ตราดแล้งหนัก พื้นที่ปลูกทุเรียน-มังคุด อ.เขาสมิง ขาดน้ำช่วงใกล้เก็บผลผลิต

สถานการณ์การขาดแคลนน้ำทั้งในคลองสาธารณะและอ่างน้ำส่วนตัวของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในอำเภอเขาสมิง จ.ตราด กำลังได้รับความเสียหายแล้ว เกษตรกรตื่นตัวหาน้ำสำรอง

23 เม.ย.2567 - ที่ตำบลวังตะเคียน อ.เขาสมิง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านแก่งหิน และหมู่บ้านหินดาษ อ่างน้ำสาธารณะ และคลองสาธารณะ รวมทั้งอ่างน้ำส่วนตัวในแต่ละสวนน้ำแห้งติดพื้นที่ เครื่องสูบน้ำของเกษตรกรที่สูบน้ำเข้าสวนผลไม้หัวโข่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ เนื่องจากระดับน้ำเหลือน้อย และเกือบแห้งจนไม่พอใช้ในอีก 7 วันข้างหน้า ซึ่งช่วงนี้ทุเรียน และมังคุดที่กำลังออกผลและใกล้เก็บผลได้ต้องการน้ำมารดต้นไม้เพื่อให้สุกและสามารถตัดขายได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2567 แต่ปัญหาก็คือ น้ำในอ่างสาธารณะและในคลองสาธารณะก็แห้ง บ้างแห่งเหลือเพียงติดพื้นเท่านั้น

นายสวิป อรุณมาตร สมาชิกสภาอบต.วังตะเคียน หมู่ 4 บ้านแก่งหิน ได้ออกสำรวจปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสาธารณะของตำบล 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำช้างน้อย และฝายน้ำคลองเว้ บ้านแก่งหิน พบว่า น้ำในอ่างเก็บน้ำ และฝายแก่งหินเหลือน้ำน้อยมาก และหากไม่มีน้ำมาเติมอีกไม่เกิน 5-7 วันน้ำจะแห้งและหมดไป ส่วนอ่างมีน้ำจากคลองเขาสมิงมาเติมจากการที่อบต.วังตะเคียนใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าสูบน้ำมาเติมให้ตลอด 24 ชม.เนื่องจากอ่างเก็บน้ำช้างน้อย มีขนาดใหญ่และมีเกษตรกรสูบน้ำมาใช้ในการเกษตรกว่า 20-30 ราย

ขณะที่คลองเขาสมิงระดับน้ำเหลือติดเพียงระดับพื้น แต่น้ำยังคงไหลต่อเนื่อง ซึ่งโครงการชลประทานตราดกำลังสร้างเครื่องสูบน้ำเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งใน 2 หมู่บ้าน โดยโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2568 นี้

ขณะที่นายมานะ ผลศิริ นายกอบต.วังตะเคียน เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ตำบลวังตะเคียนเกิดจากความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นมากจากการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละสวนก็สร้างสระน้ำส่วนตัวไว้ใช้ โดยที่ผ่านมาได้ประชุมกับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนไว้ล่วงหน้าแล้วในเรื่องการเตรียมน้ำเพื่อการเกษตร แต่เกษตรกรไม่ตระหนักในเรื่องนี้ ซึ่งวันนี้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ 2-3 แห่ง จึงได้ใช้เครื่องสูบน้ำ 6 ตัว สูบน้ำจากคลองส่งน้ำจากอ่างคลองโสนที่ห่างจากตำบลวังตะเคียนถึง 10 กม.มาเติมในอ่างที่น้ำพร่อง ซึ่งต้องยอมรับว่ากว่าจะสูบได้เต็มแต่ละอ่างต้องใช้เวลา จากนั้นก็จะระบายปล่อยมาจากด้านบนมายังด้านล่างเป็นทอดๆไป จากนั้นเกษตรกรต้องใช้เครื่องสูบน้ำส่วนตัวสูบน้ำเข้าพื้นที่เอง จะสามารถแก้ไขได้ระดับหนึ่ง จะให้อบต.วังตะเคียนทำทั้งหมดคงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากงบประมาณมีจำกัดและต้องช่วยเหลือเกษตรกรในหลายพื้นที่ ที่ผ่านมาใช้งบประมาณค่าไฟฟ้าไปแล้วกว่า 6 แสนบาท ปีที่ผ่านมาก็ใช้ไป 3.6 ล้านบาท

“พนักงานอบต.วังตะเคียน และผมไม่ได้หยุดทำงานเลย ออกพื้นที่แก้ไขปัญหาให้ประชาชนต่อเนื่อง และใช้งบประมาณเท่าที่มี วันนี้เกินกำลังแล้ว ซึ่งต้องรองบประมาณจากจังหวัดมาช่วยเหลือซึ่งได้เสนอไปยังอำเภอเขาสมิงไปแล้วเหมือนที่หลายอบต.ในอำเภอเขาสมิงได้ทำไป แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งวันนี้ 8 ตำบลในอำเภอเขาสมิงขาดแคลนน้ำมาก ในส่วนชลประทานตราดก็ได้นำรถน้ำมาช่วยเหลือแต่ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งรถน้ำขออบต.วังตะเคียนก็มี 1 คันที่พอช่วยเฉพาะหน้าได้ แต่ในปี 2568 สถานีสูบน้ำที่สร้างในพื้นที่หมู่ 4 ที่ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาทที่ชลประทานตราดมาสร้างให้จะช่วยให้หมู่ 4 และหมู่ 7 ไม่ขาดแคลนน้ำซึ่งผมประสานงานมาดำเนินการตั้งแต่เป็นนายกอบต.วังตะเคียนสมัยที่ 2 “นายกอบต.วังตะเคียน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝนถล่ม จ.ตราด น้ำไหลหลากระบายไม่ทัน ท่วมถนนเขาสมิง-บ่อไร่

ตลอดทั้งวันของวันนี้ จังหวัดตราด มีฝนตกลงหนักอย่างต่อทั่วจังหวัดตราด ตามการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ประกาศเตือนว่า จังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่สีแดง เสียงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก มีปริมาณสะสม 90 มม. ขึ้นไป ตั้งแต่ 06.00 น. วันที่ 19 กรกฎาคม - ถึง 06.00 น. วันที่ 20 กรกฎาคม 2567

เตือน 'ลานีญา' เริ่ม ก.ย. ฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ระวังน้ำท่วม ปลายปีหนักแน่

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

“บ้านน้ำเชี่ยว 2 ศาสนา3 วัฒนธรรม” สานพหุวัฒนธรรม นำสู่การจัดการจัดการตนเอง (1)

สำหรับทุกคนที่เดินทางมาจังหวัดตราด ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งไปเกาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “เกาะช้าง” และหมู่เกาะบริวารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อ

อากาศร้อน ภัยแล้ง พริกขี้หนูสวนออกผลผลิตน้อย ราคาพุ่งกก.ละ 400-500 บาท

ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผลพวงจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน มีราคาปรับตัวสูงขึ้น

ชาวบ้านโวยชลประทานตราด ประตูน้ำชำรุด น้ำทะเลหนุน สวนทุเรียนยืนต้นตายอื้อ

นายธำรงศักดิ์ นคราวงษ์ โครงการชลประทานตราด,นายอภิเดช บุญล้อม นายกตำบลตะกาง นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด,นายเตธรรศ รัตนชัย ปลัดป้องกันอำเภอเมืองตราด เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวตำบลตะกาง และตำบลชำราก ที่ประกอบการเกษตรกว่า 100 คน

หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน

หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด