หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน

หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด

16 พ.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจ.ตรัง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ไปชมสวนทุเรียนอินทรีย์ต้นแบบของนายจรูญ สมจริง อายุ 45 ปี ที่หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งยาว หลังประสบความสำเร็จในการ ล้มสวนยางพาราบนเนื้อที่ 5 ไร่ หันมาปลูกทุเรียนจำนวน 150 ต้น โดยเป็นทุเรียนหมอนทองจำนวน 120 ต้น อีก 30 ต้นเป็นทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล ชะนีไข่ พวงมณี กระดุมและอื่น ๆ

โดยปีนี้ให้ผลผลิตมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งประสบการณ์ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะปัญหาภัยแล้งมาได้ วิธีแรกคือการไม่ปลูกพืชชนิดอื่นแซมในสวนทุเรียน เพราะจะไปแย่งน้ำแย่งอาหารในช่วงหน้าแล้ง ส่วนวิธีที่ 2 คือการหาแหล่งน้ำดิบที่ใกล้ที่สุด โดยการขุดสระให้มีความลึกเพียงพอต่อการใช้น้ำในช่วงหน้าแล้ง และหมั่นให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมแร่ธาตุอาหาร ซึ่งน้ำคือหัวใจสำคัญในการดูแลสวนทุเรียน ทำให้ผลผลิตทยอยออกมาหลายรุ่น

โดยปีที่แล้ว ได้ทุเรียนประมาณ 2 ตัน แต่ปีนี้คาดว่าจะได้ทุเรียนไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน น้ำหนักลูกละตั้งแต่ 2-5 กิโลกรัมขึ้นไป ซึ่งราคารับซื้อจากล้งปีที่แล้วกิโลละ 120 บาท ปีนี้คาดว่าจะได้ราคาดีกว่าปีที่ผ่านมา เพราะทุเรียนภาคใต้เหลือรอดจากภัยแล้งน้อยกว่าปีที่ผ่านมามาก ซึ่งสวนของนายจรูญฯ จะเก็บทุเรียนรุ่นแรกประมาณ 1-2 ตันราวปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีเกษตรกรจากหลายอำเภอ เดินทางมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่นายจรูญ สมจริง เกษตรกรต้นแบบผู้ปลูกทุเรียนฝ่าภัยแล้งกล่าวว่า ตนปลูกทุเรียน 5 ไร่จำนวน 150 ต้นเป็นหมอนทอง 120 ต้น อีก 30 ต้นเป็นทุเรียนชนิดอื่น ๆ ปีที่แล้วประสบภัยแล้งแต่ได้อยู่บางส่วนประมาณ 1-2 ตัน แต่ปีนี้คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร จะมีปัญหาอยู่ช่วงหนึ่งคือช่วงภัยแล้ง ซึ่งเรื่องน้ำเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งตนก็ฝ่าวิกฤติมาได้ ก็พอได้อยู่ในปีนี้ ประมาณ 7-8 ตัน ซึ่งปีที่แล้วมีล้งมารับซื้อกิโลละ 120 บาท แต่ปีนี้น่าจะได้ราคาดีกว่า

ด้านนายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตร จ.ตรังกล่าวว่า ปีนี้มาเยี่ยมชมเกษตรกรต้นแบบที่บริหารจัดการสวนทุเรียน ให้ฝ่าวิกฤติภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ปีนี้จะแล้งยาวถึง 4 เดือนก็ตาม แต่ที่นี่มีการจัดการให้น้ำอย่างเป็นระบบจนทุเรียนออกผลผลิตได้ดี สิ่งสำคัญคือต้องมีการจัดการเรื่องน้ำ แหล่งน้ำให้มีเพียงพอ จึงทำให้สามารถฝ่าภัยแล้งได้อย่างปลอดภัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะลิบงอ่วมหนักรอบ 30 ปี! คลื่นซัดเรือประมงล่ม 7 ลำ รีสอร์ทพัง ชาวบ้านเผยปีนี้ฝนมาเร็ว

ในพื้นที่เกาะลิบง หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เกิดเหตุมีเรือประมงพื้นบ้านล่มจำนวน 7 ลำ หลังเกิดฝนตกและลมพายุในทะเลฝั่งอันดามัน โดยนายอ่าสาน ค

ป.ป.ช.ตรัง บุกตรวจอาหารกลางวันเด็ก พบไม่ตรงปก ชื่อนักเรียนทิพย์โผล่อื้อ

ป.ป.ช.ตรัง รวมกับ ศธ.ตรัง และชมรมตรังต้านโกง บุกตรวจสอบโรงเรียนเอกชนที่ใช้งบสนุนจากภาครัฐ พบอาหารไม่ตรงปก ชื่อนักเรียนทิพย์โผล่อื้อ

ผู้ตรวจ ป.ป.ช. สอบสนามบินตรัง หลังคารั่ว ฝ้าพัง เหตุผู้รับเหมาทิ้งงาน

นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงาน ป.ป.ช. พร้อมด้วย นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต และ นางจิราภา ทินมาลา ผอ.ท่าอากาศยานตรัง เข้าประชุมชี้แจงและให้ข้อมูลปัญหาการก่อสร้างสนามบินนานาชาติตรังล่าช้า

ฝนถล่มตรัง! น้ำท่วมเกาะลิบง น้ำทะเลหนุน บ้านเรือน-โรงแรมเสียหาย

นายอ่าสาน คนขยัน หรือผู้ใหญ่สาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง แจ้งว่าภายหลังจากเกิดฝนตกตลอดทั้งคืนในทะเลฝั่งอันดามัน เช้าวันนี้มีฝนตกหนักประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง

ปลูกข้าวโพดหวาน สร้างรายได้เดือนละกว่าครึ่งแสน

เกษตรกรสองสามีภรรยาชาวอำเภอนาโยง จ.ตรัง ใช้พื้นที่นาข้าวหลังเก็บเกี่ยว หันมาปลูกข้าวโพดหวานฝักใหญ่ เมล็ดเหลืองเรียวยาว เป็นที่ต้องการของตลาด ขายกิโลกรัมละ 25 บาท สร้างรายได้ 1,000-2,000 บาทต่อวัน เคล็ดลับคือทำปุ๋ยหมักจากต้นข้าวโพดนานข้ามปีจึงจะนำมาใช้

ชาวนาบุรีรัมย์ เร่งสูบน้ำเข้านาข้าว ทยอยยืนต้นตาย เหตุฝนทิ้งช่วง

ชาวนาในเขต อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ ที่มีนาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ต่างเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ระดมสูบน้ำเข้านาข้าวของตนเอง เพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเหี่ยวเฉา และเริ่มยืนต้นตายเป็นหย่อมๆ เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าว อี