พิษณุโลกร้อนจัด 39 องศา ท้องฟ้าหลัว ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งระดับสีแดง

สภาพอากาศของจังหวัดพิษณุโลกร้อนหนัก เกือบแตะ 40 องศา อีกทั้งสภาพอากาศทั่วไปถือว่ายังมีสภาพขมุกขมัวไปทั่วเมืองพิษณุโลกฟ้าหลัว เนื่องจากมีค่า PM2.5 ได้ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 197 AQI อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ

3 เม.ย.2567 - เมื่อเวลา 14.30 น.ของวันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้อุณหภูมิทั่วไปร้อนอย่างมาก โดยที่ จ.พิษณุโลก อุณหภูมิ สูง 39 องศาเซลเซียล สภาพอากาศทั่วไปถือว่ายังมีสภาพขมุกขมัวไปทั่วเมืองพิษณุโลกฟ้าหลัว เนื่องจากมีค่า PM2.5 ได้ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง

โดยรายงานจากกองควบคุมมลพิษ พบว่าคุณภาพอากาศ จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ต.ในเมือง อ.เมือง, พิษณุโลก พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 73.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) หรือ 197 AQI อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งคุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกประเภท หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพรุนแรงควรปรึกษาแพทย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดตเส้นทางดีเปรสชัน 'หยินซิ่ง' ทวีรุนแรงเป็น 'พายุโซนร้อน'

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถาการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ล่าสุดเช้าวันนี้ : ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "หยินซิ่ง (YINXING)" แล้ว

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 8 เตือนเหนืออากาศแปรปรวน-ใต้ฝนตกหนัก

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง

อุตุฯ เตือนใต้ฝนตกหนัก เหนืออากาศเย็นอุณหภูมิลด 1-2 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนอากาศแปรปรวน 2-5 พ.ย.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อากาศเย็นตอนเช้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน