ผู้ตรวจการ ป.ป.ช.ตรวจสอบโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติตรัง 1 ใน 4 โครงการนั้นอยู่ในช่วงเจรจากับผู้รับจ้างเพื่อให้มาดำเนินงานในส่วนขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเหลือน้อยมาก ๆ คิดว่าไม่ติดขัดทางด้านปัญหาเทคนิคหรือทางด้านตัวผู้รับจ้าง โครงการนี้ก็จะแล้วเสร็จประมาณเดือนมกราคม 2568 ก็จะได้มีการตรวจสอบระบบและกลางปีหน้า น่าจะได้เปิดบริการให้พี่น้องประชาชนได้ อย่างช้าก็ในช่วงปลายปีหน้า สำหรับโครงการที่ยังเหลืออีก 3 โครงการ ต่อรันเวย์ให้ยาวขึ้นเพื่อรองรับอากาศยานระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเวนคืนที่ดิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีก 1-2 ปี
2 ก.ย.2567 - นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช. พร้อมด้วย นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต และ นางจิราภา ทินมาลา ผอ.ท่าอากาศยานตรัง เข้าประชุมชี้แจงและให้ข้อมูลปัญหาการก่อสร้างสนามบินนานาชาติตรังล่าช้า
จากการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ผ่านมา ทางผู้รับเหมาได้ขอเข้าไปทำการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จ แต่ด้วยเหตุการณ์ขาดสภาพคล่องของบริษัทผู้รับเหมาจึงขอไปติดต่อทำธุรกรรมกับทางธนาคารก่อน และในขณะที่ทางกรมท่าอากาศยานฯยังไม่ได้รับปากว่าจะให้บริษัทผู้รับเหมาทำต่อหรือไม่อย่างไร ตอนนี้ต้องรอแผนงานของผู้รับเหมาว่าจะสอดคล้องกับงานที่เหลือหรือไม่อย่างไร
และในขณะนี้ทางท่าอากาศยานตรังได้ให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปทำการเก็บกวาดทำความสะอาดจุดที่มีปัญหาบางส่วน เพื่อรักษาสภาพไม่ให้ชำรุดหนักไปกว่าเดิม แต่ปัญหามันติดอยู่ที่อาคารหลังดังกล่าวยังไม่ได้มีการส่งมอบ ทางท่าอากาศยานตรังจึงไม่สามารถเข้าไปดูแลได้เต็มที่ เพราะในขณะนี้อาคารดังกล่าวยังอยู่ในความดูแลของราชพัสดุและผู้รับเหมา
ในส่วนที่มีกระแสว่าได้มีการส่งมอบงานแล้วนั้น มีการส่งมอบแต่เนื้องานมีปัญหาทางผู้เซ็นต์รับงานได้คืนกลับให้ไปแก้ไขงานให้สมบูรณ์ก่อน ซึ่งขั้นตอนที่ 1-2 เสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังเหลืออีก 2-3ขั้นตอนต่อไป ที่ยังต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะลงพื้นที่ก่อสร้างตรวจสอบอาคารสนามบินนานาชาติตรัง ซึ่งในตัวอาคารที่มีปัญหาได้มาการเข้ามาจัดเก็บทำความสะอาดแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงแต่อย่างใด
นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า โครงการดังกล่าวสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 62 ได้มีการขยายเวลา เดิมจะสิ้นสุดปี 65 แต่ก็ได้มีการขยายเวลามาถึงปีปัจจุบัน ด้วย 2 สาเหตุ คือ เรื่องของแรงงานการประเมิน เรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของโควิด ซึ่งทำให้โครงการดังกล่าวเกิดความไม่แล้วเสร็จในระยะตามเวลาฉบับแรก แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันควรอะไร ทาง ปปช.เองมาลงพื้นที่ป้องกันเชิงรุกเพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนที่ให้ความสนใจโครงการของหน่วยงานรัฐ
ส่วนการก่อสร้างในเฟตสุดท้ายที่จะทำการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารซึ่งเป็น 1 ใน 4 โครงการนั้นอยู่ในช่วงเจรจากับผู้รับจ้างเพื่อให้มาดำเนินงานในส่วนขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเหลือน้อยมากๆ คิดว่าไม่ติดขัดทางด้านปัญหาเทคนิคหรือทางด้านตัวผู้รับจ้าง โครงการนี้ก็จะแล้วเสร็จประมาณเดือนมกราคม 2568 ก็จะได้มีการตรวจสอบระบบและกลางปีหน้า น่าจะได้เปิดบริการให้พี่น้องประชาชนได้ อย่างช้าก็ในช่วงปลายปีหน้า
