เจ้าพระยาล้นตลิ่ง ท่วมแหล่งปลูกผักใหญ่สุดในชัยนาท ชาวสวนต้องรีบเก็บผักหนีน้ำ กลับเจอปลิงดูดเลือด กรมชลฯ ยังคุมระบายน้ำไม่เกิน 1,500 ลบ.ม./วินาที
6 ก.ย. 2567 – ที่ จ.ชัยนาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม่น้ำเจ้าพระยา ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณ ม.3 ม.4 ต.ศิลาดาน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผักใหญ่ที่สุดในจังหวัดชัยนาท แปลงผักจำนวนกว่า 500 ไร่ ถูกน้ำท่วมสูง 20 – 40 เซนติเมตร เกษตรกรต้องเร่งเก็บผลผลิต อย่างเช่น ข้าวโพด ถั่วฝักยาว มะเขือ มะระ พริก หนีน้ำท่วม แต่ก็เก็บได้เพียงบางส่วน เพราะบางจุดถูกน้ำท่วมสูง เข้าไปเก็บลำบาก ก็ต้องปล่อยทิ้ง และยังต้องเจอกับปลิงตัวใหญ่ชุกชุมที่มากับน้ำ
นางชลอ โพแตง อายุ 72 ปี เกษตรกร ต.ศิลาดาน บอกว่า ปีนี้น้ำมาเร็ว ทุกทีน้ำจะมาช่วงปลายเดือนกันยายน แต่ปีนี้มาต้นเดือน ทำให้เก็บผลผลิตไม่ทัน น้ำล้นตลิ่งท่วมแปลงผักมา 2-3 วันแล้ว ต้องขอแรงชาวบ้านช่วยลงแขก เก็บข้าวโพด ถั่วฝักยาว และ มะเขือ หนีน้ำท่วม แต่ก็เก็บได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะบางจุดน้ำท่วมสูงเลยหัวเข่า และในน้ำยังมีปลิงตัวใหญ่ชุกชุมคอยมาเกาะขาดูดเลือด ต้องใช้น้ำส้มสายชูมาราดที่ขาก่อน จึงจะลงน้ำไปเก็บผักได้ ที่ยอมเสี่ยงกับปลิง ก็เพราะความเสียดาย อยากเก็บผลผลิตขึ้นมาขายให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยก็ให้ได้ต้นทุนที่ลงไปกลับคืนมา ดีกว่าทิ้งผลผลิตให้จมน้ำเสียหายไปทั้งหมด
ส่วนสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ ลดลงจาก 1,507 เหลือ 1,496 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่ อ.เมืองชัยนาท มีปริมาณ 1,803 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนลดลงจากเมื่อวาน 9 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 16.70 เมตร (รทก) แต่ยังสูงกว่าระดับเก็บกัก 20 เซนติเมตร กรมชลประทาน ยังคงระบายน้ำท้ายเขื่อนในอัตรา 1,498 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ติดต่อเป็นวันที่ 4 ระดับน้ำท้ายเขื่อนที่ อ.สรรพยา ทรงตัวอยู่ที่ 12.82 เมตร(รทก)
นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า กรมชลประทานยังควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 1,498 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนการที่จะเพิ่มระบายน้ำเป็น 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อใดนั้น ต้องดูปริมาณฝนที่จะตกในระยะนี้ หากปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จังหวัดนครสวรรค์ และปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี ที่ไหลมารวมกันที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ก็จะปรับเพิ่มระบายน้ำท้ายเขื่อนตามลำดับต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
'ทร.' เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 'วันลอยกระทง' ดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
ทร. เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันลอยกระทง จัดกำลังพล 239 นาย เรือ 44 ลำ ดูแลความปลอดภัยตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า