พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'

ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง  รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด

8 ก.ย.2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมกองบังคับการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ต.ป่าบอน อ.ป่าบอน จังหวัดพัทลุง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการ จ.พัทลุง เป็นประธานในการประชุมเตรียมการรับมือ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในพื้นที่ จ.พัทลุง พร้อม พล.ต.จตุรภัทร วงศ์ศรีเผือก ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการปฏิบัติการร่วมกันในการป้องกัน และบรรเทาเหตุอุทกภัย

โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วทันที มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ โดยมีอุปกรณ์ทั้งเครื่องจักรเบาและเครื่องจักรหนัก และอุปกรณ์อื่น ๆ การแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยริมภูเขาเมื่อเกิดฝนตกหนัก การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยหลังเกิดเหตุ ในการจัดหาอาหารและสิ่งของต่าง ๆ ให้ผู้ประสบภัยภายใน 24 ชั่วโมง ฯลฯ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรง

นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น บริเวณถนนสายหลัก ถนนสายเพชรเกษม ช่วงบ้านโคกยา ต.ควนขนุน อ.เขาชัยสน บริเวณดังกล่าวจะถูกน้ำป่าไหลตัดผ่านถนนทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งขาขึ้นและขาลง บางครั้งแม้รถยนต์ขนาดใหญ่ยังไม่สามารถผ่านได้ จึงลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณหมู่บ้านติดทะเลสาบที่จะถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลาหลายวัน เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ปัจจุบันพื้นที่ป่าเขากว่า 700,000 ไร่ มีพื้นที่ครอบคลุม จ.สตูล สงขลา ตรัง และ จ.พัทลุง ได้เป็นที่นิยมและเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเดินป่า เที่ยวชมน้ำตก ซึ่งน้ำตกมีกว่า 30 แห่ง รายล้อมเทือกเขาบรรทัด จ.พัทลุง จ.ตรัง มีน้ำตกตลอดปี

สภาพปัจจุบันหากมีฝนตกหนักและยาวนานานมีน้ำสะสมเกิดความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะปัจจุบันเขาบรรทัดสามารถรับน้ำสะสมได้ประมาณ 60 % จาก 100 %  โดย 40 % น้ำจะร่วงลงด้านล่าง ปัจจัยเพราะสภาพป่าเสื่อมโทรม และอีกส่วนหนึ่งเพราะมีการลักลอบทำลายป่าไม้แล้วปลูกพืชผลอื่นๆ ทดแทน จึงไม่ได้เป็นป่าที่งอกเงยจากธรรมชาติ จึงขาดศักยภาพการเก็บสะสมอุ้มน้ำเอาไว้ได้ น้ำต้องร่วงหล่นพร้อมกับกระชากดินปนทรายลงพื้นที่ต่ำพร้อมกับ จากสภาพเทือกเขาบรรทัดที่เป็นดินปนทราย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

TED FUND กระทรวง อว.ลงพื้นที่ติดตามภารกิจผู้ประกอบการที่ขอรับทุน TED Youth Startup โชว์ผลงานบริหารจัดการน้ำผ่านโครงการ 'H.A.G System ระบบควบคุมประตูน้ำไฮดรอลิก' ที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง เผยควบคุมระบบผ่าน Smart Phone พร้อมแจ้งเตือนสถานะแบบ Real time ผ่าน LINE เมื่อมีกรณีฉุกเฉิน

น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund) หรือ TED FUND กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง

มท.1 สั่งปภ.- ท้องถิ่น เร่งช่วยเหลือประชาชน รับผลกระทบน้ำท่วม

น้ำมา ต้องป้องกัน น้ำเข้า ต้องเร่งช่วย น้ำลด ต้องรีบฟื้นฟู ! “อนุทิน” กำชับ “ปภ. – ท้องถิ่น” สู้อุทกภัย ขอบคุณทุกความทุ่มเทเสียสละ ยกย่องผู้นำชุมชนใช้โดรนส่วนตัวช่วยลูกบ้าน

'ภูมิธรรม' ควง 'อนุทิน-ธรรมนัส' ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เดินทางลงพื้นที่ตรวจและติดตามสถานการณ์อุทก