30 พ.ค.2567 - ที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 นครราชสีมา (หลังเก่า) ถ.พลล้าน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายทศพร ศรีสมาน ผอ.สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา พร้อมด้วยนายธนัญชัย วรรณสุข ผอ.สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา) และนายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และซากภาชะดินเผา ที่ถูกขุดค้นพบขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ กำลังดำเนินการการขุดค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่ปรับภูมิทัศน์ ภายในสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 นครราชสีมา (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ติดกับคูเมือง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะของทางเทศบาลนครนคราชสีมา ร่วมกับกรมศิลปกร ที่จะต้องมีการดำเนินการทางโบราณคดีก่อนมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องจากบริเวณดังกล่าว ทางกายภาพพื้นที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์
นาย นายทศพร ศรีสมาน ผอ.สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เปิดเผยว่า ในกรณีชุมชนหรือเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องมีการดำเนินการขุดสำรวจเพื่อศึกษาก่อนดำเนินการก่อสร้างอาคารเพื่อที่จะได้มีการศึกษาเรียนรู้พื้นที่ดังกล่าวว่ามีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ได้รู้ถึงต้นกำเนิดของเมืองนครราชสีมา สำหรับการขุดค้นพบครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ขุดตามแนวกำแพงเมืองเก่า ระดับความลึก 180 ซม. พบโครงกระดูกมนุษย์ 2 โครง ไม่ทราบเพศ เนื่องจากการตรวจสอบเพศนั้นจะตรวจสอบจากกระดูกเชิงกราน แต่ ทั้ง 2 โครงกระดูกที่พบ กระดูกเชิงกรานไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถระบุเพศได้
โดยโครงกระดูกแรกที่พบอยู่ในลักษณะนอนหงายเหยียดยาวหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก โครงกระดูกที่2 ลักษณะกะโหลกศีรษะถูกตัดวางอยู่บริเวณลำตัว คาดว่าจะเป็นโครงกระดูกเด็ก มีเศษเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ เศษกระเบื้อง กระดูกสัตว์ รวมทั้งภาชนะแบบพิมายดำ วางอยู่รอบโครงกระดูก ซึ่งกระดูกทั้ง 2 ชิ้น น่าจะถูกฝังจากกิจกรรมการฝังศพของคนสมัยโบราณ และมีอายุ ประมาณ 1,500 -2,500 ปี ซึ่งน่าจะเป็นมนุษย์ที่อาศัยอยู่ก่อนการก่อตั้งเมืองนครราชสีมา
อย่างไรก็ตามคงต้องมีการขุดเพิ่มเติมและนำดินในบริเวณดังกล่าวไปตรวจสอบในห้องแล็ปเพื่อหาค่าทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อตรวจสอบว่าดินในพื้นที่นั้นได้สัมผัสแสงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อใด และเราจะสามารถย้อนเวลาได้ว่าโครงกระดูทั้ง2 ถูกฝังตั้งแต่ช่วงเวลาใด อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าในอดีตพื้นที่ดังกล่าวน่าจะเป็นพื้นที่ฝังศพขนาดใหญ่ และเมืองนครราชสีมา ในช่วง 1,500-2,500 ปี น่าจะเป็นบึงขนาดใหญ่ และมีชุมชนตั้งอาศัยอยู่รอบบึงเป็นจำนวนมาก ก่อนจะมีการก่อตั้งเมืองนครราชสีมา นายทศพร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมศิลป์ ตรวจสอบโบราณสถานวัดใหญ่พิษณุโลก ไม่พบความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว
กรมศิลปากรตรวจสอบโบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารฯ วัดราชบูรณะ วัดวิหารทอง วัดเจดีย์ยอดทอง หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ยืนยันไม่พบความเสียหายพร้อมเตรียมส่งมีวิศวกรฯ เข้าสำรวจเพิ่มเติมเพื่อป้องกันผลกระทบในอนาคต
รัฐบาลตื่นเร่งสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศหลังแผ่นดินไหว
รัฐบาลสั่งประเมินความเสียหายมรดกชาติ ด้าน ก.วัฒนธรรม เร่งสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศหลังแผ่นดินไหว
กกท.สำรวจความพร้อม สนามแข่งขันทุกชนิดกีฬา ในอาเซียนพาราเกมส์ที่โคราช
วันที่ 26 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำทีมโดย นายปรีชา ลาลุน รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬาพร้อมด้วย พลตรี โอสถ ภาวิไล ประธานสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน (เอพีเอสเอฟ), พ.อ.หญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ เลขาธิการสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน, คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย (THASOC), ผู้แทนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย, ผู้แทนสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย