วิจารณ์กระหึ่มโซเชียล บันไดคอนกรีตกันคลื่นทำหาดทรายชะอำใกล้สิ้น นักกฎหมายชี้ตรวจสอบสถานะโครงการ-หากทำลายทรัพยากรธรรมชาติฟ้องศาลให้ระงับได้ “ศศิน”แนะรื้อโครงสร้างแข็งออก
7 ม.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสื่อสังคมออนไลน์ได้ลงภาพและโพสต์ข้อมูลกรณีที่นักท่องเที่ยวพากันผิดหวังภายหลังเดินทางไปเที่ยวหาดชะอำใต้ในช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวได้มีการสร้างบันไดคอนกรีตกันคลื่นตามโครงการรก่อสร้างฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ยาวกว่า 1,400 เมตรซึ่งดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มูลค่า 102.9 ล้านบาท ทำให้หาดทรายบริเวณดังกล่าวหายไปและภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงจนนักท่องเที่ยวไม่กล้าลงเล่นน้ำ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณถึงความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า และ นางสาวเฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ซึ่งระบุว่าหาดชะอำเคยเป็นหาดที่มีชายหาดที่กว้างมาก หากดูปัจจุบันพื้นที่ที่สร้างโครงการหาดทรายจะหายไป ส่วนหาดที่ยังไม่มีการสร้างทรายจะยังคงมีอยู่จำนวนมากและกว้าง
“เสียดายที่หาดถูกแก้ปัญหาการกัดเซาะไม่ถูกจุด เพราะการใช้โครงสร้างแข็งไปวางจะยิ่งทำให้หาดทรายที่มีอยู่หายไปจนหมด เหลือแต่ลานคอนกรีตในอนาคต ดูตัวอย่างได้จากหาดในจังหวัดประจวบฯ ไม่ว่าจะเป็นหาดประจวบฯ หาดคลองวาฬ และหาดอื่นๆที่มีการทำกำแพงกันคลื่น” น.ส.ส.รัตนมณี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าโครงการนี้ได้เปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในทางที่เลวร้ายลง หากจะมีการดำเนินการในเฟส 2 อีก ประชาชนมีสิทธิยับยั้งหรือไม่ นางสาวเฉลิมศรี กล่าวว่าการก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภทนี้เท่าที่ทราบ เมื่อสร้างแล้วจะต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากจะมีการกัดเซาะไปเรื่อยๆ หากมีการรุกล้ำหาดทราย การป้องกันไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของคนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นเท่านั้น แต่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ จะเป็นคนเดียวหรือคณะบุคคล หรือองค์กรที่มีจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ชายหาด ย่อมสามารถใช้สิทธิในการออกมาปกป้อง หรือเรียกร้องสิทธิของชายหาดได้ ในเมื่อเห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง กำลังถูกทำลายลง
เมื่อถามอีกว่า โครงการที่ดำเนินไปแล้วกว่า 1,400 เมตร ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ประชาชนมีสิทธิดำเนินการอย่างใดบ้าง นางสาวเฉลิมศรีกล่าวว่า เมื่อทราบว่ามีการดำเนินโครงการในลักษณะที่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ควรทำหนังสือให้สอบถามถึงสถานะของโครงการและให้ชะลอการก่อสร้างไปก่อน เนื่องจากโครงการไม่มีความเหมาะสมต่อพื้นที่ ไม่มีความปลอดภัย และไม่มีความจำเป็นต่อชายหาด และหากดำเนินการขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว หน่วยงานยังดำเนินโครงการต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่มีความจำเป็น สมควรฟ้องคดีต่อศาลในท้ายที่สุด
“ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมา เกิดจากการไม่ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของหน่วยงานรัฐ ในด้านการศึกษาสภาพชายหาด และหาทางป้องกัน ที่สำคัญโครงการที่เกิดขึ้นนี้ มีผลจากการแก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เมื่อ ปี 2556 ที่ได้นำโครงการกำแพงกันคลื่นออกไป ทำให้โครงการในลักษณะนี้ไม่ต้องทำรายงาน EIA ทำให้หน่วยงานเร่งดำเนินการให้มีขึ้นจำนวนมากเกินกว่า 50 โครงการจากหลายหน่วยงาน โดยหน่วยงานรัฐมักอ้างว่า มีเหตุเดือดร้อนของประชาชน”น.ส.เฉลิมศรี กล่าว
นางสาวส.รัตนมณี กล่าวว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการว่าได้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยต้องดูว่า มีการที่จะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าจะมีผลอย่างไร หากมีโครงการ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนของโครงการต่อประชาชนและสาธารณะ การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการขออนุญาตดำเนินการก่อสร้าง เพราะการก่อสร้างนี้จะเป็นเรื่องการสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ต้องขออนุญาตก่อสร้างจากกรมเจ้าท่า การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
