6 ม.ค.2565 - นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยวและแนวทางในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา COVID-19 ของจังหวัดภูเก็ต ได้รายงานปัญหากับ ศบค.ส่วนกลาง ใน 4 ประเด็น
ปัญหาที่ 1. คือ ปัญหาความล่าช้าในการอนุมัติ Thailand Pass ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ อนุมัติล่าช้าไม่ทันต่อเวลา ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำเรียนกระทรวงมหาดไทยเพื่อหารือไปยัง ศบค.ว่าอำนาจการอนุมัติให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้าไทยผ่าน Thailand pass ที่สนามบินภูเก็ตมิได้เป็นอำนาจของจังหวัดภูเก็ต เพราะการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งเป็น One stop service คน/งบประมาณ/สถานที่/เครื่องมือที่ใช้ต้องสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดตั้งศูนย์ CallCenter เพื่อตอบทุกปัญหาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งเกินศักยภาพและเกินอำนาจของจังหวัดภูเก็ต
ปัญหาที่ 2. คือ ปัญหาเรื่องการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (RT-PCR) ครั้งที่ 2 ไม่เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยจังหวัดภูเก็ตได้มีการประชุมร่วมกับส่วนราชและภาคเอกชน สคร.11 ศูนย์วิทย์ฯ โรงพยาบาล สมาคมต่างๆเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ให้เพิ่มขีดความสามารถ ได้แก่ เพิ่มรถ Mobile Lab จำนวน 5 คันโดย 2 คันแรกจะเข้ามาที่จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 จะดำเนินการตรวจหาเชื้อได้เพิ่มขึ้นวันละ 1,200 คน และปรับวิธี Lab เป็น Full sample ตั้ง call center รับประสานงานจาก SHA plus manager หรือหากเพิ่มค่าตรวจ PCR ครั้งที่ 2 น่าจะจูงใจ ให้โรงพยาบาลเอกชนเข้ามาร่วม ดำเนินการมากขึ้น
ปัญหาที่ 3 คือ จำนวน Hospitel กับ Hotel Isolation ไม่เพียงพอรองรับจำนวนผู้ป่วยสีเขียว แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ร่วมกับสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ เจรจากับโรงแรมต่างๆ ให้เปิดรับ Hospitel หรือปรับบางส่วนเป็น Hotel Isolation เพื่อรองรับลูกค้าตนเองที่มีผล positive โดยไม่ต้องผลักดันออกไปพักที่อื่น ขณะเดียวกันโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กำลังเร่งสำรวจประเมินโรงแรมเพิ่มเติมที่สมัครใจเป็น hospitel คาดว่าจะเพิ่มได้อีก 200 ห้อง
ปัญหาที่ 4 คือ ปัญหานักท่องเที่ยวต่างประเทศมีประกันภัยของบริษัทต่างประเทศที่ไม่ครอบคลุมการเจ็บป่วย หรือป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อย ซึ่งแก้ไขปัญหาเสนอให้ศบค.กำหนดมาตรการการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยของคนไทย ซึ่งทางศบค.ส่วนกลางได้แจ้งในที่ประชุมว่า ทางส่วนกลางจะดำเนินการประเมินและพิจารณาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการของจังหวัดนำร่อง ในการเปิดรับนักท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตตามลำดับความสำคัญ เช่น การจัดสรรทรัพยากร และสนันสนุนภารกิจของการ Swab บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต และการ Swab ครั้งที่ 2 ของนักท่องเที่ยว การจัดการ Hospitel กับ Hotel Isolation สำหรับการดูแลนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อ และเรื่องของการกำกับดูแลPhuket Sandbox เพื่อเร่งดำเนินการในการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของจังหวัดภูเก็ต
ด้าน นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขอขอบคุณคณะนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารของ ศบค.ส่วนกลาง ที่ได้กรุณารับทราบปัญหาของจังหวัดภูเก็ต และได้ลงมาแก้ไขปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกับจังหวัดภูเก็ตอยู่ในขณะนี้ ทั้งในส่วนของสาธารณสุขและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง
"จากการทำงานของจังหวัดภูเก็ตในช่วงที่ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เวอร์ชั่นแรก ทำให้จังหวัดภูเก็ตได้เห็นปัญหาและมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบางส่วน ต่างจากสถานการณ์ที่ผ่านมา ดังนั้นจังหวัดภูเก็ตต้องปรับแนวคิดปรับวิธีการในการทำงานมากขึ้น โดยมีการวางแผนปรับภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ในการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาการรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต และสามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงต้องทำให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานของจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
จังหวัดภูเก็ตเตรียมการเดินหน้าต่อในเรื่องของการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้มากที่สุด ซึ่งเรื่องนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวจังหวัดภูเก็ตว่า การติดเชื้อไม่มีอาการ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียวเป็นหลัก ในส่วนของเตียง และเจ้าหน้าที่ ที่มีอยู่ในพื้นที่มีเพียงพอ สำหรับการดูแลประชาชน แต่ในการดูแลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ติดเชื้อ อาจจะมีสถานที่รองรับหรือเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ จึงขอให้ส่วนกลางสนับสนุนในส่วนนี้ให้กับทางจังหวัดภูเก็ต
โดย จังหวัดภูเก็ต มีการเตรียมความพร้อมในการกำกับดูแล และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยดี ทั้งส่วนของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิซอยบางลา ป่าตอง ทุกคนให้ความร่วมมือกัน จัดทำบิ๊กคลีนนิ่งในวันที่ 6 มกราคม นี้ สร้างความรับผิดชอบกันมากยิ่งขึ้น
ขณะนี้ จังหวัดภูเก็ต กำลังเดินไปได้ด้วยดี เพราะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น จึงอยากฝากถึงประชาชนทุกคน สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าจะให้จังหวัดภูเก็ต มีสถานการณ์ที่ดีเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันควบคุมโรคโควิดและดูแลตนเอง โดยปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ถ้าทั้งจังหวัดภูเก็ตร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง จะสามารถดูแลกันได้และก้าวข้ามผ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้" นายณรงค์ กล่าว
ขณะเดียวกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต รายงานสถานการณ์โควิด-19จังหวัดภูเก็ต ประจำวันที่ 5 มกราคม 2565 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในภูเก็ต 227 ราย ผู้ติดเชื้อ Phuket Sandbox 46 ราย ผู้ติดเชื้อ Test&Go 10 ราย รวม 283 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อเมริโก เวสปุชชี เรือสำเภาในตำนานจอดเทียบท่าที่ภูเก็ต กระชับความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี
เรือสำเภาอันทรงเกียรติสัญชาติอิตาลีที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในโลก อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) เข้าจอดเทียบท่าที่ภูเก็ตเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 6-10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดย
รวบแล้ว 9 หนุ่มนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ซิ่งป่วนเมืองภูเก็ต
สภ.ฉลอง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2567 เวลา 01.04 น. มีพลเมืองดีได้แจ้ง ศูนย์ 191 มีชายชาวต่างชาติรวมกลุ่มรถประมาทหวาดเสียว
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป