ผอ.ศูนย์ป่าไม้ภูเก็ต เตรียมสั่งปิดองค์พระใหญ่ ฝากถึง นักท่องเที่ยวขอให้ไหว้ข้างล่างเนื่องจากเร่งหามาตรการป้องกันดินสไลด์ซ้ำ
2 ก.ย.2567 - นายสรศักดิ์ รณะนันทน์ ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า "สืบเนื่องจากกรณี มีการสไลด์ของดินที่บริเวณบ้านกะรน ตามที่เป็นข่าว ทางศูนย์ป่าไม้จังหวัดภูเก็ตดำเนินการเข้าตรวจสอบพื้นที่เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปรากฏว่า ตรวจพบการบุกรุกเกินตามที่ขอ 15 ไร่ ซึ่ง 15 ไร่ ดังกล่าวนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการ จากกรมป่าไม้ ที่ กรมป่าไม้ยังไม่ได้อนุญาต ดังนั้น ศูนย์ป่าไม้จังหวัดภูเก็ต สนธิกำลัง เข้าไปตรวจสอบทำการบันทึกการตรวจยึดพื้นที่ปรากฏว่าได้พื้นที่ที่ถูกบุกรุกจำนวน 5 ไร่ 19 ตารางวา โดย ทางป่าไม้ ทำบันทึกในรายละเอียดได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อ มูลนิธิพระพุทธมิ่งมงคลศรัทธา 45 โดยมี ประธานมูลนิธิฯ เป็น ผู้ที่ได้รับการให้ถ้อยคำจากสำนักพระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ดำเนินการในการกระทำครั้งนี้
ผลการตรวจยึด ได้ตรวจยึดสิ่งก่อสร้างทั้งหมดจำนวน 6 รายการ หลังจากนั้นเข้าดำเนินการแจ้งความต่อสภ. กะรน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจากนั้นในวันที่ 28 สิงหาคม ในฐานะผู้เสียหาย เป็นผู้กล่าวหาแจ้งประธานมูลนิธิฯ แล้ว หลังจากนั้นวันที่ 29 สิงหาคมได้ทำการไปติดป้ายรวม 3 ป้าย เพื่อประกาศพื้นที่ดังกล่าว ในจำนวน 5 ไร่เศษ บริเวณเป็นแนวเส้นที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ได้ดำเนินการตรวจยึดไว้
ขั้นตอนต่อมา เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ได้ขึ้นไปดูพื้นที่กับโยธาธิการและผังเมือง และที่ปรึกษาผู้ว่าฯภูเก็ต และเทศบาลตำบลกะรน รวมหลายๆภาคส่วนขึ้นไปดูในกรณีพื้นที่ตรวจยึด 5 ไร่ โดยมีแนวทางการปลูกป่าในพื้นที่ ที่ทางมูลนิธิฯได้ต่อเติมดังกล่าว โดยจะมีการดำเนินการ คือ จะต้องทำการพร่องน้ำำอย่าให้ไปทางนั้นเพราะพื้นที่ดังกล่าวนั้น ข้างล่างคือ หมู่บ้านกะรน ที่เกิดดินสไลด์ดังกล่าว
ทางคณะกรรมการ ที่เข้าไปดูในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้เห็นว่าอาจจะเกิดซ้ำซากอีกขึ้นได้ เพราะเป็นพื้นที่ที่เราไปดูและเป็นพื้นที่ที่มีน้ำซับ มีอะไรหลายๆสิ่งและมีก้อนหินใหญ่ๆที่ยังอยู่ในพื้นที่ ทางเราก็ได้ร่วมกันในความคิดเห็นว่าจะดำเนินการปลูกป่าทดแทนขึ้นมา พร้อมกับนำหญ้าแฝกไปเคลียร์พื้นที่ให้หมด รวมทั้งปิดกั้นพื้นที่ 5 ไร่ ตามที่ได้ปิดประกาศโดยได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาลตำบลกะรน
ซึ่งวันนี้ (2 ก.ย.) จะทำหนังสือไปขอสนับสนุนแต่ว่าคุยกันนอกรอบแล้วแล้วจะปิดกั้น คือ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลานจอดรถ แล้วก็จะต้องรับน้ำหนักมาก คือ ด้านหลังของตึก เป็นที่จอดรถทัวร์อะไรต่างๆ ทางเราจะต้องปิดเพื่อเบาน้ำหนักของพื้นที่นี้ไว้ รวมทั้ง พร่องน้ำให้ไหลไปทางถนน อย่าให้น้ำไหลลงทางด้านซ้ายเพราะพื้นที่ดังกล่าว คือ หมู่บ้านที่เกิดเหตุซึ่งจะเร่งรีบดำเนินการ
