6 พ.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในจังหวัดสงขลา ทำให้น้ำใน แม่น้ำลำคลอง แห้งขอด เป็นจำนวนมากในหลายท้องที่ โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของคาบสมุทร สทิงพระ คือ อ.สิงหนคร .สทิงพระ กระแสสินธุ์ และ ระโนด ซึ่งต้องอาศัยน้ำในคลองอาทิตย์ ( คลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ) ในการทำการเกษตร ซึ่งขณะนี้น้ำในหลายช่วงแห้งขอด เช่นในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ ตั้งแต่ตำบลบ่อแดง ลงไปถึง ต.คูขุด ทำให้เห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าในการ จ้างผู้รับเหมา ของ สำนักงานชลประทาน ที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ไม่มีการควบคุมตรวจสอบ ที่ดีพอ ทำให้ท้องคลอง ไม่มีความเสมอ มี โคก มี สันดอน มากมาย ที่เป็นอุปสรรคในการไหลของน้ำ และชาวบ้านในพื้นที่ยังพบว่า ใน สะพานหลายแห่ง ไม่มีการขุดลอก ให้มีความเสมอกับ ท้องคลอง จึงทำให้น้ำไหลไม่ได้เป็นช่วงๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ที่เป็นเกษตรกร ในหลายตำบลที่คลองอาทิตย์แห้ง ขาดน้ำในการใช้ทำการเกษตร และ อื่นๆ
ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อน กล่าวกับ ผู้สื่อข่าวว่า ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี มีการ ขุดลอกที่ถูกต้อง โดยท้องคลอง ไม่มีเป็นโคก เป็น ดอน และมีการขุดลอกคลองใต้สะพาน ปัญหาที่น้ำแห้งขอดเป็นบางช่วงบางตอนก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือไม่รุนแรงอย่างในปัจจุบัน และ คลองอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านใน อ.กระแสสินธุ์ และ อ.ระโนด ยังมีน้ำอยู่ แม้จะไม่มาก แต่ไม่แห้งขอด จนหญ้าขึ้น และ วัวลงไปเดินได้ อย่างในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ สิ่งที่ชาวบ้านพบเห็นหลังเกิดภาวะน้ำแห้ง ทำให้เห็นว่า ปัญหาของ คลองอาทิตย์ เกิดจากการ ทุจริต คอร์รับชั่น ในการขุดลอก และ เชื่อว่า สันดอน ที่โผล่ออกมาประจาน หน่วยงานที่รับผิดชอบในการขุดลอก ไม่ได้มีเฉพาะในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ ถ้าน้ำแห้งหมดทั้งคลอง ในพื้นที่ของ อ.ระโนด อาจจะมีสภาพที่หนักกว่าที่ สทิงพระ ด้วยซ้ำ
ชาวบ้านผู้เดือดร้อน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องการในขณะนี้คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ชลประทาน จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการ ขุดลอก สันดอน และ ใต้สะพาน ที่ โผล่ขึ้นมา และที่ ขวาง ทางน้ำ เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ตลอดทั้งลำคลอง เพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำของเกษตรกร และต้องมีการเอาผิดกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการ ขุดลอก คลองอาทิตย์ ที่เห็นแล้วว่ามีความ ผิดปกติ เรื่องนี่เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องมีการ ตรวจสอบ สายคลองอาทิตย์ทั้งสาย เพื่อหาผู้รับผิดชอบ เพราะจากสภาพที่เห็น ชาวบ้านมั่นใจว่า มีการ ทุจริต เกิดขึ้น อย่างแน่นอน
ขอเรียกร้องไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สำนักงาน ปปช. สงขลา รวมทั้ง สส.เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ ใน จ.สงขลา ที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลกรมชลประธาน ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะในเรื่องของ คลองอาทิตย์ เพียงแห่งเดียว เพราะโครงการอื่นๆ ของกรมชลประทาน ในพื้นที่ มีการร้องเรียน และมีข่าวฉาวโฉ่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เกี่ยวกับเรื่องของ คลองอาทิตย์ ที่มี สันดอนโผล่ขึ้นมากมาย หลังน้ำแห้งขอด นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ประชาชนผู้ที่ต้องการให้คณะกรรมาธิการฯ ทำการตรวจสอบโครงการนี้ สามารถร้องเรียนไปได้ยัง คณะกรรมาธิการฯเพื่อให้มีการตรวจสอบได้อีกทางหนึ่ง นอกจากการร้องเรียนไปยัง สำนักงาน ปปช.จังหวัดสงขลา และทราบว่า เกี่ยวกับเรื่อง ภัยแล้ง ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่ คาบสมุทรสทิงพระ นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่เห็นสภาพปัญหาของคลองอาทิตย์ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการแก้ปัญหาเร่งด่วนแล้ว แต่ก็อยากจะให้มีการตรวจสอบเรื่องถึงความไม่ชอบมาพากลในการ ขุดลอก ว่ามีการ ทุจริต หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯใต้เตือน 8 จังหวัดเจอฝนถล่มหนัก 27-30 พ.ย.นี้
อุตุฯใต้ประกาศฉบับ 5 ฝนถล่ม 8 จังหวัดใต้หนัก รับมือน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก-ดินโคลนถล่ม คลื่นอ่าวไทยสูง 3 เมตร เรือเล็กงดออกจากฝั่ง 27-30 พ.ย. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 ชี้เป้า 8 อำเภอสงขลาเสี่ยงน้ำท่วม
ชาวนาบุรีรัมย์ เร่งสูบน้ำเข้านาข้าว ทยอยยืนต้นตาย เหตุฝนทิ้งช่วง
ชาวนาในเขต อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ ที่มีนาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ต่างเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ระดมสูบน้ำเข้านาข้าวของตนเอง เพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเหี่ยวเฉา และเริ่มยืนต้นตายเป็นหย่อมๆ เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าว อี
อากาศร้อน ภัยแล้ง พริกขี้หนูสวนออกผลผลิตน้อย ราคาพุ่งกก.ละ 400-500 บาท
ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผลพวงจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน มีราคาปรับตัวสูงขึ้น
หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน
หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด
ตราดอ่วมระนาว วิกฤตแล้งหนักขาดแคลนน้ำ 10 วัน
ตำบลห้วยแร้ง จ.ตราด ขาดน้ำเข้าขั้นวิกฤต หลายหมู่บ้าน อ่วมหนัก 10 วันไม่มีน้ำ นายกอบต.ห้วยแร้งสูบน้ำอ่างเอกชนช่วยชั่วคราว สวนผลไม้ทุเรียน มังคุดกระทบรุนแรง
ชุมพรผุดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ช่วยวิกฤตภัยแล้ง
ชุมพรขอประสานปฎิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชน เกษตรกรในพื้นที่ หลังประสบภัยแล้งอากาศร้อนจัด