมทบ เพราะเป็นจุดที่ออกแบบก่อสร้างทางต่ำกว่าบริเวณอื่น มวลน้ำจึงไหลท่วมถนน รถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้  และ อ.ธาตุพนม ยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะก่อสร้างเขื่อนกันตลิ่งสูง อีกทั้งเป็นพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดฯ ไม่มีมวลน้ำไหลมาสมทบ ทำให้น้ำโขงระบายเร็ว

ภาพรวมในพื้นที่ จ.นคพรนม ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ พื้นที่ติดลำน้ำสาขาสายหลักทางโซนเหนือ เช่น  ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ที่ไหลมารวมกันที่ อ.ศรีสงคราม ก่อนที่จะไหลลงน้ำโขง บริเวณ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน ทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงหนุนสูง ไม่สามารถไหลระบายลงได้  เกิดปัญหาเอ่อล้นที่ลุ่ม เช่น พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 70,000 ไร่ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ โดยนายสามารถ อ่อนสองชั้น ปศุสัตว์จังหวัดนครพนม ร่วมกับนายพินิจ ศรีเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครพนม และเจ้าหน้าที่ได้ส่งมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเกิดอุทกภัย ตามจุดเสี่ยงที่จะเกิดจากมวลน้ำที่เพิ่มสูง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านแพง,ท่าอุเทน,เมืองนครพนม และ อ.ธาตุพนม รวมทั้งเตรียมช่วยเหลือชดเชยเยียวยา กรณีมีสัตว์เลี้ยงล้มตายจากอุทกภัยน้ำท่วมตามระเบียบทางราชการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำโขงสูงไหลเชี่ยว เรือโดยสารข้ามฟาก โอดแบกภาระเพิ่มเท่าตัว

ที่ จ.นครพนม ซึ่งเป็นจังหวัดที่รองรับมวลน้ำจากจังหวัดบึงกาฬ ย่อมเกิดผลกระทบจากระดับน้ำโขงสูง มีแนวโน้มจ่อล้นตลิ่ง ล่าสุดช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตรวจวัดอยู่ที่ระดับประมาณ 11.70 เมตร

ปภ.แจงตายแล้ว 34 ราย

ปภ.รวบรวมความสูญเสียจากสถานการณ์น้ำท่วม 16 ส.ค.-14 ก.ย. มี 28 จังหวัดได้รับผลกระทบ มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยและดินถล่มรวม 34 ราย ขณะที่

มทภ.2 เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม จังหวัดหนองคาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ท.อดุลย์ บุญธรรมเจริญ แม่ทัพภาคที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย พลตรี ยุทธนา มีทิพย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 24/ผู้อำนวยการ

ปภ.ระดมทีมปฏิบัติการ-เครื่องมืออุปกรณ์ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำริมโขง

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขงร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พบว่าปริมาณฝนตกหนักสะสมในพื้นที่ภาคเหนือ