พายุลูกเห็บถล่มบึงกาฬ ตำบลเดียวอ่วมหนัก บ้านเสียหาย 735 หลัง จังหวัดเร่งเยียวยา

30 มี.ค.2567 - เวลา 09.00 น. หลังเกิดพายุฤดูร้อน ลมกรรโชกแรงและเกิดพายุลูกเห็บ พัดถล่มในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง และตำบลน้ำจั้น ตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เย็นวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา จนมีบ้านเรือนเสียหาย 1,400 หลังคาเรือน ราษฏรได้รับความเดือดร้อน 2,100 คน

ล่าสุด นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผวจ.บึงกาฬ พร้อมด้วย นายวินัย โตเจริญ รอง.ผวจ.บึงกาฬ นายอภิชัย จำปานิล ปภ.จังหวัดบึงกาฬ นายจักรพงศ์ พันธุ์เพ็ง นายอำเภอเซกา พร้อมโดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอเซกา เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบึงกาฬ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมเยียวยาจิตใจ จากโรงพยาบาลเซกา ร่วมลงพื้นที่จุดเกิดเหตุวาตภัยและพายุลูกเห็บ ที่ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านคำบอน ตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา พบปะชาวบ้าน พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจในการช่วยเหลือเยียวยา กับชาวบ้านที่บ้านเรือนเสียหาย

นายวีระกุล ชาจันดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น ได้รายงานความเสียหายจากพายุลูกเห็บ ว่ามีหลังคาบ้านเรือนของชาวในตำบลน้ำจั้น ทั้ง 13 หมู่บ้าน ได้รับความเสียหาย 735 หลัง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 3 ล้านกว่าบาท แต่งบประมาณของ อบต.ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนมีเพียง 3 แสนบาทเท่านั้น เกินความสามารถของ อบต.จึงขอรับงบประมาณจากจังหวัดบึงกาฬ มาสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ เช่น สังกะสี กระเบื้อง ช่วยเหลือชาวบ้าน

นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผวจ.บึงกาฬ ได้สั่งการให้ อบต.จัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือชาวบ้านรายที่หลังคาบ้านเรือนเสียหายจนอยู่อาศัยไม่ได้ก่อน และให้ อบต.ทำหนังสือด่วนถึงจังหวัด ผ่านอำเภอ เพื่อให้ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดโอนเงินงบประมาณลงมาช่วยเหลือเป็นการด่วน และเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ให้ อบต.กลับไปประชาคมร่วมกับชาวบ้านตามหมู่บ้านอีกครั้งว่า จะให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือแบบไหน จะเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ให้ หรือชาวบ้านต้องการรับเป็นเงินสด ให้ ปภ.โอนเข้าบัญชีให้ชาวบ้านจัดซื้ออุปกรณ์เอง แล้วเร่งมาซ่อมแซม และขอทราบผลการประชาคมภายในวันจันทร์นี้ เพื่อให้จังหวัดได้ตัดสินใจจะโอนเข้าบัญชีชาวบ้านหรือโอนให้ อบต.ไปจัดซื้ออุปกรณ์

สำหรับแรงงานในการซ่อมแซมบ้านเรือนของประชาชนนั้น ให้ อบต.กับ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเน้นชาวบ้านจิตอาสา เป็นหลัก หากไม่เพียงพอ ให้ขอกำลังสนับสนุนจากอำเภอที่มีกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน ให้ลงมาช่วยซ่อมแซมเพิ่มเติม

ด้านการเกษตรให้ชาวบ้านเร่งสำรวจความเสียหายพืชผลทางการเกษตรของตนเองว่าเสียหายเท่าไร แล้วแจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อจะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาสำรวจประเมินความเสียหายและทำเรื่องจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาต่อไป

จากนั้น ผวจ.พร้อมคณะได้ลงพื้นที่สำรวจหลังคาบ้านเรือนของชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย และพบปะให้กำลังใจ โดยย้ำกับชาวบ้านทุกคนว่าหน่วยภาครัฐเร่งให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและเต็มที่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจพบว่ามีสวนทุเรียนของนางวีระชน ทาพัต อายุ 45 ปี บ้านเลขที่123 ม.13 บ้านคำบอนใหม่ เนื้อที่กว่า 10 ไร่ ปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ อะโวคาโด ได้รับความเสียหายเช่นกัน ทุเรียนกว่า 50 ต้น ที่ลูกกำลัง โต ถูกแรงลมพัดหล่นจากต้นจำนวนมากเช่นกัน

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว

ศปช. ส่งสัญญาณพื้นที่แล้ง 7 จังหวัด รีบกักเก็บน้ำในช่วง 16-18 พ.ย.นี้

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภููมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย

'ศปช.' แจ้งทั่วไทยยังมีฝน แนะพกร่มก่อนไปลอยกระทง

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สภาพ

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า