'บ้านแม่ปอคี' จ.ตาก เตรียมจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยง


เตรียมสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยงบ้านแม่ปอคี หวังเปลี่ยนทัศนคติต่อวิถีชีวิตคนบนดอย นักวิชาการชี้เป็นการรักษาทุนทรัพยากร-วัฒนธรรมไม่ให้ถูกทำลาย-เป็นโมเดลเชื่อมโลกชาติพันธุ์และโลกร่วมสมัย

23 เม.ย.2567 - นายประหยัด เสือชูชีพ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ปอคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เปิดเผยว่าในวันที่ 26 เมษายน 2567 ชุมชนบ้านแม่ปอคีจะจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัยพบว่าการทำไร่หมุนเวียนแปลงใหญ่ของชาวบ้านเป็นการรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด ที่สำคัญคือทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและเป็นการทำงานกันแบบเครือญาติโดยการ “เอามื้อ” กัน ได้พูดคุยกันและได้เห็นรอยยิ้มกัน นอกจากนี้การทำไร่หมุนเวียนแบบแปลงรวมนี้ยังช่วยสะดวกในเรื่องการจัดการไฟและใช้เวลาสั้นๆในการเผา

“เราคาดหวังว่าการประกาศเขตวัฒนธรรมครั้งนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติในทางลบที่มีต่อชุมชนและก่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นใจในวิถีวัฒนธรรมของคนปกาเกอะญอ เราอยากให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและชุมชน และมีการสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนอยู่ได้” นายประหยัดกล่าว

ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าการประกาศพื้นที่คุ้มครองของชุมชนแม่ปอคีครั้งนี้ เป็นความรู้สึกของชาวบ้านที่อยากจะให้มีพื้นที่เขตวัฒนธรรม ไม่ใช่ว่าชาวบ้านต้องการสิทธิพิเศษเหนือกว่าใคร แต่เขาต้องการการปกป้องคุ้มครองทุนทางทรัพยากร ทุนวิถีวัฒนธรรมที่เขามี ไม่ให้ถูกภายนอกเข้ามากระแทกทำลายจนไม่เหลือ เพราะถ้าไม่เหลือทุนชาวบ้านก็ต้องพึ่งพาภายนอก 100% ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งความรู้ต่างๆ

“การประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษเป็นการปกป้องทุนของชุมชน ปกป้องสิทธิให้ชุมชนได้อาศัยทุนในการพัฒนาและยกระดับวิถีชิวิตของตนเองในอนาคตได้ และจะเป็นพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ โดยเฉพาะใน จ.ตาก ที่เป็นพื้นที่ชายแดน เราได้แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม กรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรมในการคุ้มครองและพัฒนาต่อยอดวิถีชีวิตชาติพันธุ์ที่ยั่งยืนและเหมาะสมกับยุคสมัย การประกาศพื้นที่นี้ไม่ใช่การแช่แข็งชุมชนให้กลับไปอยู่เหมือนอดีต เราจะปรับจะเปลี่ยนอย่างไร ตามความเหมาะสม ตามสถานการณ์ ตามเวลา แต่ไม่ใช่ถูกกำหนดจากข้างนอก” ผศ.สุวิชาน กล่าว การประกาศนี้เป็นการเชื่อมโลกของชาติพันธุ์กับโลกร่วมสมัย เป็นโมเดลของการพัฒนาเชิงบูรณาการ

ผศ.ดร.สุวิชานกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการทำวิจัยซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชน ให้เป็นเครื่องมือสื่อสารเรื่องราวของตนเอง พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิม ข้อค้นพบในงานวิจัยที่เยาวชนทำ คือ การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ สัดส่วนใกล้เคียงกันคือที่อยู่อาศัยที่ทำกิน 52% และอีก 48% เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เก็บข้อมูลประวัตศาสตร์โดยชุมชนอยู่มา 423 ปี ระบบการจัดการ การอนุรักษ์พื้นที่ป่าเป็นความสมดุลของการใช้และการดูแล

“เราเห็นว่าความมั่นคงทางอาหารที่ดำรงอยู่ได้ คือวิถีเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ชุมชนเพาะปลูกพืชต่างๆ ในไร่หมุนเวียนถึง 80 กว่าชนิด บางชนิดกินได้ 3 เดือน บางชนิดปลูกเดือนเมษายน กินได้พฤษภาคมก็หมด แล้วมีพืชอื่นเกิด บางชนิดกินไปได้ถึงธันวาคม มีนาคม เมษายน เช่น เผือก มัน ปลูกครั้งเดียวได้กินทั้งปี แล้วพอรอบใหม่ก็ปลูกใหม่ เป็นวงจรความมั่นคงทางอาหารในไร่หมุนเวียน” ผศ.สุวิชาน กล่าว

อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกล่าวว่า เราทำเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกัน โลกเปลี่ยน ถนนเข้ามา เทคโนโลยีเข้ามา เราทำอย่างไร โดยพบว่าฐานทุนของชุมชนเป็นฐานสำคัญในการที่ทำให้ปรับตัวเพื่อเท่าทัน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไร่หมุนเวียน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายชาวเลอันดามัน ยื่น 3 ข้อ ขอรัฐบาลแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

เครือข่ายชาวเลอันดามัน นำโดย นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานฯ พร้อมตัวแทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ

เปิด 6 สาระสำคัญ ร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.วิสามัญฯ แถลงผลการประชุมว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นร่างกฎหมายที่ยกร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับเป็นครั้งแรก

ศาลอาญาทุจริตภาค 6 พิพากษาจำคุกอดีตนายอำเภทท่าสองยางกว่า 1.2 พันปี!

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 6 มีคำพิพากษาลงโทษ จำคุก1,269 ปี 1,692 เดือน อดีต นอภ.ท่าสองยาง-พวก ทุจริตโครงการช่วยเหลือน้ำท่วม พายุโซนร้อนนกเตน

สปส.​ ขับเคลื่อนงานสร้างหลักประกันคุ้มครองอาชีพอิสระสู่เครือข่าย​ 'บวร' ​ จ.ตาก

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมสู่เครือข่าย “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน/โรงงาน) จังหวัดตาก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดตาก พร้อมด้วย นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และเจ้าหน้าที่ โดยมี เครือข่ายประกันสังคม และผู้ประกันตนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ร้องรัฐบาลช่วย 17 ชาวโมร็อกโก เหยื่อค้ามนุษย์ในเมียนมา เผยเข้าไทยก่อนส่งข้ามชายแดน

มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ ประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ชาวโมร็อกโก จำนวน 17 คน โดยระบุว่า มูลนิธิฯได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้เสียหาย