นางสาวส.รัตนมณี กล่าวว่ามูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนทำงานร่วมกับกลุ่ม Beach for Life ติดตามสถานการณ์ปัญหาโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมาโดยตลอด ได้มีการฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลหลายคดี เช่น หาดชลาทัศน์ หาดม่วงงาม จ.สงขลา หาดอ่าวน้อย หาดคลองวาฬ จ.ประจวบฯ เห็นว่า ศาลปกครองเริ่มเข้าใจในสถานการณ์ปัญหา และพยายามให้ความคุ้มครองและป้องกันชายหาด กรณีหาดชลาทัศน์หลังจากฟ้องไปแล้วทางจังหวัดได้เปลี่ยนการสร้างโครงสร้างแข็งเป็นการเติมทราย ซึ่งต่อมาทางหาดพัทยาก็ใช้การแก้ปัญหาด้วยการเติมทรายเช่นเดียวกัน
ขณะที่นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ที่หาดนี้เทศบาล พ่อค้าแม่ค้า เขาเห็นการกัดเซาะชายฝั่งจริงๆ ครับ แต่ไม่มีความรู้ว่าสาเหตุเพราะอะไร และไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเพราะคลื่นทะเลก็รุกเข้ามาทุกปี”
นายศศิน ระบุว่า มี 3 เรื่องที่มองด้วยตาไม่เห็น คือ 1. ถนนเลียบหาดชะอำ สร้างบนเนินทรายธรรมชาติมานานหลายสิบปี มีกิจกรรมสารพัดหน้าถนนนี้ รบกวนการสะสมตัวของทรายจากลมพัดขึ้นฝั่ง และทำหน้าที่ปะทะแรงคลื่นช่วงมรสุม ให้ทรายย้อนไปเป็นหาดทรายและสันดอนทรายใต้น้ำ ก่อนที่คลื่นดิ่งเบาๆในช่วงหลังมรสุมจะพาขึ้นมาแต่งหาดให้สวยใหม่ อันนี้แก้ยากที่สุด อาจจะต้องพึ่งการเติมทรายจากแหล่งทรายใกล้ๆมาช่วย
2. ทุกคนอยากได้หาดทรายกว้างๆ ตลอดไป เพื่อวางร่ม-เก้าอี้ผ้าใบ ด้านหลังจอดรถ ด้านหน้าให้วิ่งเล่นและลงน้ำ ซึ่งตามธรรมชาติจะไม่เป็นแบบนั้นเพราะมีน้ำขึ้น-น้ำลง และช่วงหาดกว้างสวยหลังมรสุมเดือน มี.ค.จนถึง ต.ค. และหาดแคบช่วงฤดูมรสุม 4 เดือน พ.ย.- ก.พ. จึงมีความพยายามถมหิน เทปูนให้พื้นที่ที่ต้องเปลี่ยนแปลงคงที่เข้าไว้ โดยคิดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อหน้าหาดที่เป็นหาดทรายกว้าง แต่ที่ไหนได้ คลื่นที่ปะทะแนวหินจะแรงยกตัวและพัดทรายหน้าหาดออกไปเรื่อยๆ หลายปี หาดก็ลึกหดแคบเรื่อยๆ ทำให้เกิดการกัดเซาะหาดทรายให้แคบลึก จนน่ากลัวว่าจะเซาะถึงที่จอดรถและถนน อันนี้ควรแก้ไขโดยการรื้อโครงสร้างแข็งพวกนี้ออกและยอมให้หาดทรายขยาย-หดตามธรรมชาติ เราก็ใช้หาดเท่าที่เป็นปกติ
3. ลานเอนกประสงค์ของเทศบาลสร้างยื่นไปในทะเล ให้คนไปยืนถ่ายรูป กีดขวางตะกอนและกระแสน้ำ และทำให้คลื่นปะทะเลี้ยวเบนเข้ากัดเซาะบริเวณที่สิ้นสุดลาน ทำให้ต้องถมหินป้องกัน เมื่อถมหินเริ่มต้น คลื่นจะปะทะแล้วเลี้ยวเบนกัดเซาะต่อเนื่อง และต้องถมหินไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ผสมกับข้อ 2 เลยไปกันใหญ่ ถ้ายอมรื้อให้อยู่ในแนวเส้นชายฝั่ง จะช่วยได้เยอะ
“โครงการเขื่อนใหญ่ขั้นบันไดให้ม้าวิ่ง นี้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงปี 2556-2558 ช่วงนั้นหน่วยงานต่างๆ ยังไม่มีองค์ความรู้เรื่องธรณีสัณฐานชายฝั่งกันครับ ตอนนี้มีความรู้แล้วก็หวังว่าคนรุ่นหลังจะค่อยๆหาทางแก้ไขให้ถูกต้องในระยะต่อไปนะครับ รัฐบาลหน้ากรุณาหารัฐมนตรีที่รู้เรื่องมาแก้ไขด้วยนะ คุณบิ๊กป็อกแกไม่เชื่อใคร”นายศศิน ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
สมัครชิง นายกอบจ.เพชรบุรี คึกคัก ‘อดีตนายกอบจ.’ ชน ‘อดีตสส.เพชรบุรี’
วันแรกในการเปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2567
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
สปส.มอบสุข ตรวจเยี่ยมและติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ. เพชรบุรี
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางรัศมี สุจโต ประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี นางสาวสรันยา สุวรรณวัฒน์
เปิดข้อเสนอแก้ไขปัญหา 'ทับลาน' มูลนิธิสืบฯยัน ไม่ควรเหมารวมทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน
เพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์ข้อความ ระบุว่า เปิดข้อเสนอการแก้ไขปัญหาแนวเขตและที่ดินในพื้นที่ อช.ทับลาน โดยมีการแบ่งรูปแบบพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
“ลีโอ” จัดเต็ม Leo Summer Fest ชะอำ เตรียมเคลื่อนความมันส์ สู่เทศกาลดนตรีหน้าฝน
“ลีโอ” จัดเต็ม “Leo Summer Fest" ขนทัพศิลปินแน่นชายหาดชะอำ ร่วมขบวน 3 Music Presenter - อิ้งค์ วรันธร, Three Man Down และ ไททศมิตร ในเทศกาลดนตรีที่