ในวันนี้ (2 ก.ย.) จะดำเนินการทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต เพื่อดำเนินการ หยุดกิจกรรมดังกล่าว จนกว่ากรมป่าไม้อนุญาต ให้ทำการปิด องค์พระใหญ่ บางทีอาจจะล่าช้าไม่ถึงใจก็ได้เพราะว่าเป็นเป็นงานที่เราอยู่ในพื้นที่ตลอด และ หลายเรื่อง ทางเจ้าคณะจังหวัดทำหนังสือไปถึงวัดกะตะ เป็นที่เรียบร้อยแล้วส่วนด้านป่าไม้ก็จะทำหนังสือคู่ขนานไป เพื่อจะได้ยุติ การเข้าพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นที่เรียบร้อย
ในส่วน 15 ไร่ คือ กรมป่าไม้ ยังไม่อนุญาต ทางเราต้องระงับกิจกรรม ใดๆทั้งสิ้นบน องค์พระใหญ่ก่อนจนกว่า จะได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตการไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องเป็นขั้นตอน ถ้าได้รับอนุญาตก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง คือ การปิดหมายถึงการหยุดดำเนินการกิจกรรมใดๆ
โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนา หากยังมีคนขึ้นไป บนสถานที่ดังกล่าวต้องใช้กฎหมายปกครองดำเนินการ โดย ทางกรมป่าไม้จะปิดกิจกรรมใดๆบนพระใหญ่ จนกว่าจะได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา
และขอฝากถึงนักท่องเที่ยวที่จะไหว้สักการะองค์พระใหญ่ขอให้ไหว้ข้างล่าง เพื่อลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยต้องหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดดินสไลด์ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและในช่วงนี้จะเกิดฝนตกหนักขึ้นมาอีกตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งเกรงจะเกิดปัญหาดินสไลด์ซ้ำตามมาอีก"
ทางด้าน นายวัฒนพงษ์ สุกใส ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า "พื้นที่ตรงนี้ เป็นของกรมป่าไม้ ซึ่ง 15 ไร่อยู่ระหว่างการพิจารณาการขออนุญาตโดยพื้นที่แห่งนี้ได้รับการผ่อนผันตามมติ ครม.23 มิ.ย. 63 กับ ปี 64 ให้ไปยื่นคำขอ
ในส่วนจังหวัดภูเก็ต ทางทสจ.ภูเก็ต ขับเคลื่อนไปประมาณกว่า 100 คำขอ รวม 22 วัด ในส่วนของวัดพระใหญ่มีประเด็นของเอกสารมากมายเช่นความสูงเกิน 80 เมตรอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 ต้องมีรายงานสิ่งแวดล้อม ซึ่ง อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการพิจารณาใช้ประโยชน์ในระดับกรม
ขณะเดียวกันได้รับการประสานงานจากสผ.ให้ทสจ.ภูเก็ต สรุปเรื่องทั้งหมด โดยนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต รายงานไปยังสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม โดยมี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประชุมพิจารณา และจะมีการสรุปมาให้ทางจังหวัดภูเก็ต ดังนั้น ในขั้นตอนนี้เนื้อที่ 15 ไร่อนุญาตหรือไม่นั้นขึ้นกับคณะกรรมการดังกล่าว โดย อาจารย์อนุญาตเพราะใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตั้งพระพุทธรูปตั้งคณะสำนักงานนโยบายและแผน โดยภูเก็ตเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีประกาศคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทั้งจังหวัด ดังนั้น ประเด็นการอนุญาตต้องรอจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ"
ทางด้าน นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า "กรณีพื้นที่องค์พระใหญ่ ทางเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต สั่ง หยุดกิจกรรม ของ วัดกะตะ ที่ บริเวณองค์พระใหญ่ จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง พื้นที่แห่งนี้ กรมป่าไม้ยังไม่อนุญาต ใน 15 ไร่ที่ขอ และอีก 5 ไร่ที่เกิน ก็เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้โดยรวมเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ทั้งหมด การสั่งไม่ให้เข้าพื้นที่จะต้องสั่งโดยกรมป่าไม้ ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตสั่ง คือ สั่งพระไม่ให้เข้าไปทำกิจกรรม ในพื้นที่ ไม่ได้สั่งในฐานะเจ้าของพื้นที่ ส่วนทางกรมป่าไม้พิจารณาตามกฎหมายโดยที่ตรงนั้นถูกตรวจยึดแล้ว กับ เนื้อที่ 15 ไร่ ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตอีก ก็ไม่สามารถให้ใครเข้าไปได้อยู่แล้ว
และ ทางจังหวัดภูเก็ตได้แต่งตั้งให้ปลัดจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานคณะทำงานในการตรวจสอบมูลนิธิพระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ที่ดูแลองค์พระใหญ่ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยตรวจสอบเส้นทางการเงินอาจจะต้องใช้ปปง. การตรวจสอบสถานะการเงินตามอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนมูลนิธิฯ การประชุมถูกต้องหรือไม่ การใช้จ่ายถูกต้องหรือไม่ ต้องมีการชี้แจง การใช้จ่ายงบดุลบัญชี ในเบื้องต้น จังหวัดตรวจสอบระดับจังหวัด และส่ง ปปง.ตรวจสอบ คาดว่า ใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ถ้าผิดกฎหมายยื่นต่อศาลทันที ให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ ส่วนที่บุกรุกทางกรมป่าไม้ได้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว ถ้าศาลตัดสินมีความผิดก็ต้องเลิกมูลนิธิไปโดยปริยาย
นอกจากนี้ ทางจังหวัดภูเก็ต ขอให้กรมป่าไม้ ตรวจสอบสภาพพื้นที่แวดล้อมโดยรอบของพระใหญ่ ในกรณีที่ป่าเทือกเขานาคเกิดถูกทำลาย ขอให้ตรวจสอบทั้งหมดถ้ามีหลักฐานใดขอให้มายืนยันกัน ถ้าไม่มีหลักฐาน ขอให้ตรวจยึดตามกฎหมาย ถ้าอยู่ในเขตของป่าไม้ ต้องถูกดำเนินคดีเท่ากันหมด มิเช่นนั้น ภูเขาจะไม่เหลือดินโคลนถล่มจะเกิดขึ้นมาอีก จนขอให้ป่าไม้เคลียร์ในเรื่องเหล่านี้ด้วย ต่อไปนี้การดำเนินคดีจะเข้มข้นมากขึ้น"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
สภ.กะรน สรุปสำนวนส่งฟ้อง มูลนิธิพระใหญ่ ผิดพรบ.ป่าไม้ เหตุดินถล่มภูเก็ต
สถานีตำรวจภูธรกะรน จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ในพื้นที่ตำบลกะรน มีฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดดินโคลนสไลด์
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ทร. ส่งเรือ ต.111 ช่วยชีวิตนักท่องเที่ยว 143 คน กลับเข้าฝั่งหลังติดเกาะเหตุคลื่นลมแรง
พลเรือตรีภุชงค์ รอดนิกร รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วย นายหลี่ เฉิงหลง (Li Chenglong) หัวหน้าสำนักงานกงสุลจีนประจำจังหวัดภูเก็ตของสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสงขลา ให้การต้อนรับ เรือต.111
ฝนถล่มภูเก็ต เฝ้าระวังดินโคลนถล่มตำบลกะรน ผวาซ้ำรอยจุดเดิม
เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ตำบลกะรนหลายจุด และได้อพยพประชาชน พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลกะรนอำเภอเมือง
ภูเก็ต ขยับเตรียมรับมือฝนถล่ม 13-17 กันยา
นายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการจังหวัด เปิดเผยว่า ได้ลงนามหนังสือ