ภูเก็ต ขยับเตรียมรับมือฝนถล่ม 13-17 กันยา

13 ก.ย.2567 - นายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการจังหวัด เปิดเผยว่า ได้ลงนามหนังสือโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต/ผู้อำนวยการจังหวัด ถึง นายอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ ทุกอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ทุกแห่ง และหัวหน้าส่วนราชการ ทุกส่วนราชการ

โดย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ได้แจ้งติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ และกรมอุตนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1(182/2567) วันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 05.00น. เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 13-17กันยายน 2567

จากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้จังหวัดภูเก็ตมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันในช่วงวันที่14-17 กันยายน 2567 จะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้พื้นที่เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมขัง ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมแรงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงระหว่างวันที่13-17 กันยายน 2567 จึงให้อำเภอ ทุกอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสภาวะอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก หรือบริเวณฝนตกสะสมและบริเวณพื้นที่สูงดินอุ้มน้ำสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มได้ ติดตามสถานการณ์บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและส่งผลกระทบกับบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ แจ้งเตือนให้กับประชาชนในพื้นที่รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว

2. สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบประกาศแจ้งเตือน และปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด กรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยในทางลอดหรืออุโมงค์ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบปิดกั้นพื้นที่จราจรและสูบน้ำออกโดยเร็ว เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดสะสมและความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง พื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำท่วมขัง ขอให้ระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ในกรณีที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันที

3. กรณีคลื่นลมแรง ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ให้มากขึ้น และหากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

4. หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่มให้เร่งการระบายน้ำ จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังโดยเฉพาะในบริเวณที่ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้แล้ว ให้ดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำทันทีก่อนปริมาณน้ำถึงระดับวิกฤติ และในบริเวณที่คาดว่าจะมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำลันตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำในพื้นที่

5. ในพื้นที่เสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ให้จัดเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัคร เฝ้าระวังสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง ปริมาณน้ำ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงสีและความขุ่นของน้ำ รวมทั้งติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือน และใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์แจ้งเตือนที่มีอยู่ในพื้นที่

หากคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือดินโคลนถล่ม ให้แจ้งเตือนประชาชนอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย กรณีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำมีความเสี่ยงจากน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังแจ้งเตือนประชาชนให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย

6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัย ให้แจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอในพื้นที่ รวมทั้งสามารถแจ้งผ่านทางโทรศัพท์ สายด่วนนิรภัย 1784 ทางโทรศัพท์หมายเลข 076 510098 หรือแจ้งผ่านไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784 "โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID : @1784DDPMและกำชับให้เจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุประจำอยู่ในสำนักงานและอยู่ในพื้นที่พร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง

7. หากเกิดเหตุสาธารณภัย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ใดให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการสรุปสถานการณ์และรายงานให้กองอ้านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ทราบต่อเนื่องทุกวัน ทางโทรสารหมายเลข 076 510097หรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ phuketdisaster @gmail.com ตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เผย 'ในหลวง' ทรงมีพระราชกระแสชื่นชมจิตอาสาทุกภาคส่วน และทรงห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พายุไต้ฝุ่นยางิ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในบริเวณพื้นที่อำเภอแม่สาย

เช็กด่วน! พิกัด 45 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 45 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง และระดับ

ผบ.ตร. ลงเชียงราย กำชับตำรวจดูแลประชาชน ล่าโจรขโมยของในพื้นที่น้ำท่วม

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.รอง ผบ.ตร. และคุณนิภาพรรณ สุขวิมล นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ จ.เชียงราย

เปิดน้ำเข้าทุ่งบางระกำโมเดลแล้ว 62% พร้อมรองรับน้ำเหนือ ฝนตกชุกต่อเนื่อง

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิษณุโลก ซึ่งรับน้ำมาจากภาคเหนือ ทำให้น้ำในพื้นที่น้ำยมสายเก่า ที่รับน้ำจาก จ.สุโขทัย ผ่าน อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองพิษณุโลก ไหลเข้าสู่ทุ่งบางระกำโมเดล ที่สามารถกักน้ำได้กว่า 400 ล้าน ลบ.ม.