สำหรับโครงการที่ยังเหลืออีก 3 โครงการ ต่อรันเวย์ให้ยาวขึ้นเพื่อรองรับอากาศยานระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเวียนคืนที่ดิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีก 1-2 ปี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนส่วนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวียนคืน ซึ่ง 100 กว่าไร่ ได้มีการเวียนคืนและชดใช้ให้กับพี่น้องประชาชนไปแล้ว และส่วนที่แล้วเสร็จไปแล้วก็มีของโครงการต่างๆ เพราะฉะนั้นก็เหลือเพียงแค่ 2 โครงการเท่านั้นที่จะต้องดำเนินการต่อไป
ส่วนปัญหาก็อาจจะมีบางส่วนของโครงการก่อสร้างที่ถูกทักท้วงจากหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้สอบถามว่าทำไมช่วงแรกถึงไม่ทักท้วงมา มาทักท้วงทีหลังทำให้การดำเนินโครงการขยายเวลาออกไป 200 กว่าวัน ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ใช่ความผิดของท่าอากาศยานฯหรือกรมท่าฯ แต่อาจจะเป็นความเข้าใจผิดของเรื่องหลักเกณฑ์ เพราะว่าทางหน่วยเขาได้แนบแบบแปลนและรายละเอียดรูปแบบการก่อสร้างอาการและรันเวย์ไปแล้ว
เพราะฉะนั้นอาคารหลังนี้จะต้องผ่านEA REPORT หรือไม่อยู่ที่ทางหน่วยประเมินถ้าเขาโต้แย้งมาทางหน่วย เขาก็หยุดดำเนินโครงการไป อันนี้เป็นข้อสังเกตที่เราบอกว่าการดำเนินต่อไปก็ควรมีการศึกษากับเรื่องหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มันชัดเจน ว่าจะต้องประเมินงานส่วนใหนอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้งานหยุดชะงักล่าช้า และอาจจะทำให้วงเงินงบประมาณอาจจะต้องเพิ่มเติมขึ้นมา เพราะ200 กว่าวันต้องหยุดไปก่อนเพราะไม่สามารถทำได้
แต่เรื่องการเวนคืนที่ดินอันนี้ต้องเป็นเรื่องทางกฏหมายหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ของ พรบ.เวนคืน พระราชกิจฎีกาต่าง ๆ ต้องมีการกำหนดวงเงินเป็นกรอบมา 800 กว่าล้าน และมีการเพิ่มเติม 600 กว่าล้าน เป็น 1,400 ล้าน มีการชดเชยให้ค่าที่ดินบางส่วนไปแล้ว ในวงเงินประมาณ 600 ล้าน เหลือประมาณ 200 ล้าน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ เวลาเราชดเชยค่าที่ดินต้องคำนึงถึงราคาตลาดหรือความเป็นธรรม ซึ่งตรงนี้สามารถยืดหยุ่นไปตามราคาที่ดินต่าง ๆ เพราะราคาไม่ได้เท่ากันทุกแปลง
นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง กล่าวว่า ทาง ปปช.เองมีหน้าที่ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะแต่ละทางหน่วยงานก็มีเหตุผลของเขา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ดำเนินการอยู่ ซึ่งทาง ปปช.ให้รายงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ทางเจ้าหน้าที่ป้องกันเองก็ได้ลงพื้นที่เพื่อไปดูแลอย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป.ป.ช. ตั้งที่ปรึกษาองค์คณะไต่สวน คดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ให้แจ้งคืบหน้าทุก 1 เดือน
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ในวันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งมีนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. เ
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
‘หมอวรงค์‘ ให้กำลังใจ ‘แพทยสภา’ ลุยสอบจริยธรรมแพทย์ช่วยนักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ให้กำลังใจแพทยสภา
'ชัยชนะ' ลั่นทักษิณไม่ผิด แต่เป็นผู้ได้รับผลของการกระทำนำตัวไปรักษาชั้น 14
นายชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราชและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
พวกเรารอพวกท่านอยู่! หวด ‘กกต.-ปปช.’ เร่งทำงานเพื่อประเทศชาติให้เต็มที่
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กดังนี้